ไปเจอคำพิพากษาของศาลฎีกา มีประเด็นที่น่าสนใจ ที่น้าๆที่ทำธุระกิจ เกี่ยวกับร้านอาหาร มีบริการเปิดเพลงให้ลูกค้าฟัง มีตัวอย่างคำพิพากษาให้ศึกษาดังนี้
คำพิพากษาฎีกาที่ 8220/2553
คำพิพากษาฎีกาที่ 8220/2553 (ความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 31, 70 วรรคสอง) - จำเลยประกอบกิจการค้าขายอาหารตามสั่งและเครื่องดื่ม จำเลยเปิดแผ่นวีซีดีเพลง “กำลังใจที่เธอไม่รู้” อันเป็นลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย ซึ่งได้มีผู้ทำขึ้นหรือดัดแปลงขึ้นให้ลูกค้าในร้านอาหารของจำเลยได้ฟัง ไม่ปรากฏว่าจำเลยเปิดเพลงดังกล่าวเพื่อหากำไรโดยตรงจากการที่ให้ลูกค้าได้ฟังเพลงโดยการเรียกเก็บค่าตอบแทนจากลูกค้าในการเปิดเพลงดังกล่าว หรือเรียกเก็บเพิ่มรวมไปกับค่าอาหารและเครื่องดื่มแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยตามฟ้องจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 ประกอบมาตรา 70 วรรคสอง เพราะไม่ครบองค์ประกอบความผิดของบทมาตราดังกล่าวซึ่งต้องเป็นการกระทำเพื่อหากำไรโดยตรงจากการละเมิดลิขสิทธิ์
จะเห็นแนวทางในการวินิจฉัยของศาลฎีกานะครับ กรณีแบบนี้ ถ้ามีผู้อ้างมาขอค่าลิขสิทธิ์ โดยอ้างว่าเป็นเจ้าของบทเพลงนั้นๆ ดังกล่าว เราสามารถโต้แย้งไม่
จ่ายเงินให้ได้ ส่วนกรณีร้านตู้เพลง คาราโอเกะ ผับ ที่เรียกเก็บเงินลูกค้าจากการร้องเพลง หรือคิดค่าบริการเพิ่มนอกเหนือจากอาหาร ไม่เข้าข่ายได้รับประโยชน์ จากแนวทางคำพิพากษาของศาลนะครับ
....หากมีข้อกฎหมายใดๆ ที่มีประโยชน์แก่น้าๆ สมาชิกในบ้านเรา จะคัดลอกนำมาเผยแพร่นะครับ ขอบคุณครับ