สยามฟิชชิ่ง
หน้าแรก|กระดาน|รีวิว|ประมูล|ตลาด|เปิดท้าย
login | สมัครสมาชิก | วิธีสมัครสมาชิก | ลืมชื่อ/รหัส | login ไม่ได้? | 27 เม.ย. 67
บอกเล่าเก้าสิบ กับ ปลา.........( Barracuda.) : Fishing Article
 ห้องบทความ/เทคนิค > บทความตกปลา
ความเห็น: 22 - [27 ก.ค. 52, 14:47] ดู: 13,883 - [27 เม.ย. 67, 16:52] โหวต: 9
บอกเล่าเก้าสิบ กับ ปลา.........( Barracuda.)
จิรชัย (323 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้) offline
31 พ.ค. 52, 21:53
1
บอกเล่าเก้าสิบ กับ  ปลา.........( Barracuda.)
ภาพที่ 1
ปลาสาก หรือ ปลาบาราคิวด้า อยู่ในวงศ์ Sphyraenidae. สกุล Sphyraena. ปัจจุบันถูกระบุว่ามีทั้งหมด 29 ชนิดดังนี้.

1)  Sphyraena acutipinnis Day 1876
2)  Sphyraena afra Peters 1844
3)  Sphyraena africana Gilchrist & Thompson 1909
4)  Sphyraena argentea Girard 1854
5)  Sphyraena barracuda (Edwards 1771)
6)  Sphyraena borealis DeKay 1842
7)  Sphyraena chrysotaenia Klunzinger 1884
8)  Sphyraena ensis Jordan & Gilbert 1882
9)  Sphyraena flavicauda Rüppell 1838
10) Sphyraena forsteri Cuvier 1829
11) Sphyraena guachancho Cuvier 1829
12) Sphyraena helleri Jenkins 1901
13) Sphyraena iburiensis Doiuchi & Nakabo 2005
14) Sphyraena idiastes Heller & Snodgrass 1903
15) Sphyraena japonica Bloch & Schneider 1801
16) Sphyraena jello Cuvier 1829
17) Sphyraena lucasana Gill 1863
18) Sphyraena nigripinnis Temminck & Schlegel 1843
19) Sphyraena novaehollandiae Günther 1860
20) Sphyraena obtusa Cuvier 1829
21) Sphyraena obtusata Cuvier 1829
22) Sphyraena picudilla Poey 1860
23) Sphyraena pinguis Günther 1874
24) Sphyraena putnamae Jordan & Seale 1905
25) Sphyraena qenie Klunzinger 1870
26) Sphyraena sphyraena (Linnaeus 1758)
27) Sphyraena tome Fowler 1903
28) Sphyraena viridensis Cuvier 1829
29) Sphyraena waitii Ogilby 1908
กระจายตามมหาสมุทรใหญ่อย่าง แอตแลนติค , แปซิฟิค , ฯลฯ จากรายงานของกรมประมงระบุว่าปลาสากที่กระจายอยู่บริเวณน่านน้ำไทย และ สามารถ พบเห็นได้มีทั้งหมด 4 ชนิดคือ.
บอกเล่าเก้าสิบ กับ  ปลา.........( Barracuda.)
ภาพที่ 2
1) Sphyraena obtusata Cuvier 1829
2) Sphyraena barracuda (Edwards 1771)
3) Sphyraena jello Cuvier 1829
4) Sphyraena putnamae Jordan & Seale 1905
    ถ้าหากไล่จำแนกชนิดให้ครบ 29 ชนิดเลยนั้น คงจะลำบากเอาการ  บังเอิญผมมีข้อมูลเพียงอย่างเดียวที่พอจะจำแนกในชนิดของปลาสากที่พบในน่านน้ำไทยอยู่บ้างดังนี้
บอกเล่าเก้าสิบ กับ  ปลา.........( Barracuda.)
ภาพที่ 3
1a) มีแถบดำ หรือ แถบรูปตัววี บนลำตัวเมื่อยังมีชีวิตอยู่  ความยาวของขากรรไกรบนยื่นยาวถึงส่วนหน้าของขอบตา กระดูกเหงือกขรุขระและไม่มีซี่กรองเหงือก.............ดูข้อ 2
1b) มีแถบยาวดำ หรือ แถบเหลือง คาดตามยาวเมื่อยังมีชีวิตอยู่  ความยาวของขากรรไกรไม่ถึงส่วนหน้าของขอบตา กระดูกเหงือกมีซี่กรองเหงือกที่มีลักษณะเหมือนเข็มตั้งแต่ 1-2 ก้านไปจนถึงหลายก้านขึ้นอยู่กับชนิดของปลาเป็นหลักด้วย.........................................ดูข้อ 5

2a) แถบดำเอียงจะปรากฏอยู่ส่วนบนของเส้นข้างลำตัวเท่านั้น จะไม่ลากยาวลงมาหรือปรากฏใต้เส้นข้างลำตัว หางมีสีดำ แพนหางส่วนบนและส่วนล่างเป็นสีขาว  เกล็ดเส้นข้างลำตัว น้อยกว่า 90 เกล็ด..............Sphyraena barracuda (Edwards 1771) หรือ Great barracuda. ( ภาพที่3 )
2b) แถบดำ และแถบรูปตัววี (V-shape) อยู่แนวตลอดเส้นข้างลำตัว แถบทั้งหมดที่เกิดขึ้นนอกจากเริ่มต้นที่ส่วนบนของเส้นข้างลำตัวแล้ว ยังข้ามเส้นข้างลำตัวลงมาถึงใต้เส้นข้างลำตัวด้วย หางมีสีดำหรือสีเหลือง แต่ไม่มีแถบขาวบริเวณปลายแพนหางทั้งบนและล่าง จำนวนเกล็ดเส้นข้างลำตัวมากกว่า 120 เกล็ด.........................................ดูข้อ 3
บอกเล่าเก้าสิบ กับ  ปลา.........( Barracuda.)
