ภาพที่ 1ผมนี่นั่งค้นคว้า รายละเอียดเรื่องหมึกมาให้เลยนะครับ
ลักษณะของหมึกหอม ลำตัวรูปทรงกระบอก ครีบหรือแพนข้างตัวทั้ง 2 ด้าน มีลักษณะกว้างและแบน ยาวเกือบตลอดลำตัวคล้ายหมึกกระดอง ต่างกันที่กระดองของหมึกหอมเป็นแผ่นใสบาง เห็นเส้นกลางกระดองได้ชัดเจน หนวดรอบปากมี 10 เส้น เป็นแขน 8 เส้น มีหนวดคู่ยาว 2 เส้น ลักษณะของลำตัวดูใส มีสีน้ำตาลอมแดง ประเป็นจุดอยู่ทั่วไป นัยน์ตาเขียว หมึกตัวผู้มีขนาดเรียวยาวกว่าตัวเมีย
หมึกหอมรวมกลุ่มอยู่เป็นหมู่ ทั้งในบริเวณผิวน้ำจนถึงผิวพื้นทะเล ไข่หมึกมีลักษณะคล้ายนิ้วมือ เรียงอยู่เป็นกลุ่มเกาะติดกับสาหร่าย ปะการัง หิน หรือวัสดุอื่น ๆ
พบได้ทั่วไปในเขตร้อนของมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดีย อาศัยอยู่ตั้งแต่ผิวน้ำจนถึงหน้าดิน นิยมบริโภคเป็นอาหาร โดยการปรุงสด เนื่องจากหากินในเวลากลางคืน ชาวประมงจึงมักจับในเวลากลางคืน โดยใช้แสงไฟจากนีออนล่อ หมึกหอมสามารถสืบพันธุ์วางไข่ได้ตลอดทั้งปี โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ช่วง คือ ระหว่างปลายเดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์ พฤษภาคมถึงต้นเดือนกรกฎาคม และปลายเดือนสิงหาคมถึงตุลาคม โดยสามารถสืบพันธุ์วางไข่ได้เมื่อมีอายุ 3-4 เดือน หลังจากการผสมพันธุ์ 1 สัปดาห์ ตัวเมียจะวางไข่ติดกับวัสดุใต้น้ำ โดยที่เพศผู้คอยว่ายน้ำ ดูแลอยู่ใกล้ ๆ ไข่ของหมึกหอมมีลักษณะคล้ายฝักมะขาม ติดกันเป็นพวง มีความดกของไข่เฉลี่ย 486-2,186 ฟอง ใช้ระยะเวลา ในการฟัก 2-3 สัปดาห์ มีความยาวลำตัวแรกฟัก 0.5 เซนติเมตร น้ำหนัก 0.1-0.3 กรัม รูปร่างคล้ายกับหมึกตัวเต็มวัย
นอกจากนี้แล้ว หมึกกล้วย ยังเป็นสัตว์ที่ไม่มีประสาทรับรู้ความเจ็บปวด ดังนั้นแม้จะถูกตะขอของชาวประมงเกี่ยวขึ้นมาก็ไม่รับรู้ถึงความเจ็บปวด หากไม่ไปถูกอวัยวะสำคัญแล้ว เมื่อหมึกกล้วยสามารถหลุดออกมาหรือถูกปล่อยลงน้ำ ก็สามารถว่ายต่อไปได้อีกเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น หมึกกล้วยมีพฤติกรรมการผสมพันธุ์ที่ไม่เหมือนกับสัตว์ชนิดอื่นใด เมื่อจับคู่ผสมพันธุ์กันแล้วจะไม่สนใจสิ่งใด ๆ เลย แม้ว่าสิ่งนั้นจะเป็นอันตรายต่อตนเองก็ตาม ตัวผู้จะจ้องดูตัวเมียแล้วพุ่งตัวเข้ากอดรัดโดยใช้หนวดมัดจนตัวเมียดิ้นไม่หลุด ขณะเดียวกันสีผิวของตัวผู้จะเปลี่ยนเป็นสีม่วงเข้มแล้วเปลี่ยนเป็นสีแดงจากนั้นตัวผู้ก็จะปล่อยน้ำเชื้อเข้าไปในตัวเมีย หลังจากนั้นตัวผู้และตัวเมียก็แยกย้ายจากกันโดยอาจไม่มีโอกาสมาพบกันอีกเลย ส่วนตัวเมียก็จะเริ่มวางไข่ ตามก้อนหินไข่ที่วางไว้มีลักษณะเป็นวุ้นเหนียวแข็งห่อหุ้มไข่ไว้ ตัวเมียวางไข่ครั้งละประมาณ 1,500 ฟอง และจะปล่อยให้ลูกหมึกฟักออกมาเป็นตัวตามธรรมชาติโดยไม่ได้ดูแล หลังจากวางไข่แล้วหมึกตัวเมียจะมีสภาพร่างกายที่อ่อนเพลียและจะล้มตายลง ซึ่งในบางครั้งจะตายลงพร้อม ๆ กันเป็นจำนวนมาก จนเสมือนเป็นสุสานของหมึกกล้วยใต้ทะเล
หมึกส่วนมากจะมีอายุขัยโดยเฉลี่ยไม่เกิน 4 ปี อย่างหมึกกระดองมีอายุขัยราว 240 วัน หมึกถือเป็นสัตว์ที่มีการเจริญเติบโตเร็วมาก เมื่ออายุถึง 3 เดือน ก็สามารถสืบพันธุ์ได้ หมึกมักจะจับคู่เป็นคู่ ๆ โดยในหมึกกระดองตัวผู้จะมีถุงสเปิร์ม ซึ่งตัวผู้จะใช้หนวดดึงถุงสเปิร์มนี้ไว้ในตัวตัวเมียบริเวณรอบปาก ในขณะที่หมึกกล้วยจะทิ้งไว้ข้างลำตัว
หมึกจะวางไข่ไว้ในโพรงหรือติดกับวัสดุต่าง ๆ ใต้น้ำ เช่น หินหรือปะการัง เมื่อฟักเป็นตัวแล้ว หมึกในวัยเล็กจะมีรูปร่างเหมือนตัวเต็มวัยทุกประการ หมึกตัวเมียในกลุ่มหมึกกระดองเมื่อวางไข่แล้ว น้ำหนักจะค่อย ๆ ลดลงและตายลงในที่สุด ในขณะที่หมึกยักษ์ตัวเมียจะดูแลไข่และดูแลลูกจนกระทั่งฟักออกมาเป็นตัว
หมึกเมื่อจะล่าเหยื่อ จะเริ่มต้นด้วยการจ้องเหยื่อก่อน และกะระยะให้พอดีที่จะจู่โจมเข้าใส่ ซึ่งหมึกจะใช้หนวดที่แข็งแรงมัดรัดเหยื่อไว้ก่อนที่จะใช้ขากรรไกรที่แข็งแรงและคมเหมือนปากนกแก้ว ฉีกกัดเหยื่อ นอกจากนี้แล้วในน้ำลายของหมึกยังมีสารเคมีที่เรียกว่า Chephalotoxin ซึ่งมีเฉพาะในกลุ่มหมึกยักษ์และหมึกกระดองเท่านั้น ซึ่งส่งผลต่อระบบประสาทในสัตว์จำพวกกุ้งปูเท่านั้น เพื่อตกเป็นอาหารตามธรรมชาติของหมึก แต่ทว่าในหมึกน้ำลึกบางชนิดก็ไม่มีน้ำหมึกที่ว่านี้
แก้ไข 13 ม.ค. 58, 17:56