ภาพที่ 1..ก่อนอื่นต้องออกตัวก่อนนะครับผมไม่ได้เป็นคนคิดได้เองดูแล้วจำคนอื่นๆมาทั้งนั้นอาจจะมีดัดแปลงก็ตรงสิ่งที่ประกอบบางอย่างเท่านั้น
การเข้าเบ็ดลากอินทรีด้วยเหยื่อปลาทูสดทำได้ไม่ยากเพียงแต่อุปกรณ์ต้องพร้อมเท่านั้นและบางอย่างก็สามารถประยุกต์เอาได้ตามความเหมาะสม
รูปอาจจะถ่ายไม่ได้รายอะเอียดและบางรูปอาจจะเลอบางเพราะผมทำการแล่และถ่ายรูปคนเดียวซึ่งลำบากมากแล่เสร็จก็ต้องมาล้างมือถ่ายรูปทุกขั้นตอน
อิอิ บ่นมาพอควรแล้วเริ่มกันเลยดีกว่า
ภาพที่ 2นี่คืออุปกรณ์ในการประกอบชุดลากเหยื่อปลาทู
1 บนสุดเป็นชุดลากสำเร็จของโยซูริ
2 ตะกั่วอวนลูกใหญ่ ลูกเล็ก และตะกั่วทั่วไป
3 เข็มร้อยหรือลวดสแตนเลสก็ได้ที่แข็งๆหน่อยยาวซัก4นิ้วขึ้นไปและก็ด้ายหรือเชือกอวนขนาดเล็กสุด
4 ตะกั่วบินพร้อมสาย
5 ชุดเบ็ดที่จะเอามาประกอบ
ภาพที่ 3เริ่มกันเลยนะครับแบบที่1
เอาปลาทูมาแล้วเอามีดหั่นครึ่งตามความยาวของตัวปลาโดยกะง่ายๆหั่นระหว่างปากล่างกะบนแล้วกรีดมาจนถึงหาง
ภาพที่ 4เมื่อหั่นออกแล้วจะเป็นแบบนี้
ภาพที่ 5จากนั้นเราก็เตรียมชุดเบ็ดที่จะใช้มาประกอบ
โดยผูกตัวเบ็ดสองตัวจะเป็นแบบก้านสั้นของกามาเบอร์15หรือจะเป็นตัวเบ็ดเบ็ดก้านยาวตัวแรกจะใช้ขนาด4/0-9/0ตัวที่สองที่จะผูกต่อกันใช้ขนาดที่เล็กลงมานิดหน่อย ( นิดกะหน่อยไปพม่ายังไม่กลับ)
ส่วนสายหน้าที่ต่อจากตัวเบ็ดจะใช้เป็นลวดเป็นหรือสายสลิงก็ได้แล้วแต่ใจชอบรวมถึงความยาวของสาวยด้วยอันนี้ไม่มีข้อจำกัด
ให้หาลวดเส้นเล็กเล็กจะใช้ลวดตากผ้าก็ได้แต่ผมใช้ลวดทองแดงเพราะที่บ้านมีอยู่ตัดลวดออกมาความยาวสัก30 ซ.มแล้วนำไปม้วนไว้เหนือตัวเบ็ดตามรูป
ภาพที่ 6ให้กะระยะดูก่อนที่จะเกี่ยวตัวเบ็ดโดยให้ดูตัวสุดท้ายอยู่ตรงหางพอดีแต่ถ้าเกิดได้ปลาทูตัวเล็กไปเลยตัวสุดท้ายเลยออกไปก็ไม่มีปัญหาเมื่อทาบแล้ว
เราก็เอาเบ็ดตัวแรกเกี่ยวจากใต้ท้องให้ทะลุหลังขึ้นไปเลยตัวที่สองปล่อยไว้เฉยๆถ้าเป็นตัวเบ็ดกามาเกี่ยวทะลุหลังคงไม่ได้จะเอามาเกี่ยวไว้ข้างตัวหรือทาบไว้เฉยๆก่อนก็ได้
จากนั้นเราก็เอาลวดที่มัดไว้ที่สายลีดมาม้วนรัดตัวปลาให้แน่นมันให้หัวปลาหลิมๆเลยนะครับโดยกะมัดให้สายลีดแนบชิดกะหัวปลาให้มากที่สุดจะได้ไม่เกิดการเผย่อเวลาลากจะทำให้เหยื่อ
หมุนควงได้
ภาพที่ 7เมื่อมัดเสร็จแล้วเราก็หักกระดูกกลางที่ส่วนค่อนหางเพื่อให้เหยื่อพลิ้วมากขึ้นขั้นตอนนี้จะหักก่อนประกอบตัวเบ็ดก็ได้
