สยามฟิชชิ่ง
หน้าแรก|กระดาน|รีวิว|ประมูล|ตลาด|เปิดท้าย
login | สมัครสมาชิก | วิธีสมัครสมาชิก | ลืมชื่อ/รหัส | login ไม่ได้? | 28 ธ.ค. 67
บอกเล่าเก้าสิบ กับ คำถามที่มีคนถาม. : Fishing Article
 ห้องบทความ/เทคนิค > บทความอื่นๆ
ความเห็น: 10 - [6 ธ.ค. 52, 00:07] ดู: 5,027 - [28 ธ.ค. 67, 13:59] โหวต: 5
บอกเล่าเก้าสิบ กับ คำถามที่มีคนถาม.
จิรชัย (323 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้) offline
18 พ.ย. 52, 22:23
1
บอกเล่าเก้าสิบ กับ คำถามที่มีคนถาม.
ภาพที่ 1
คำถามแรกจากน้องบางท่านที่โทรมาถามเป็นการส่วนตัว ผมเลยบอกว่าขออวดภูมิตัวเองหน่อยเหอะ ในเว็บแห่งนี้.
มีคำถามแว่วๆ ว่า จริงๆแล้วปลาแอฟริกันไทเกอร์มีกี่ชนิดกันแน่ครับ.

คำตอบ. เท่าที่เด็กตัวเล็กอย่างผมหาได้ ว่าในปัจจุบันมีการระบุปลาชนิดนี้ทั้งหมด 5 ชนิดครับ.
1) Hydrocynus brevis (Gunther 1864)

2) Hydrocynus forskahlii (Cuvier 1819)

3) Hydrocynus goliath Boulenger 1898

4)  Hydrocynus tanzaniae Brewster 1986

5) Hydrocynus vittatus Castelnau 1861

คำถามที่ 2 แล้วเจ้า Hydrocynus somonorum ไม่มีเหรอครับ?
คำตอบ อันนี้ไม่ทราบครับแต่ลองอ่านอันนี้น่ะครับ.
Hydrocynus somonorum Daget 1954 -- (Paugy 1984:171 [ref. 6183]). •Synonym of Hydrocynus brevis Gunther 1864 -- (Brewster 1986:195 [ref. 8104]). Current status: Synonym of Hydrocynus brevis Günther 1864 Alestidae.
อย่างที่เขียนน่ะครับว่า "นักอนุกรมวิธาน" เขายังให้ Hydrocynus somonorum เป็นชื่อพ้องของ Hydrocynus brevis  ต้องทำความเข้าใจให้ดีน่ะครับ หากจะมีการแยกออกมา จะมีนักอนุกรมวิธานท่านเขียน เปเปอร์ออกมาว่า ทำไม และ เพราะอะไรถึงแยก? ทุกอย่างต้องมีหลักฐานอ้างอิงครับ.
บอกเล่าเก้าสิบ กับ คำถามที่มีคนถาม.
ภาพที่ 2
คำถามที่ 3 แล้วจริงๆ พวกอามาทัส มีกี่ชนิดครับ.
คำตอบ อันนี้น้องเขาคงจะสื่อว่าเป็นปลาในสกุล Hydrolycus ว่ามีทั้งหมด 4 ชนิดครับ.
1) Hydrolycus armatus (Jardine 1841)

2) Hydrolycus scomberoides (Cuvier 1819)

3) Hydrolycus tatauaia Toledo-Piza, Menezes & Santos 1999

4) Hydrolycus wallacei Toledo-Piza, Menezes & Santos 1999
บอกเล่าเก้าสิบ กับ คำถามที่มีคนถาม.
ภาพที่ 3
คำถามที่4 แยกยังไง?
คำตอบ เท่าที่ดูคร่าวจาก keys to species หน้าที่ 257-258 ของ Revision of the neotropical fish genus Hydrolycus (Ostariophysi: Cynodontinae) with the description of two new species. ตามความเข้าใจของตัวเองจากสิ่งที่อาจารย์ท่านผู้เขียนทั้ง 3 ท่าน ผมขอเขียนตามความเข้าใจของตัวเอง แบบนี้ครับ.
เริ่มจากขอแบ่งเป็น 2 กลุ่มก่อนคือ.ระหว่าง "มีรอยยักกับไม่มีรอยยักของเกล็ด" และ "ตำแหน่งของครีบท้องที่ต่างกัน" แบ่งเป็น
ก.)  Hydrolycus scomberoides (Cuvier 1819)
ข)  ให้ดูข้อ (ค)
 
จากกลุ่ม (ค) แตกออกเป็นอีก 2 กลุ่ม โดยใช้เกล็ดที่พบบางพื้นที่ของร่างกายกับไม่พบเกล็ด (ขออุบน่ะครับ แหะ แหะ) โดยผมสมมติให้ (ค) พบเกล็ดบนตำแหน่งนั้น กับ (ง) ไม่พบเกล็ด.
(ค) พบเกล็ดจะมีอยู่ 2 ชนิดครับ.
      (ค1)  Hydrolycus armatus (Jardine 1841)
      (ค2)  Hydrolycus tatauaia Toledo-Piza, Menezes & Santos 1999
**หมายเหตุ** หลายท่านคงพอแยกออกน่ะครับว่า เราสังเกตุสีของ 2 ชนิดนี้ก็เพียงพอจะจำแนกได้อยู่แล้วน่ะครับ.
(ง) ไม่พบเกล็ดบนตำแหน่งนั้น ซึ่งก็คือ " Hydrolycus wallacei Toledo-Piza, Menezes & Santos 1999 "

ไม่ยากใช่มั๊ยครับ.

คำถามสุดท้าย พอทราบเรื่องปลาแรดบ้างหรือเปล่าครับ?. อยากรู้เรื่อง แรดเขี้ยว Osphronemus exodon Roberts 1994  กับ แรดอีกชนิดนึงที่พบในอินโดนีเซีย ไม่ใช่แรดซุปเปอร์เรดน่ะครับ.
คำตอบ ขอเป็นอาทิตย์หน้าครับ มีทั้ง 2 ชนิดล่ะครับ แต่ผมไม่มีเครื่องสแกนรูป ต้องไปขอยืมจมูกคนอื่นหายใจก่อนครับ ปลาแรดซุปเปอร์เรด ไม่เห็นรายงานการบรรยายเป็นชนิดใหม่ อีกชนิดที่ว่า คือ Osphronemus septemfasciatus Roberts 1992  มีรายงานบรรยายอยู่ครับ แต่อาจขอสงวนสิทธิ์เรื่องภาพของตัวนี้น่ะครับ หรือ ยังไงดี.

                                                                                  ขอบคุณครับ.
                                                                                    จิรชัย.
กรุณา ลงทะเบียน และ login ก่อนส่งความเห็นครับ
siamfishing.com © 2024
siamfishing.com/content/view.php?cat=article&nid=24696