ภาพที่ 1ตั้งแต่สมัยเด็ก เวลาทำงานถ้าเราทำมากๆ อาจจะเบลอได้ พอถึงวัยทำงาน ก็ได้ทำประมาณวันละ 8 ชั่วโมง แล้วทำไมต้อง 8 ชั่วโมงด้วยล่ะ
ในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมช่วงศตวรรษที่ 19 แรงงานทำงานวันละ 16 ชั่วโมง เพื่อผลิตสินค้าให้ทันกับความต้องการของตลาด คุณภาพชีวิตของแรงงานจึงแย่ลง
Robert Owen นักสังคมนิยมเพ้อฝันชาวอังกฤษ(มีอาชีพนี้ด้วยเรอะ) จึงเริ่มรณรงค์ผ่านสโลแกนที่ว่า 8 hours for work, 8 hours for rest, 8 hours for what we will เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของแรงงานให้ดีขึ้น
ภาพที่ 2แต่แนวคิดของโอเวนก็ไม่รุ่ง เมื่อเจอแนวคิดสังคมนิยมของ Karl Marx ที่สนับสนุนให้แรงงานต่อสู้กับนายทุนผู้ขูดรีด
จนกระทั่งในวันที่ 21 เมษายน 2399 สมาคม Stonemason และแรงงานจำนวนมากรวมตัวกันที่เมืองเมลเบิร์น ของออสเตรเลีย มีการเดินขบวนเรียกร้องสนับสนุนแนวคิดดังกล่าว แนวคิดของโอเวนเริ่มเป็นรูปเป็นร่างแล้ว
ภาพที่ 33 สัปดาห์ต่อมา สมาคนก็ทำสำเร็จ ผู้ใช้แรงงานสามารถทำงานวันละ 8 ชั่วโมได้โดยไม่ถูกตัดค่าจ้าง ถือเป็นการเรียกร้องสิทธิของตนเองครั้งแรกของโลกอีกด้วยที่สำเร็จ
แนวคิดนี้ก็ได้รับการเผยแพร่ไปทั่วโลก จนที่ ประชุมสมาพันธ์กรรมกรสากลครั้งที่ 1 ที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ประกาศสนับสนุนแนวคิดดังกล่าวในปี 2409
ภาพที่ 4แรงงานชาวอเมริกันในนครชิคาโก รวมตัวหยุดงานครั้งใหญ่ในปี 2429 เพื่อเรียกร้องสิทธิเหมือนกัน แต่การนัดหยุดงานครั้งนั้น กลายเป็นการสังหารหมู่ที่ Haymarket ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2429
จากโศกนาฏกรรมเรียกร้องสิทธินี้ อีก 12 ปีต่อมา และในที่สุดก็มีการยกย่องให้ วันที่ 1 พฤษภาคม กลายเป็นวันแรงงานสากล
ภาพที่ 5แนวคิดนี้เริ่มเป็นสากลเรื่อยๆ เมื่อบริษัท Ford Motor ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ของสหรัฐฯ ได้นำแนวคิดนี้มาใช้ใน ปี 2457 อีกทั้ง รัฐบาลสหภาพโซเวียตก็บัญญัติให้การทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวันเป็นกฎหมายเช่นกัน หลังการปฏิวัติรัสเซียใน ปี 2460
ที่มา: voicetv