สยามฟิชชิ่ง
หน้าแรก|กระดาน|รีวิว|ประมูล|ตลาด|เปิดท้าย
login | สมัครสมาชิก | วิธีสมัครสมาชิก | ลืมชื่อ/รหัส | login ไม่ได้? | 23 พ.ย. 67
กินกุ้งจากบ่อตกกุ้ง ที่น้ำบ่อตกใส่ยาจนน้ำเป็นสีน้ำเงินกันหรือไม่! : Fishing Article
 ห้องบทความ/เทคนิค > บทความตกปลา
ความเห็น: 30 - [8 พ.ค. 58, 13:54] ดู: 20,787 - [23 พ.ย. 67, 14:34] ติดตาม: 4 โหวต: 5
กินกุ้งจากบ่อตกกุ้ง ที่น้ำบ่อตกใส่ยาจนน้ำเป็นสีน้ำเงินกันหรือไม่!
MR.CASTING (2592 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้) offline
3 พ.ค. 58, 10:08
1
กินกุ้งจากบ่อตกกุ้ง ที่น้ำบ่อตกใส่ยาจนน้ำเป็นสีน้ำเงินกันหรือไม่!
ภาพที่ 1
ปัจจุบันผมได้ออกตกกุ้งตามบ่อตกกุ้งที่คิดค่าบริการเป็นรายชั่วโมง กุ้งที่ตกได้นำออกได้หมด เนื่องจากต้องออกไปเทสอุปกรณ์ตกกุ้งบางชนิดที่ใช้สำหรับกุ้งบ่อ อีกทั้งเจ้าพระยาช่วงนี้ผักตบชวาแน่นเต็มแม่น้ำไม่สามารถตกกุ้งปลาได้เลย จึงต้องออกตระเวรตามบ่อตกกุ้ง ปัจจุบันบ่อตกกุ้งเปลี่ยนไปจากอดีตที่ผมเคยตกเมื่อยุคต้นของบ่อตกกุ้งเฟื่องฟู ราว2538-2540 ประมาณนั้น ไม่ว่าอเมซอน บ้านกุ้ง กุ้งดีดปลากระโดด และอีกหลายแห่งที่กล่าวไม่ไหมด สมัยนั้นเป็นบ่อดินส่วนใหญ่ น้ำใช้แบบธรรมชาติเติมออกซิเจนปกติแบบปัจจุบัน แต่ปัจจุบันนี้เปลี่ยนไปมากเป็นบ่อปูนปูกระเบื้องเซรามิค ระดับน้ำไม่ลึกนัก ที่สำคัญที่เห็นสิ่งแตกต่างได้ชัดคือน้ำของบ่อส่วนใหญ่เป็นสีน้ำเงิน สอบถามได้ความว่่าใส่เพื่อปรับสภาพน้ำและกันคนลากกุ้ง กล่าวคือไม่ให้มองเห็นตัวกุ้งนั่นเอง น้ำยาที่ใส่จากข้อมูลของบ่อต่างๆที่ให้ก็เป็นยาสีน้ำเงินปรับสภาพน้ำตู้ปลาสวยงามหาซื้อได้ตามร้านปลาสวยงามนั่นเอง และยืนยันว่าไม่มีอันตรายใดๆ ไม่เช่นนั้นปลาคงตายหมดตู้หากใส่น้ำยาตัวนี้ไปตั้งนานแล้ว ได้รับคำตอบอย่างนี้ผมก็พยายามไม่คิดอะไรมาก คิดว่าคงจะจริงถ้าอันตรายปลาคงตายหมดแล้ว ตกอยู่ สี่ห้าครั้งได้กุ้งกลับมาก็ทำอาหารให้ลูกสาวที่ชอบกินกุ้งกิน หลังจากกินไม่นานลูกสาวมีอาการแพ้ไปพบแพทย์ผิวหนังได้ความว่าเป็นผื่นกุหลาบเพราะแพ้สารเคมี ผมเองก็ไม่ติดใจคิดว่าแพ้จากสาเหตุอื่น กินยาที่หมอให้จนอาการดีขึ้น ผมออกไปตกกุ้งเช่นเคยเอามาเผาให้กิน อาการเดิมก็กลับมาอีก ทั้งที่ลูกสาวไม่ใช่คนแพ้กุ้ง และแพทย์ก็ยืนยันว่าไม่แพ้กุ้งแต่แพ้สารเคมีบางชนืด ผมเลยถึงบางอ้อ เริ่มค้นคว้าหาข้อมูลเจ้ายาสีน้ำเงินนี้ ที่ผมมั่นใจว่าเป็นตัวต้นเหตุของการแพ้ ได้ข้อมูลมาดังนี้ครับ ปัจจุบันเลิกกินกุ้งบ่อที่ใส่ยาสีน้ำเงินในน้ำแบบนี้เด็ดขาดสำหรับผม ได้ข้อมูลที่ค้นคว้าได้ดังนี้สำหรับยาสีน้ำเงินหรือ ยาเขียว

  ยา มาลาไคท์ กรีน (Ma *** chite Green)

มีลักษณะ

เป็นผงสีเขียว ละลายน้ำได้ดี เมื่อละลายน้ำแล้วได้ สารสีออกน้ำเงิน

ตอนนี้ มีอยู่ 2 ชนิดคือ
รูปของมาลาไคท์ กรีน ออกซาเลต (Ma *** chite green oxa *** te)
รูปของมาลาไคท์ กรีน ไฮโดรคลอไรด์ (Ma *** chite green hydrochloride)

