สยามฟิชชิ่ง
หน้าแรก|กระดาน|รีวิว|ประมูล|ตลาด|เปิดท้าย
login | สมัครสมาชิก | วิธีสมัครสมาชิก | ลืมชื่อ/รหัส | login ไม่ได้? | 23 ธ.ค. 67
♠♠►เทคนิคน่ารู้ เลือกไขควงซ่อมรอกเลือกใช้อย่างไรให้ถูกต้อง(UP DATE) ◄♠♠ : Fishing Article
 ห้องบทความ/เทคนิค > บทความอื่นๆ
ความเห็น: 18 - [26 มี.ค. 59, 22:11] ดู: 9,181 - [21 ธ.ค. 67, 10:53] ติดตาม: 11 โหวต: 7
♠♠►เทคนิคน่ารู้ เลือกไขควงซ่อมรอกเลือกใช้อย่างไรให้ถูกต้อง(UP DATE) ◄♠♠
MR.CASTING (2592 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้) offline
12 มี.ค. 59, 09:22
1
♠♠►เทคนิคน่ารู้ เลือกไขควงซ่อมรอกเลือกใช้อย่างไรให้ถูกต้อง(UP DATE) ◄♠♠
ภาพที่ 1
เรื่องสกรูกับรอกตกปลานี่มีปัญหาชวนปวดหัวมากมายสำหรับผู้ไม่รู้ ส่งผลให้การไขสกรูแต่ละครั้งในการซ่อมแซมรอกหรือถอดล้างรอก สร้างริ้วรอยเยินบ้าง หัวเวิกบ้าง บางทีรูดเลย ปัญหาเหล่านี้เกิดจากผู้ไม่รุ้ในการเลือกใช้อุปกรณ์ที่ถูกต้องตามมาตรฐานสกรูชนิดนั้นๆ หลายคนคิดว่าสกูหัวผ่า(SLOTTED)ก็ใช้ไขควงปากแบนที่พบเห็นได้ทั่วไปนั่นละไขได้เหมือนกัน หรือ สกรูหัวแฉก ก็ใช้ไขควงหัวแฉกที่เห็นหาซื้อได้ทั่วไปไขได้เหมือนกัน ความเข้าใจแบบนี้นับว่าผิดนะครับสำหรับสกรูหัวแฉก อาจสร้างความเสียหายให้หัวสกรูได้ ถ้าไม่รุนแรงแค่อาจสร้างริ้วรอยเยินให้หัวสกรูของรอกราคาแพงของท่าน ส่งผลสร้างความลำบากในการไขสกรูครั้งต่อๆไป ถ้ารุนแรงอาจถึงหัวสกรูรูดเลย ต้องบ่งออก สกรูติดรอกพวกนี้มักมีราคาสูงเอาเรื่องนะครับสำหรับสกรูหัวแฉกพวกนี้ 
♠♠►เทคนิคน่ารู้ เลือกไขควงซ่อมรอกเลือกใช้อย่างไรให้ถูกต้อง(UP DATE) ◄♠♠
ภาพที่ 2
♠♠►เทคนิคน่ารู้ เลือกไขควงซ่อมรอกเลือกใช้อย่างไรให้ถูกต้อง(UP DATE) ◄♠♠
ภาพที่ 3
♠♠►เทคนิคน่ารู้ เลือกไขควงซ่อมรอกเลือกใช้อย่างไรให้ถูกต้อง(UP DATE) ◄♠♠
ภาพที่ 4
♠♠►เทคนิคน่ารู้ เลือกไขควงซ่อมรอกเลือกใช้อย่างไรให้ถูกต้อง(UP DATE) ◄♠♠
ภาพที่ 5
♠♠►เทคนิคน่ารู้ เลือกไขควงซ่อมรอกเลือกใช้อย่างไรให้ถูกต้อง(UP DATE) ◄♠♠
ภาพที่ 6
♠♠►เทคนิคน่ารู้ เลือกไขควงซ่อมรอกเลือกใช้อย่างไรให้ถูกต้อง(UP DATE) ◄♠♠
ภาพที่ 7
♠♠►เทคนิคน่ารู้ เลือกไขควงซ่อมรอกเลือกใช้อย่างไรให้ถูกต้อง(UP DATE) ◄♠♠
ภาพที่ 8
