สยามฟิชชิ่ง
หน้าแรก|กระดาน|รีวิว|ประมูล|ตลาด|เปิดท้าย
login | สมัครสมาชิก | วิธีสมัครสมาชิก | ลืมชื่อ/รหัส | login ไม่ได้? | 22 ธ.ค. 67
ทฤษฏีความคิด : Fishing Article
 ห้องบทความ/เทคนิค > บทความอื่นๆ
ความเห็น: 5 - [27 ก.ค. 53, 12:47] ดู: 1,958 - [21 ธ.ค. 67, 00:18] โหวต: 2
ทฤษฏีความคิด
Pr.Teaw offline
16 พ.ค. 53, 10:46
1
ทฤษฏีความคิด
        ความคิด หมายถึง สิ่งที่เป็นอมตะมีอยู่จริง สัมผัสไม่ได้แต้รู้สึกถึงได้ เป็นสิ่งที่มีที่อยู่อาศัยและไม่มีที่อยู่อาศัย แต่เราไม่สามารถมองเห็นได้ เป็นสิ่งที่มีมาตั้งแต่ก่อนการเกิดจักรวาล และสิ่งต่าง ๆ  เริ่มแรกนั้นความคิดล่องลอยอยู่ท่ามกลางความว่างเปล่า ไม่มีที่อยู่อาศัย แต่เมื่อเวลาผ่านไป ความคิดจึงพัฒนาตนเองคิดไปว่า  ตนนั้นควรจะมีหลักแหล่งอันถาวรเสียที ความคิดจึงทำให้เกิด อะตอม ธาตุ จักรวาล เอกภพ กาแล็กซี่ ระบบสุริยะ ดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์น้อย และสิ่งต่าง ๆ มากมาย เช่น สิ่งมีชีวิตต่าง ๆ สัตว์ชั้นสูง สัตว์ชั้นด่ำ สัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง สัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง สิ่งก่อสร้าง ตลอดจนทุกสิ่งที่เราเห็นและเราไม่เห็นในปัจจุบัน
        ในระยะแรกความคิดนั้นไม่มีที่อยู่อาศัย แต่ล่องลอยอยู่ท่ามกลางความว่างเปล่าเป็นเวลานาน จนกระทั้งความคิดมีความคิดที่จะมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง จึงได้มีการเกิด อะตอม ธาตุต่าง ๆ เพื่อให้เกิด สิ่งที่ล่องลอยอยู่ท่ามกลางความว่างเปล่าแทนตน เพื่อที่ตนจะได้มีที่อยู่สักที สิ่งนี้ความคิดคิดว่าน่าจะมีลักษณะที่ไม่เหมือนความว่างเปล่า อันที่จริงแล้วความคิดก็อยากจะให้สิ่งนี้มีลักษณะเหมือนความว่างเปล่า แต่เนื่องจากว่าความว่างเปล่านั้นมีลักษณะไม่แน่นอน ไม่สามารถระบุหรือรู้ได้ว่าความว่างเปล่ากินพื้นที่เท่าไร สิ่งที่ล่องลอยอยู่ท่ามกลางความว่างเปล่านั้น ก็คือ จักรวาล และเมื่อเวลาผ่านไป เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยของความคิดให้เป็นหลักแหล่ง จึงก่อให้เกิดปรากฏการณ์ต่าง ๆ ในจักรวาล หรือที่เรียกกันว่า กฎธรรมชาติ เพื่อให้เกิดสิ่งต่าง ๆ ขึ้น และเป็นที่อยู่ของความคิดไปตลอดกาล เมื่อสัตว์เกิดขึ้นมา  ความคิดได้อาศัยสัตว์เป็นที่ตั้งของที่อยู่อาศัยของตนนั้นคือ สมอง แต่บางครั้งความคิดจะไปอยู่ในสัตว์บางส่วนมากกว่าสัตว์ส่วนใหญ่  และสัตว์บางส่วนนั้นก็ได้พัฒนาตนเองขึ้นมาจนกลายเป็นมนุษย์ในปัจจุบัน แต่ก็มีสัตว์บ้างอีกบางส่วนในปัจจุบันที่ความคิดเข้าไปอยู่มากกว่าสัตว์ส่วนใหญ่  และเนื่องจากสัตว์นั้นไม่ใช่ที่อยู่ของความคิดตลอดไป เมื่อ ความคิดรู้ว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่ตนสร้างขึ้นนั้น ไม่สามารถอยู่ได้ตลอดไป เพราะความว่างเปล่าไม่ยอมให้สิ่งไหนมาอยู่ตลอดไป นอกเหนือ จากความคิดและความว่างเปล่าเท่านั้นที่จะอยู่ตลอดไป เมื่อความคิดได้อาศัยสัตว์เป็นที่ตั้งที่อยู่ของตนนั้นคือ สมอง อันเป็นที่อยู่ที่แน่นอนแล้ว และเพื่อจะมีที่อยู่อาศัยที่แน่นอนไปตลอดจนกว่าสิ่งที่ตนสร้างมาจะดับสลายไป เพื่อสิ่งนี้ ความคิดได้อาศัยสัตว์ที่พัฒนาตนเองจนกลายเป็นมนุษย์  เป็นที่หลักในการทำสิ่งนี้ จึงเกิดสัมผัสทั้ง 5 ขึ้น คือ หู ตา จมูก ปาก ร่างกาย หรือ สัญชานในทางปรัชญา นอกจากนี้ยังมีอวัยวะต่าง ๆ ที่เพิ่มขึ้นมาเพื่อให้มนุษย์สามารถดำรงชีวิตได้อย่างยาวนานและพัฒนาตนเองไปเรื่อย