สยามฟิชชิ่ง
หน้าแรก|กระดาน|รีวิว|ประมูล|ตลาด|เปิดท้าย
login | สมัครสมาชิก | วิธีสมัครสมาชิก | ลืมชื่อ/รหัส | login ไม่ได้? | 29 ธ.ค. 67
"แกเลื่อม" ภูมิปัญญาชาวบ้าน ผสานเทคโนโลยีใหม่ : Fishing Article
 ห้องบทความ/เทคนิค > บทความตกปลา
ความเห็น: 8 - [17 ก.ค. 48, 21:29] ดู: 6,959 - [29 ธ.ค. 67, 04:52] โหวต: 5
"แกเลื่อม" ภูมิปัญญาชาวบ้าน ผสานเทคโนโลยีใหม่
ครูเหี่ยว (8 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้) offline
6 ก.ค. 48, 13:05
1
เนื่องมาจากได้ไปตอบกระทู้ของคุณฐาปกรณ์ ผินนอก เรื่อง เหลี่ยม 50 ตังค์ แล้วพอดีมีรูปอยู่ แต่โพสไม่ได้ก็เลย เอามาฝากกันที่นี่ละกันครับ
  "แกเลื่อม" นี่เป็นวิธีล่าปลากระสูบของคนอุบลราชธานีครับ โดยเฉพาะที่เขื่อนสิรินธรฯ มาจากคำว่า "แก" ที่แปลว่า "ลาก" ส่วน "เลื่อม" คือ "ใบสปินเนอร์" ที่ทำด้วยทองเหลือง เวลาสะท้อนแสงแล้วมัน "เลื่อมตา" นั่นเอง
  เดิมชาวบ้านริมเขื่อนเขาใช้วิธีผูกเลื่อม ที่ถ่วงด้วยตะกั่วไว้ข้างหน้า ลากด้วยไม้ใผ่ยาวๆ ลากซ้าย-ขวา พร้อมกับเดินไปข้างหน้าเรื่อยๆ เห็นวิธีดิบๆ แบบนี้ ชะโดพี่แกก็เคยได้ กระสูบขีดขนาด 1-2 โล นี่ก็ได้กันบ่อย แต่ส่วนมากจะเป็น กระสูบจุดซะมากกว่า
  ตอนหลังมีเบ็ดกับรอกที่ใส่สายได้ยาวมากขึ้น และตีสายได้ไกลมากขึ้น ก็มีการปรับเปลี่ยนวิธีการ โดยการผูกสปินเนอร์ก็จะเป็นแบบรูปแรกน่ะครับ โดยสายหน้าจะยาวประมาณ ตั้งแต่ 30-120 ซ.ม. แล้วแต่ปลาจะระแวงมากแค่ไหน โดยจะผูกเข้ากับลูกหมุนและถ่วงตะกั่วขนาด ตั้งแต่ 5-20 กรัมไว้ในสายเมนด้วย
นี่ก็เป็นวิธีการผูกที่ดัดแปลงให้ใช้งานได้ดีขึ้น สังเกตว่าจะใช้ลูกปัดขนาดเล็กเป็นตัวคั่นระหว่างตัวเบ็ดกับใบสปินเนอร์ โดยเมื่อใส่สปินเนอร์เข้าไปแล้ว ปลายใบจะอยู่ประมาณตูดเบ็ดพอดี โดยจะต้องใส่ข้อเหวี่ยงด้วยนะครับ จะช่วยเรื่องความพลิ้วมากขึ้น ซึ่งสายหน้านี้จะผูกเข้ากับลูกหมุนครับ บางคนใส่ยาวเป็นวาเลย เวลาผูกกับเบ็ดก็แค่ ใส่ตะกั่วเข้าในสายเมน ร้อยลูกปัดสักเม็ด แล้วผูกเข้ากับลูกหมุนเท่านั้นครับ
อุปกรณ์ก็ตามภาพครับ หาง่าย ประยุกต์ได้ตามความพอใจ
มีหลักสำคัญดังนี้ครับ