จากภาพจะเห็นได้ว่า สกรูหัวแฉกพวกนี้มีมาตรฐานชนิดหัวสกรูต่างกัน จึงต้องใช้ไขควงที่มีมาตรฐานเดียวกับหัวสกรู จึงจะไม่สร้างความเสียหายให้หัวสกรู เคยสังเกตุไหมครับ รอกใหม่ๆจากโรงงานทำไมหัวสกรูจึงไม่มีริ้วรอย ถลอก เยิน แต่อย่างใดดูใหม่จริงๆ เคล็ดลับคือ นอกจากใช้ค่าแรงบิดหรือ"ทอร์ค"ได้ตรงตามมาตรฐานสกรูชนิดนั้นๆแล้วซึ่งสกรูแต่ละขนาดจะมีมาตรฐานในการใช้แรงบิดในการไขของมัน เค้ายังใช้ไขควงถูกมาตรฐานของหัวสกรูไงครับจึงไม่มีริ้วรอย ในการซ่อมบำรุงรอกที่ได้มาตรฐานนั้น การใช้ไขควงไม่ตรงมาตรฐานหัวสกรูนั้นสังเกตุได้จาก ปลายไขควงจะไม่กระชับพอดีหัวสกรู จะดิ้นได้หรือให้ตัวได้นิดนึง ต้องจับความรู้สึกจึงจะทราบว่าท่านได้ใช้ไขควงผิดมาตรฐานเข้าให้แล้ว หรือที่สำคัญมันมีโค้ดที่หัวสกรูให้ทราบว่าสกรูตัวนั้นเป็นมาตรฐานใดฉะนั้นก่อนไขต้องดูให้ดีๆครับ มันจะส่งผลให้เวลาท่านออกแรงไขมันจะดิ้น หรือสเตียร์ จากร่องส่งผลให้มีริ้วรอยไงครับ หากยังออกแรงต่อไปอาจเสียหายหนักขึ้นหรือถึงขั้นหัวรูดได้เลย การเลือกใช้เลือกซื้อไขควงหัวแฉก มันจะมีมาตรฐานดังนี้ - PH.หรือไขควงมาตรฐาน PHILLIPS พบได้ในสกรูทั่วๆไปในชีวิตประจำวัน รวมถึงรอกตกปลาสำหรับสกรูบางตัว ยังแบ่งย่อยแบบคร่าวๆเอาแบบใกล้ตัวนักตกปลาไม่ลงลึกในวงกว้างเช่นงานอุตสาหกรรมเชิงลึก ได้อีกคือ PH/SLพบในงานไฟฟ้า และในสกรูรอกตกปลา - PZ หรือไขควงมาตรฐาน POZIDRIV พบได้ในชีวิตประจำวันได้ทั่วไปเช่นกันเช่น เฟอร์นิเจอร์ งานไฟฟ้า ยังแบ่งย่อยได้อีกคือ PZ/SL พบในงานไฟฟ้า - JIS หรือไขควงมาตรฐาน Japaness Industrial Standards, JIS พบได้ในเครื่องมือเครื่องใช้ภายในบ้านรวมถึงรอกตกปลาสำหรับสกรูบางตัว เท่านี้ก็สร้างความเวียนหัวในการเลือกใช้ให้นักตกปลาที่นิยมซ่อมรอกเองแล้ว ดังนั้นควรเลือกซื้อเลือกใช้ไขควงให้ถุกประเภทตามมาตรฐานสกรูที่จะไขครับ
♠♠►เทคนิคน่ารู้ เลือกไขควงซ่อมรอกเลือกใช้อย่างไรให้ถูกต้อง(UP DATE) ◄♠♠
ภาพที่ 9
ปากแบนก็ใช่ย่อยสร้างความฉงนงุนงงให้ผู้ใช้บ่อยๆ เท่าที่เห็นมักดูปลายไขควงให้พอดีด้านกว้างกับไดมิเตอร์หัวสกรูแค่นั้นในการเลือกใช้ นับว่าถูกแค่ครึ่งเดียวครับอาจสร้างความเสียหายได้อยู่ดี โดยทั่วไปไขควงยี่ห้อมาตรฐานสูงๆนั้น จะระบุสเปคของไขควงตัวนั้นๆไว้ครับเช่น 1.2x0.5 นั่นหมายถึง ความหนาของปลายไขควงตัวนั้นเท่ากับ 0.5 cm.ความกว้างปลายไขควงเท่ากับ 1.2cm.นั่นเอง เรื่องความกว้างมักไม่ใช่ปัญหาในการเลือกใช้ เพราะเราๆท่านเลือกมักเลือกใช้กันเป็นอยู่แล้ว แต่ความหนานี่สิกลับสร้างปัญหา แต่ละยี่ห้อมีความหนาต่างกันตามประเถทปลายไขควง รวมถึงมาตรฐานการผลิตในประเทศนั้นด้วย มาว่ากันถึงปลายไขควงปากแบนต่อ มันมี2แบบ คือแบบปากผาย และแบบปากสอบ แบบปากผายปลายไขควงจะกว้างกว่าก้านไขควงเห็นได้ชัด มักพบเจอได้ทั่วไปและใช้งานกันทั่วไป แบบปากสอบหรือ SLIM OFFSET หรือ SLIM FIX.