ภาพที่ 1ปลาพระอาทิตย์ (โมล่า โมล่า)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Mola Mola
ชื่อสามัญ Ocean sunfish
ขนาด 2-3 เมตร
แพร่กระจาย ทะเลอันดามัน อ่าวไทย แต่ไม่เคยเจอหรอก
บริเวณพี่พบ ปลาผิวน้ำ พบในหมู่เกาะห่างไกล และในทะเลน้ำลึก
ความลึก 1-100 เมตร
อาหาร แมงกระพรุน
สถานการณ์ถ้าเจอหมายถึง คุณโชคดีกว่าถูกล็อตเตอรี่รางวัลที่หนึ่ง
อนุรักษ์ หายากมหายาก ไม่ต้องทำอะไรเลย
Fish Tip ยกมือไหว้เมื่อเจอ เพราะโอกาสมีเพียง 0.00001%
นับเป็นการหาเรื่องใส่ตัวโดยแท้
ที่คิดจะเขียนถึงเจ้าตัวนี้เพราะเกิดมาก็ไม่เคยพบเหมือนกัน
เท่าที่ถามผู้คนที่รู้จัก ยังไม่มีใครเคยเห็นเหมือนกัน
แต่ถ้าถามว่าเมืองไทยพบมั้ย ? บอกได้ว่าพบ
เพราะเคยมีคนเห็นตัวอย่างที่ศูนย์ชีวะภูเก็ต
ที่คณะประมงก็มีอยู่หนึ่งตัวแต่ตัวจริงๆถ้าอยากดูต้องไปญี่ปุ่น
ในอะควอเรี่ยมบางแห่งมีเจ้านี่ครับ
คนญี่ปุ่นชอบมากเป็นพิเศษเพราะเป็นปลาหน้าตาพิลึก
ถ้าคุณอ่านการ์ตูนญี่ปุ่น บางทีคุณอาจเจอเค้าว่ายไปก็ว่ายมา
ปลาพระอาทิตย์ หรือที่เรียกว่า โมล่า-โมล่า อยู่ในครอบครัว Molidae
ถ้าเข้าใจไม่ผิดคิดว่ามี 2 ชนิด แต่ที่ทุกคนพูดถึงคือ Mola mola
มีวิวัฒนาการแสนแปลกครีบต่างๆของเขาลดรูปเหลือเพียงครีบหลังและครีบก้นที่มีขนาดใหญ่มาก
ใช้โบกแบบพลิกไปมาช่วยให้ตัวเองว่ายไปข้างหน้าได้
ปรกติจะอยู่กลางน้ำหรือใกล้ผิวน้ำ ตัวใหญ่จริงๆน้ำหนักเป็นตันก็มี
แต่ที่มีตัวอย่างในเมืองไทย ขนาดเท่าฝาโอ่ง ถือเป็นโมล่ารุ่นกระเตาะ
โมล่าอาศัยในมหาสมุทรเกือบทั่วโลก ทั้งในเขตร้อนและเขตอบอุ่น
โอกาสเข้าใกล้แนวปะการังมีน้อยมาก ส่วนใหญ่จะเจอแบบบังเอิญกลางทะเล
ที่ฟิลิปปินส์มีทัวร์ดำน้ำดูโมล่าโดยเฉพาะ แต่เขาใช้คำว่า Mola or
Nothing ถ้าไม่เห็นโมล่าก็แปลว่าไม่เห็นอะไรเลย
เพราะตรงนั้นไม่ใช่แนวปะการัง เป็นบริเวณกลางทะเล
มีกระแสน้ำที่โมล่ามักลอยผ่านเป็นประจำใครอยากเห็นต้องลองไปทัวร์ที่ว่านี่
เพราะไม่เคยมีคนรู้จักได้ไปสักคน
ภาพที่ 2ภาพที่ 3ภาพที่ 4ภาพที่ 5ภาพที่ 6ภาพที่ 7ภาพที่ 8ภาพที่ 9ภาพที่ 10ภาพที่ 11ภาพที่ 12ภาพที่ 13ภาพที่ 14ภาพที่ 15ภาพที่ 16