  - ใบสปินเนอร์ ส่วนใหญ่จะใช้ทรงใบหลิว เพราะกระสูบค่อนข้างเปรียวและระแวงครับ ต้องลากเร็วๆ ประมาณ ผ่านหน้าแว๊บ งับปั๊บประมาณนี้  แต่หากน้ำขุ่นอาจจะต้องใช้ใบทรงป้าน เพื่อสร้างแรงสั่นสะเทือนในน้ำ ล่อปลาเอา ใบเล็ก-ปลาเล็กครับ ใบใหญ่-อาจจะปลาใหญ่ แต่จะต้านน้ำมาก
  - ตะกั่วถ่วง แล้วแต่ความลึกของน้ำนะครับ ผมเห็นบางคนใส่ตะกั่วใหญ่เพื่อให้ตีได้ไกล แต่กลับไม่ได้ปลา เพราะตะกั่วหนักจะทำให้เหยื่อจมไว หากลากไม่เร็วพอเหยื่อจะลุยมาในกอสาหร่ายหรือหญ้าใต้น้ำ ซึ่งปลากระสูบมักจะหากินกลางน้ำ เหนือสาหร่ายมากกว่า ดังนั้นขนาดตะกั่วสำคัญครับ ต้องแมทซ์กับสาย และความลึกของน้ำ รวมถึงขนาดของใบสปินเนอร์ด้วย ยกตัวอย่างที่ผมใช้อยู่ละกันนะครับ ผมใช้สายแค่ 6 ปอนด์ ตะกั่วขนาด 10 กรัม สำหรับน้ำลึกไม่เกิน 3 เมตร ประมาณ 15-20 กรัม ถ้าน้ำลึกกว่านั้น สำหรับใบสปินเนอร์ใบหลิวขนาดยาวประมาณ 1 นิ้ว (จำเบอร์ไม่ได้ครับ กะเอา) ลากเหยื่อประมาณกลางน้ำนะครับ อย่าเร็วเกิน หรือช้าจนเหยื่อลุยสาหร่าย
"เลื่อม" แบบนี้ส่วนมากปลาที่ได้มักจะเป็นกระสูบจุดครับ มีกระสูบขีดตัวใหญ่ๆ มาแจมบ้าง แต่ถ้าต้องการล่ากระสูบขีดใหญ่ๆ (ปลาอีกั๊วะ) จะใช้สปูนครับ นักล่าท้องถิ่นเขาทำสปูนเอง โดยซื้อเศษแผ่นทองเหลือง (ในอ.พิบูลฯ มีหมู่บ้านทำฆ้องทองเหลืองด้วย แต่ผมจำชื่อหมู่บ้านไม่ได้เสียแล้ว) แล้วนำมาตัดขึ้นรูป เรียวหัวเรียวท้าย กว้างประมาณนิ้ว ยาวตั้งแต่ 3 นิ้ว จนถึงขนาด hevvy 6 นิ้วเลยครับ เจาะรูหัวสำหรับใส่ลูกหมุน และรูท้ายสำหรับใส่ตัวเบ็ด ส่วนตัวเหยื่อจะนำมาเคาะให้โค้งนูนเล็กน้อย และดัดให้เป็นรูปตัว s แบบผอม คือ โค้งนิดๆ ครับ เพราะถ้าโค้งมาก มันกินน้ำมาก ควงสว่านเป็นวงกว้างจะเป็นไล่ปลาไปซะ เหยื่อแบบนี้มักเรียกกันว่า "ปลาหลด" (หมายถึงปลากระทิงครับ) ก็คงดูจากรูปร่างและแอ็กชั่นของเหยื่อนะครับ แต่เหยื่อแบบนี้จะเหมาะกับคันใหญ่ๆ 8-10 ฟุต เพราะเหยื่อจะหนักมาก รอกยอดนิยมจะเป็น tica gh,lh ขนาด 4000-4500 ครับ สายนี่ นู่นครับ 25-40 ปอนด์ กันเลย ประมาณงับปั๊บอัดม้วนเดียวเข้าฝั่งครับ เหยื่อแบบนี้เข้าเป็นประเภท MITA ครับ "เล็กๆ ไม่ ใหญ่ๆ เท่านั้น" 5 5 5 5 (คือเห็นตัวเหยื่อแล้ว ปลาขนาดต่ำกว่าโลนี่ เผ่นกันเกล็ดหลุดล่ะครับ)
กรุณา ลงทะเบียน และ login ก่อนส่งความเห็นครับ
siamfishing.com © 2024
siamfishing.com/content/view.php?cat=article&nid=2055