ภาพที่ 4
3a) แถบเป็นรูปตัววี ก้านครีบก้านสุดท้ายของครีบหลังอันที่สองมีลักษณะยื่นยาวเห็นเด่นชัด ( ปกติปลาในสกุลนี้มีครีบหลังสองอัน อันแรกประกอบด้วยก้านครีบแข็ง 6 ก้านครีบ ครีบหลังอันที่สองนี้จะมีก้านครีบแข็ง 1 ก้านและก้านครีบอ่อนอีก 9 ก้าน)...................Sphyraena putnamae Jordan & Seale 1905 หรือ Sawtooth barracuda  ( ภาพที่4 )
3b) ส่วนบนของเส้นข้างลำตัวเป็นแถบดำ ส่วนใต้เส้นข้างลำตัวลงมาแถบดำมีลักษณะเอียง ก้านครีบก้านสุดท้ายของครีบหลังอันที่สอง ไม่ยื่นยาว...........................ดูข้อ4
บอกเล่าเก้าสิบ กับ  ปลา.........( Barracuda.)
ภาพที่ 5
4a) ลักษณะของหางมีขนาดใหญ่สีเหลือง เกล็ดเส้นข้างลำตัว = 130-140 เกล็ด..........................Sphyraena jello Cuvier 1829 หรือ Pickhandle barracuda (รูปที่ 5 )
ผมจะไม่แปลในส่วนของข้อ 4b ต่อน่ะครับเพราะว่าไม่เกี่ยวข้องกับชนิดที่พบในน่านน้ำไทย.
บอกเล่าเก้าสิบ กับ  ปลา.........( Barracuda.)
ภาพที่ 6
**หมายเหตุ จากข้อ1b**
5b) ไม่มีแต้มดำที่มุมของครีบหู กระดูกเหงือกมีซี่กรองที่เหมือนลักษณะเข็ม 1-2 ซี่.................................ดูข้อ 6
6a) จุดเริ่มต้นของครีบท้อง อยู่ก่อนครีบหลัง หรือ อาจจะบอกได้ว่า ครีบท้องอยู่หน้าครีบหลัง หากลากเส้นแนวตรงลงมา กระดูกเหงือกมีซี่กรองลักษณะเข็ม 2 ก้าน เกล็ดเส้นข้างลำตัวมากกว่า 120 เกล็ด..................................................ดูข้อ 7.
7b) แถบยาวขนานลำตัวไม่มี เมื่อลู่ครีบหูหรือครีบว่ายขนานกับลำตัวจะพบว่าส่วนที่ยาวที่สุดของครีบหู จะอยู่ในตำแหน่งที่เลยก้านครีบหลัง หากลากเส้นจากครีบหลังตั้งฉากลงมา...........................Sphyraena obtusata Cuvier 1829 หรือ Obtuse barracuda  ( ภาพที่ 6 ) 
บอกเล่าเก้าสิบ กับ  ปลา.........( Barracuda.)
ภาพที่ 7
ชนิดสุดท้าย หรือ Obtuse barracuda. ผมจะข้ามข้อ 5a , ข้อ 6b และข้อ 7a ไปน่ะครับเพราะถือว่าไม่เกี่ยวข้องกับชนิดที่พบในน่านน้ำไทยครับผม. หากอ่านแล้วสับสนต้องขอโทษไว้ ณ ที่นี้ด้วยน่ะครับ พยายามจะรวบรวมและแปลให้ออกมาง่ายสุด.   
บอกเล่าเก้าสิบ กับ  ปลา.........( Barracuda.)
ภาพที่ 8
สุดท้ายขอบคุณมากครับที่เข้ามาชมกัน ขาดตกบกพร่องตรงไหนเสริมเติมแต่งได้เลยน่ะครับ ไม่มีอะไรที่สมบูรณ์แบบที่สุดครับ.วันนี้มีเด็กๆเข้ามานั่งดูปลาที่บ้าน คำว่าเด็กก็คือเด็กอยู่วันยังค่ำล่ะครับ นั่งคุยกันสักพัก ปุจฉาจึงเกิดขึ้นว่า " พี่ครับ ผมดูของพี่ ถามว่า พี่ทำไปแล้วได้อะไรครับ? " ผมจึงตอบว่า ชอบ สนุกดี  คำถามที่สองจึงเกิดขึ้นต่อมาว่า " พี่เว็บพี่ตกกันเยอะไม่หมดเหรอครับ." อีกสองคนก็คอยเสริม ผมยอมรับว่าไม่รู้จะตอบยังไง จะบอกว่า ชอบ สนุกดี มันก็กระไรอยู่น่ะครับ? หลายๆท่านก็อาจจะมีเหตุผล หรือ คำตอบที่ตนเองคิดว่าเป็นคำตอบที่ดีที่สุด แต่ที่ทำให้ผมนิ่งคือ เขาเป็นเด็ก เขาชอบตกปลา เขาเข้ามาดู แล้วเขาจะได้อะไรออกไปครับ? 
กรุณา ลงทะเบียน และ login ก่อนส่งความเห็นครับ
siamfishing.com © 2024