หรือมีความกว้างพอดีกับก้านไขควง สร้างมาเพื่อใช้ในที่แคบที่ต้องแยงหรือสอดปลายไขควงเข้าไปไข เช่นรอกไดว่าสกรูฝาข้างมือหมุน ที่ต้องใช้ไขควงตัวนี้ปลายไขควงมันจะพอดีร่องสกรูและไม่กว้างเกินหัวสกรู จากภาพด้านบนเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของไขควง PB.SWISS กับปลายแบบ PARALLEL TIP ออกแบบให้หน้าสัมผัสเต็มร่องกว่าไขควงแบบเดิมๆ แต่ควรระวัง PB.SWISS นี้เค้ามีมาตรฐานของเค้าไม่เหมือนชาวบ้าน มักระบุเป็นเบอร์ไขควง ในความกว้างปลายไขควงเท่ากัน ความหนาเค้าจะบางกว่าชาวบ้านเสมอ ก่อนใช้ดูเสเป็คไขควงให้ดี
♠♠►เทคนิคน่ารู้ เลือกไขควงซ่อมรอกเลือกใช้อย่างไรให้ถูกต้อง(UP DATE) ◄♠♠
ภาพที่ 10
ส่วนสกรูหัวดาว(TORX) หรือหัว6เหลี่ยม(HEXAGON) ที่มักพบในสกรูแต่งรอกของสำนักแต่งรอกต่างๆ มักไม่ค่อยสร้างปัญหาในการเลือกใช้ แค่ใช้แบบคุณภาพสูงๆก็พอ สำนักแต่งรอกบางสำนักระบุเลยว่าต้องใช้ยี่ห้อไหน ขนาดเท่าไรสำหรับสกรูของเค้า
คลิปที่ 11
คราวนี้เรามาว่าเรื่องเวลาไขสกรูให้แน่นควรใช้แรงไขขนาดไหนเท่าที่เห็น บางคนไขซะแน่นเบ่งพลังซะตาปลิ้นตัวสั่น พอดูหัวสกรูหลังการไขเยินเชียว บางทีรูดต้องบ่งออกเสียของน่าดู เหตุเพราะกลัวสกรูมันคลาย แบบนี้ผิดครับ บางคนพอมีความรู้บ้างบอก แค่พอตึงมือก็พอสกรูตัวนิดเดียวพอถามต่อที่ว่าตึงมือน่ะใช้แรงเท่าไรแน่ใจหรือว่าถูกต้อง ก็ตอบไม่ได้อีก สรุปคือเกือบถูกแค่พอใช้ได้อนุโลมให้กรณีไม่มีเครื่องมือครบแบบสมัครเล่นแต่ถ้ายึดเป็นอาชีพไม่ควรทำนะครับ ควรมีเครื่องมือที่จำเป็นต้องใช้ในงานให้ครบรวมถึงความรู้ที่ถ่องแท้ด้วย จริงๆแล้วสกรูแต่ละขนาดแต่ละวัสดุที่ทำสกรูเค้ามีค่ากำหนดมาจากโรงงานครับ ว่าต้องใช้แรงเท่าไรในการไข รอกประกอบจากโรงงานทุกตัวไขมาตามเสปคสกรูหมดครับ มีหน่วยของแรงไขเป็น นิวตันเมตร( Nm.) และยึดสกรูไม่ให้ดิ้นคลายตัวออกด้วยน้ำยากันคลายที่หลายๆท่านถอดรอกครั้งแรกจะมีเสียงดัง เป๊ะ ตอนคลายออกนั่นละพอคลายออกมาแล้วจะเห็นเป็นสีฟ้าๆที่ปลาสสกรู พักเรื่องนี้ไว้ก่อนเดี๋ยวค่อยมาว่ากัน การไขสกรูให้ได้แรงที่กำหนดที่ถูกต้องนั้น จำเป็นต้องมีไขควงทอร์คโดยการตั้งค่าNm.ในการไขที่ไขควงพอไขไปถึงค่าNm.ที่กำหนดระบบคลัทช์จะตัดกำลังการไขอัตโนมัติทำให้ไขต่อจะหมุนฟรี ไขควงแบบนี้ช่วยป้องกันการเสียหายของหัวสกรูและเกลียวรูด ค่าความคลาดเคลื่อนไม่เท่ากันนะครับ ตามยี่ห้อและราคา ของจีนหรือไต้หวันไม่แนะนำเพราะเอาความแน่นอนไม่ได้เลยเสียตังค์ฟรีครับ ช่างอาชีพควรมีนะครับกรณีซ่อมรอกให้ลุกค้า อิอิ