ๆ  และก่อกำเนิดสิ่งต่าง ๆ เทคโนโลยี วิถีชีวิต วัฒนธรรม อันสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในโลก และการเปลี่ยนแปลงในจักรวาลที่ไม่มีวันหยุด อันมีกฎธรรมชาติเป็นตัวกลางในการเปลี่ยนแปลง และเพื่อไม่ให้สิ่งที่ตนสร้างมาทั้งหมดต้องดับสลายก่อนที่จะถึงเวลาอันสมควรที่จะถึงการดับสลายของทุกสิ่ง แต่ลึก ๆ ความคิดก็อยากจะมีที่อยู่อาศัยที่แน่นอนตลอดไป เพื่อไม่ให้ตนต้องล่องลอยท่ามกลางความว่างเปล่าอีกเหมือนในอดีต จึงได้อาศัยมนุษย์ในการค้นหาคำตอบว่าทำอย่างไรความคิดจึงจะมีที่อยู่อาศัยที่แน่นอนไปตลอดกาลโดยที่ความว่างเปล่ายอมรับการอยู่ไปของที่อยู่ที่แน่นอนของความคิดไปตลอดกาล  จาที่กล่าวมาทั้งหมดนี้สามารถแบ่งความคิดได้ 2 ประเภท
        1. ความคิดเริ่มแรก คือ ความคิดที่ทำให้เกิด จักรวาลและสิ่งต่าง ๆ ก่อนที่สัตว์จะถือกำเนิด ความคิดประเภทนี้ก่อให้เกิดสัตว์ และสัญชาน โดยมีสัตว์ที่พัฒนาตนเองจนกลายเป็นมนุษย์เป็นหลัก ในการคิดหาคำตอบว่าทำอย่างไรความคิดจึงจะมีที่ตั้งที่อยู่อาศัยที่แน่นอนไปตลอดกาล โดยที่ความว่างเปล่าต้องยอมรับในการที่ความคิดจะทำให้ที่ตั้งที่อยู่อาศัยที่แน่นอนอยู่ไปตลอดกาล
        2. ความคิดพื้นฐาน คือ ความคิดที่มีสัญชานในการค้นหาคำตอบ ของการดำรงชีวิต วิถีชีวิต และวัฒนธรรม อันสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในโลก และการเปลี่ยนแปลงในจักรวาลที่ไม่มีวันหยุด อันมีกฎธรรมชาติเป็นตัวกลางในการเปลี่ยนแปลงในจักรวาล และการทำอย่างไรความคิดจึงจะมีที่ตั้งที่อยู่อาศัยที่แน่นอนไปตลอดกาล โดยที่ความว่างเปล่าต้องยอมรับในการที่ความคิดจะทำให้ที่ตั้งที่อยู่อาศัยที่แน่นอนอยู่ไปตลอดกาล ความคิดพื้นฐานนั้นมีที่อยู่อาศัยที่แน่นอนเป็นหลักแหล่งแต่ไม่ตลอดไป เพราะต้องหาที่อยู่ใหม่ไปเรื่อย ๆ จนกว่าทุกสิ่งทุกอย่างจะถึงแก่กัลปาวสาน  เมื่อมนุษย์ดับสลายหรือตายไป เพราะไม่ได้อยู่ได้ตลอดกาล  ความคิดพื้นฐานก่อให้เกิด สิ่งต่าง ๆ มากมายบนโลก ทั้งเทคโนโลยี และสรรพวิทยา ต่าง ๆ โดยมี ปรัชญา วิทยาศาสตร์ และศาสตร์ต่าง ๆ มากมาย  ในการค้นหาคำตอบ ของการดำรงชีวิต  วิถีชีวิต และวัฒนธรรม อันสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในโลก และการเปลี่ยนแปลงในจักรวาลที่ไม่มีวันหยุด อันมีกฎธรรมชาติเป็นตัวกลางในการเปลี่ยนแปลงในจักรวาล และการทำอย่างไรความคิดจึงจะมีที่ตั้งที่อยู่อาศัยที่แน่นอนไปตลอดกาล โดยที่ความว่างเปล่าต้องยอมรับในการที่ความคิดจะทำให้ที่ตั้งที่อยู่อาศัยที่แน่นอนอยู่ไปตลอดกาล
        ความคิดทั้งสองประเภทนี้ ก่อให้เกิดสิ่งต่าง ๆ มากมาย ท่ามกลางความว่างเปล่า เพื่อให้มีที่อยู่อาศัยที่แน่นอนของตน และเพื่อไม่ให้ตนต้องล่องลอยอยู่ท่ามกลางความว่างเปล่าอีก หรือคำพูดที่ว่า “ความคิดเป็นบ่อเกิดของทุกสิ่ง”
        แม้ว่า ทฤษฎีความคิดที่ข้าพเจ้าอาจจะไม่ใช่สิ่งที่ถูกในหลักความเป็นจริง และหลักปรัชญา แต่ข้าพเจ้าคิดว่าทฤษฏีความคิดของข้าพเจ้าน่าจะเป็นแนวทางให้นักปรัชญารุ่นต่อ ๆ ไป สามารถหาคำตอบได้ว่าหลักความเป็นจริงควรเป็นอย่างไร และหลักปรัชญาอันแท้จริงนั้นควรจะเป็นอย่างไร เพื่อให้มีการผลิตผลงานทางปรัชญาต่อไป

ที่มา : http://www.vcharkarn.com/include/vcafe/showkratoo.php?Pid=154544
กรุณา ลงทะเบียน และ login ก่อนส่งความเห็นครับ
siamfishing.com © 2024
siamfishing.com/content/view.php?cat=article&nid=23362