ภาพที่ 8การลากแบบนี้ถ้าลากแบบไม่ใส่ตะกั่วถ่วงต้องลากช้าๆถ้าจะลากเร็วแล้วต้องการให้เหยื่อจมก็ทำได้โดยการใส่ตะกั่วเพิ่มโดยการร้อยตะกั่วผ่านสายเอ็น
ที่ออกมาจากปลายคันแล้วทำชิ่งยาวซัก2-4วาจึงนำสายชิ่งนั้นไปผูกเข้ากับชุดเหยื่อลากขนาดของตะกั่วใส่ได้ตามความต้องการของเราตั้งแต่
20-100กรัม แต่ส่วนตัวผมจะประกอบเข้ากับตะกั่วบินข้อดีของตะกั่วบินนี้จะทำให้เหยื่อลงลึกไปได้2-4เมตรและลากได้ทุกความเร็วและกันสายตีเกลียวได้ด้วยหากเหยื่อที่เราประกอบแล้วเกิดหมุนควงขึ้นมา
(ในรูปผมมัดไม่แน่นเท่าไรจริงๆแล้วต้องมัดให้แน่น)
ภาพที่ 9วิธีที่สองจะทำแบบอันแรกแต่แตกต่างออกไปตรงที่ชุดลากจะใส่ตะกั่วไว้เลย
ชุดเบ็ดแบบมีตะกั่วจะใช้เบ็ดสามทางหรือเบ็ดตัวเดียวต่อกันสองตัวก็ได้นะครับแล้วแต่เราจะเอามาประยุกต์ใช้
ภาพที่ 10รูปนี้เบลอไปนิดหน่อย (เพราะไปพม่ายังไม่กลับอิอิ)
จะเห็นตะกั่วแนบอยู่กะตัวปลาเลย
ภาพที่ 11เมื่อประกอบเส็ดแล้วจะเป็นแบบนี้การลากก็จะเหมือนกับวิธีแรกเพียงแต่ไม่ต้องใช้ตะกั่วเพิ่มแล้วถ้าจะเพิ่มจริงๆก็ใส่ตะกั่วบินเข้าไปให้เหยื่อลงลึกเลยครับ
ภาพที่ 12วิธีที่สามยุ่งยากกว่า
ก่อนอื่นเราต้องแล่ปลาออกทั้งสองข้างโดยแล่จากหางมาจนถึงส่วนท้อง
ภาพที่ 13เมื่อแล่แล้วจะเป็นแบบนี้แล้วหักกระดูกกลางทิ้งไป แต่ทางระยองกับจันทบุรีจะปล่อยไว้
ภาพที่ 14ชุดเบ็ดก็เหมือนกับชุดแรก
จากนั้นก็เอาเข็มร้อยหรือลวดแข็งๆมาร้อยผ่านตัวปลาจากตรงทีแล่ไว้ให้มาโผล่ออกทางปากโดยปลายอีกข้างทำห่วงคล้องลูกหมุนที่ปลายสายชุดลากเอาไว้
ภาพที่ 15เมื่อร้อยแล้วจะเป็นแบบนี้
ภาพที่ 16ต่อไปเราก็พับลวดขึ้นมาแล้วร้อยตะกั่วอวนเข้าไปสองลูก(จะใช้ลูกเล็กหรือใหญ่ก็ได้)
ภาพที่ 17จากนั้นเราก็เอาปลายสายของลวดแทงจากใด้ปากล่างให้ทะลุขึ้นไปถึงปากบนแล้วม้วนกลับลงมาแทงให้ทะลุจากปากล่างอีกครั้งโดยให้ปลายของลีด
อยู่ตรงกลางระหว่างลวดที่ร้อย(ขั้นตอนตรงนี้ถ้าขยันก็ให้เอาเข็มร้อยด้ายหรือเชือกอวนเย็บปากปลาได้เลยครับ) จากนั้นก็เอาสายลวดไปม้วนให้แบบ
กับสายลีดถ้ายาวไปก็ตัดออกครับ
ภาพที่ 18เสร็จแล้วเหยื่อจะเป็นแบบนี้ข้อเสียของเหยื่อแบบนี้ถ้าเราลากเกินกว่า2-3ชั่วโมงต้องเอาขึ้นมาเปลี่ยนใหม่เพราะเนื้อมันจะหลุดออกหมดแต่ผมเคยเห็นไต๋ลือที่บางเสร่ทำเขาเอาด้ายเย็บเนื้อติดกันดูไปมันจะยุ่งยากเกินไป
เพราะถ้าปลากินดีๆทำเหยื่อไม่ทันแน่ๆ
ภาพที่ 19อีกรูปครับจะสังเกตุเห็นสายลวดไปมันอยู่กับสายลีด
ภาพที่ 20รูปเหยื่อที่ประกอบเสร็จแล้วทั้งสามแบบ