ยาชนิดนี้ มีชื่อ ทางตลาด มากมายเช่น วิคทอเรีย กรีน (Victoria Green),แอนิลีน กรีน(Aniline Green),เบนซัลดีไฮด์ กรีน (Benzaldehyde Green) ,ไชน่ากรีน (China Green) ,ไดมอนด์ กรีน
(Diamond Green) ,บริลเลี่ยน กรีน (Brilliant Green)

คุณสมบัติ

1.มาลาไคท์ กรีน เป็นสีสังเคราะห์ที่ใช้สำหรับย้อมวัสดุต่างๆ เช่น ผ้าไหม ผ้าขนสัตว์ ฝ้ายและกระดาษ
2.มาลาไคท์ กรีน จะถูกดูดซึม และมีการเปลี่ยนรูปไปเป็น ลูโคมาลาไคท์ กรีน (Leucoma *** chite Green : LMG) ในเนื้อเยื่อของสัตว์น้ำ และจะตกค้างเป็นระยะเวลานาน

ข้อเสีย
- ก่อให้เกิดเนื้องอกที่ต่อมไทรอยด์ตับ ในขณะที่ลูโคมาลาไคท์ กรีน สามารถก่อให้เกิดมะเร็งที่ต่อมไทรอยด์ และตับในสัตว์ทดลอง
- เหนี่ยวนำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมในการก่อให้เกิดเนื้องอกในสัตว์ทดลอง
- ทำให้เกิดความผิดปกติทางพันธุกรรม โดยการเพิ่มความยาวของสาย DNA
- ทำให้การพัฒนาของตัวอ่อน หลังฟักออกจากไข่มีความผิดปกติไปจากเดิมถึง 3-5 เท่า
- เป็นพิษโดยตรงต่อระบบหายใจของสัตว์น้ำและทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีของเลือด
- ทำให้ระดับของแคลเซียมและโปรตีนในเลือดลดลงอย่างรวดเร็ว
เป็นพิษอย่างรุนแรงต่อสาหร่ายพืชน้ำ และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในน้ำจืดและทะเล

- เป็นสารก่อมะเร็งในคนด้วยนะครับ ต้องใส่ถุงมือ ตลอด อันตรายจริงๆ
การตกค้าง

มาลาไคท์ กรีน ที่ละลายในน้ำจะถูกดูดซึมเข้าสู่ปลาได้อย่างรวดเร็วและสะสมอยู่ในเนื้อเยื่อของปลาและเปลี่ยนรูปไปเป็น ลูโคมาลาไคท์ กรีน ที่ไม่มีสี อัตราการดูดซึมขึ้นอยู่กับความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำ มาลาไคท์ กรีน และ ลูโคมาลาไคท์ กรีน จะตรวจพบมากที่บริเวณไขมันในช่องท้องและจะตรวจพบน้อยในน้ำเลือดเนื่องจาก
มาลาไคท์ กรีน ลูโคมาลาไคท์ กรีน สามารถแพร่กระจายไปได้อย่างกว้างขวางทั่วทุกเนื้อเยื่อของปลา
ทำให้เกิดการสะสมและติดแน่นในเนื้อเยื่อต่างๆ ได้ดี และถูกกำจัดออกจากเนื้อเยื่อได้ช้า
ทำให้เกิดผลข้างเคียงต่างๆ
ยาที่สามารถทดแทนได้

ฟอร์มาลิน ออกฤทธิ์กำจัดปรสิตภายนอก สัดส่วนที่ใช้ 25-40 ส่วนในล้านส่วน นาน 24 ชั่วโมง
ไตรฟูลาริน ออกฤทธิ์กำจัดเชื้อรา สัดส่วนที่ใช้ 0.1 ส่วนในล้านส่วน นาน 24 ชั่วโมง
โอโซน ออกฤทธิ์กำจัดเชื้อรา สัดส่วนที่ใช้ 0.1 มิลลิกรัม/น้ำ 1 ลิตร นาน 1 นาที
โพวิโดน ไอโอดีน ออกฤทธิ์กำจัดเชื้อราบนไข่ปลา สัดส่วนที่ใช้100 มิลลิกรัม/น้ำ 1 ลิตร นาน 15 นาที
ด่างทับทิม ออกฤทธิ์กำจัดปรสิตภายนอก สัดส่วนที่ใช้ 2-4 มิลลิกรัม/น้ำ 1 ลิตร นาน 24 ชั่วโมง
ไฮโดรเจน เปอร์ออกไซด์ ออกฤทธิ์กำจัดเชื้อราบนไข่ปลา สัดส่วนที่ใช้ 1,000 ส่วน ในล้านส่วน นาน 15 นาที
คิดว่าคงมีประโยชน์กับเพื่อนๆไม่มากก็น้อยนะครับ ศึกษาฉลากยาก่อนใช้ สารนี้มีฤทธิ์ในการต้านจุลชีพ ยังยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรคออกฤทธิ์ ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย

ลองใช้วิจรณญาณในการอ่านนะครับ ผมหาข้อมูลมาได้แค่นี้ครับและเลิกกินอย่างเด็ดขาดกลัวมันสะสมในร่างกายแม้ไม่แสดงอาการตอนแรก น้าๆยังรัปทานแล้วมีอาการอะไรกันบ้างไหมครับ
กรุณา ลงทะเบียน และ login ก่อนส่งความเห็นครับ
siamfishing.com © 2024
siamfishing.com/content/view.php?cat=article&nid=200009