♠♠►เทคนิคน่ารู้ เลือกไขควงซ่อมรอกเลือกใช้อย่างไรให้ถูกต้อง(UP DATE) ◄♠♠
ภาพที่ 12
เรื่องสุดท้ายของเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสกรู ว่าด้วยเรื่องพอไขสกรูแล้วทำอย่างไรไม่ให้มันคลายตัวให้เหมือนรอกเพิ่งออกจากโรงงาน มีคำตอบครับ น้ำยากันคลาย หรือน้ำยาล็อกเกลียว หรือบางคนอาจจะเรียกว่า ล็อกไทท์ (Loctite) ก็สุดแล้วแต่นะครับ เพราะมันคืออย่างเดียวกัน ..เรียกได้ทั้งนั้น และถ้าเป็นภาษาฝรั่งเค้าก็จะเรียกว่า Thread lock หรือ Thread locking หน้าที่หลักๆของมันก็คือ ป้องกันการคลายตัวของน็อต ซึ่งอาจจะเกิดจากแรงสั่นสะเทือน หรือแรงกระแทกต่างๆ หน้าที่หลักๆ ของมันก็มีอยู่แค่นี้แหละครับ  แต่ที่จะเป็นปัญหาของพวกเราชาวนึักซ่อมรอกตกปลามือสมัครเล่นหรือแม้แต่ยึดเป็นอาชีพ ก็คงจะเป็นการเลือกใช้งานนี่แหละครับ เพราะมันมีหลากหลายชนิด และหลายเบอร์ มากๆ ผมเองเมื่อก่อนผมก็สงสัย เวลาจะหาซื้อน้ำยากันคลายซักขวด ดันมีหลายเบอร์  มันอะไรกันนักหนา วางเรียงเป็นตับ แล้วตรูจะเลือกขวดไหนดีละเนี่ย.. ใครเคยเป็นแบบผมมั่งครับ 55+ วันนี้ผมเลยเอาความลับหรือข้อมูลของน้ำยากันคลายของ Loctite ที่เหมาะกับงาน รอกตกปลามาสาธยายให้ฟังกัน มาเริ่มกันเลยครับ
เริ่มจากสี หลักๆที่เราใช้และเห็นกกันบ่อยๆก็จะมีอยู่ทั้งหมด 4 สีครับ ..ได้แก่

- สีม่วง (Loctite 222) : สีนี้แรงยึดต่ำสุดเมาะสำหรับเอาไว้ใช้กับน็อตที่เราขันเข้า-ออก บ่อยๆ

- สีฟ้า (Loctite 242,243) : สีนี้แรงยึดระดับปานกลาง เราจะรู้จักคุ้นตากันมากที่สุด เพราะเหมาะกับทุกๆส่วนการใช้งานของรอกตกปลาของเราและยังแบ่งย่อยได้อีก2เบอร์คือ เบอร์ 242 กับ 243 จะต่างกันตรงที่ เบอร์ 243 จะมีส่วนผสมป้องกันของน้ำมัน อันนี้แหละเหมาะกับรอกตกปลาที่ต้องเจอน้ำมันหรือจารบีที่ใช้หล่อลื่นรอก เช่นในห้องเกีบร์ ฝาข้าง หรือแขนหมุนเป็นที่สุด

- สีแดง (Loctite 262) : สีนี้ แรงยึดระดับสูง เราเอาไว้ใช้ในจุดที่เราอยากยึดให้อยู่แบบแน่นๆจริงๆ สีนี้ไม่ควรใช้กับรอกตกปลานะครับ มันยึดแน่นไขกันตาปลิ้นเลยทีเดียว เผลอๆเยินรูดถ้าเลือกไขควงผิดชนิดสกรูด้วยความไม่รู้

- สีเขียว (Loctite 290) : สีนี้ แรงยึดระดับต่ำถึงปานกลาง เค้านิยมเอาไว้ยึดติดกับลูกปืนตามที่ต่างๆ ประมาณว่าเอาไว้ยึดให้มันอยู่ในบ๊อก หรือที่ๆเราไม่อยากให้หลุดออกมาง่ายๆ ถ้าเป็นภาษาฝรั่งจะเรียกล็อกเกลียวหรือกันคลายชนิดนี้ว่า Studlock หรือ Bearing Retainer
