เกร็ดความรู้ 5 : สุดยอดนวัตกรรมห้ามเลือดจากบาดแผลฉกรรจ์ได้ใน 15 วินาที.!!
29 ม.ค. 58, 22:08
1
ภาพที่ 1
การโดนยิงในสนามรบสำหรับทหารนั้นเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นทักษะการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเพื่อห้ามเลือดจึงเป็นทักษะที่จำเป็นเพื่อรักษาชีวิตรอดในสมรภูมิรบซึ่งเทคนิคการห้ามเลือดวิธีหนึ่งก็คือ การใช้ผ้าพันแผลยัดเข้าไปที่บาดแผลโดยตรง (wound packing) สามารถหยุดเลือดได้ เนื่องจากผ้าพันแผลหรือผ้าก๊อซนั้นมีเส้นใยที่ทอกันมาอย่างหนาแน่นถูกออกแบบมาเพื่อช่วยให้เกล็ดเลือดยึดกันกันเป็นผนังและทำให้เกิดการแข็งตัวเร็วขึ้นนั่นเอง ต่วิธีการนี้บางครั้งก็ไม่ได้สามารถห้ามเลือดได้ ซึ่งถ้าเลือดไม่หยุดไหลหลังจากอัดผ้าก๊อซลงไปแล้วเกิน 3 นาที แพทย์สนามจะต้องดึงผ้าก๊อซออกแล้วยัดกลับเข้าไปใหม่อีกครั้ง
ล่าสุดRevMedx (กลุ่มของนักวิทยาศาสตร์ ทหารผ่านศึกและวิศวกรที่ร่วมกันวิจัยหาวิธีที่ดีที่สุดในการห้ามเลือด)ได้คิดค้น XStat ซึ่งเป็นอุปกรณ์ห้ามเลือดขนาดพกพา โดยการพัฒนากระบอกฉีดยา (Syringe) ให้สามารถบรรจุฟองน้ำสำหรับห้ามเลือดได้ อุปกรณ์ XStat นี้สามารถเพิ่มอัตราการรอดชีวิตและลดอาการบาดเจ็บอันเนื่องมาจากการถูกยัดผ้าพันแผลเข้าไปที่บาทแผลโดยตรงได้ อีกทั้งฟองน้ำที่ใช้นี้มีคุณสมบัติในการห้ามเลือดที่ดีกว่าผ้าพันแผลอีกด้วย ซึ่งแรงบันดาลใจของการสร้าง XStat นี้ได้จากโฟมที่ช่วยอุดรอยรั่วของยางรถยนต์
ซึ่งฟองน้ำสำหรับ XStatนี้ได้ทำจากเยื่อไม้ และทำการพัฒนาด้วยการเคลือบสารไคโตซานซึ่งมีส่วนช่วยในการแข็งตัวของเลือด และยังช่วยในการต้านการเติบโตของจุลชีพอีกด้วย และเพื่อป้องกันฟองน้ำหลุดเข้าไปในร่างกายมนุษย์จนอาจส่งผลให้เกิดอันตรายอื่นๆ จึงทำการมาร์คบนฟองน้ำเป็นรูปตัว X เพื่อให้สามารถใช้รังสีเอ็กซ์ในการแสกนหาได้
ฟองน้ำจากเยื่อไม้นี่สามารถหยุดเลือดได้ภายใน 15 วินาที อีกทั้งยังสามารถเข้าไปเติมเต็มในส่วนของช่องวางของบาดแผล ทำให้มีแรงกดมากพอที่จะห้ามเลือจากบาดแผลฉกรรจ์ได้ และเนื่องจากฟองน้ำจะยึดเกาะกับพื้นผิวที่เปียกชื้อเพราะฉะนั้นถึงแม้ว่าเลือดที่พุ่งออกจากเส้นเลือดจะมีแรงดันมากก็ตาม แต่ฟองน้ำก็จะสามารถยึดเกาะกับบาดแผลไม่ถูกดันออกมา
อุปกรณ์ Xstat 1 ชิ้นสามารถใช้ได้สามครั้ง ซึ่งเทียบเท่ากับการใช้ผ้าก๊อซห้ามแผลถึงห้าม้วน และยังได้พัฒนากระบอกฉีดให้มีขนาดเล็กลงจนเหลือเพียง 12 มิลลิเมตร สำหรับบาดแผลที่มีขนาดเล็กแต่เป็นแผลลึก สนนราคาของอุปกรณ์ชิ้นนี้อยู่ที่ 100$(3260.70 บาท) ซึ่งราคาจะถูกลงเมื่อมีการทำการผลิตจำนวนมาก
ขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.vcharkarn.com/