♠♠►เทคนิคน่ารู้ เลือกไขควงซ่อมรอกเลือกใช้อย่างไรให้ถูกต้อง(UP DATE) ◄♠♠
ภาพที่ 14
ส่วนเรื่องของเวลาการยึดติดการเซตตัว ถ้าพูดถึงแต่ละชนิดระยะเวลามันก็จะไม่เท่ากันครับ แต่ผมแนะนำให้เอาเวลาที่ยึดติดช้าที่สุดเป็นเป็นเกณฑ์อยู่ที่ประมาณ 10 นาทีครับ หมายความว่าหลังจากเราใช้กับสกรูแล้ว เราต้องปล่อยมันทิ้งไว้ซัก 10 นาทีเป็นอย่างต่ำ ก่อนที่เราจะเอารอกตกปลาของเราออกไปใช้งานครับ เพราะถ้าไม่งั้นน้ำยาที่เราใส่ไปมันก็จะไม่มีประโยชน์อะไรเลย (มันยังไม่ทันได้เซ็ตตัว) เสียของและเวลาเปล่าๆ !! หรือถ้าจะเอาให้มันแน่นอนเลยหรือชัวร์ที่สุด ทิ้งมันไว้สัก1วันก่อนออกไปใช้งานอันนี้แน่นอนที่สุดครับพร้อมใช้งานแน่นอน
วิธีการใช้งาน

โปรดจำไว้ว่ายึดน็อตหรือสกรูกับโลหะเท่านั้นครับ หรือ โลหะกับโลหะ วิธีการใช้ก็ใช้หยดหรือป้ายที่ปลายสกรู ประมาณ 1/4 ของเกลียวสกรูเท่านั้น หรือใครจะหยดใส่ทั้งเกลียวให้เยิ้มก็ตามใจครับ รู้ครับว่ามันแน่นดีไม่คลายตัวแน่ๆ แต่..............เวลาเอาออกอาจจะก็ต้องใช้หัวแร้งไฟฟ้าร้อนๆจี้ๆค้างไว้นานหน่อยให้น้ำยาอ่อนตัวก็เท่านั้นครับ แต่รับรองได้สีรอกพองปูดจากความร้อนแค่นั้น 555+ ทำอะไรอย่าเกินพอดีเป็นดีครับ
ลืมบอกไปครับ ก่อนจะใส่หรือใช้น้ำยา เราต้องทำความสะอาดน็อตหรือพื้นผิวที่น็อตจะไปสัมผัสมันก่อนด้วยนะครับ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้มันได้ติดแน่นตามคุณสมบัติของกันคลายตามที่เราใช้งานครับ จะเบนซิน ทินเนอร์ น้ำยาล้างเล็บ แอลกอฮอร์ ตามสะดวกเลยครับถ้าท่านมั่นใจว่าผิวสกรูสะอาดแน่ๆ หรือถ้าเอาแบบชัวร์ไม่ชอบเสียง น้ำยาล้างเตรียมผิวงานเป็นของ Loctite เลยเค้าก็ได้ทำมาครับเรียกว่า น้ำยาเตรียมผิว ลองไปหาใช้กันได้ครับ เป็นตัวนี้ครับ Loctite Primer N7649 ขวดสีเขียวๆครับ
จากเรื่องที่เขียนมาหวังว่าจะเป็นประโยชน์กับน้าๆที่นิยมซ่อม ล้างรอก ให้ใช้เครื่องมือได้ถุกมาตรฐานและวิธีขึ้นเพื่อลดความเสียหายจากการใช้งานที่ผิดมาตรฐานหรือวิธี หรือให้คงความสวยงามให้กับสกรูหรือน็อตที่ท่านถอดและใส่ให้เหมือนใหม่เหมือนตอนออกจากโรงงานครับ 
จะคัดลอกบทความส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดไปใช้ผมไม่หวงหรอกครับกระซิบกันหน่อยนึง แต่ห้ามแก้ไข ดัดแปลง ส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดของบทความเท่านั้นเองครับ
แก้ไข 14 มี.ค. 59, 10:09
กรุณา ลงทะเบียน และ login ก่อนส่งความเห็นครับ
siamfishing.com © 2024
siamfishing.com/content/view.php?cat=article&nid=220392