มาแนะนำโครงการดีดี เกี่ยวกับปลาน้ำน่านอีกชนิดหนึ่งที่นับวันก็จะหายากขึ้นทุกที
9 ก.ค. 57, 12:46
1
ภาพที่ 1
สวัสดีครับ
วันนี้ มาแนะนำโครงการดีดี เกี่ยวกับปลาน้ำน่านอีกชนิดหนึ่งที่นับวันก็จะหายากขึ้นทุกที นั่นคือ "ปลามัน" หลายคนคงนึกถึงคำว่าข้าวใหม่ ปลามัน ของคู่แต่งงานใหม่ แต่ปลามันจริงๆเป็นอย่างไรใครทราบบ้าง...
เมื่อเอ่ยถึง ปลามัน แล้ว หลายท่านคงจะพยายามจินตนาการว่ารูปร่างของปลามันเป็นอย่างไร เพราะไม่เคยเห็น เคยแต่ได้ยินสำนวนไทยเปรียบเปรยคู่แต่งงานใหม่ว่าอยู่ในช่วง ข้าวใหม่ ปลามัน หรือได้ยินใครบางคนที่พูดว่า หงิม ๆ หยิบชิ้นปลามัน ที่มีความหมายว่าคนเงียบเฉยแต่สามารถทำสิ่งที่คาดไม่ถึงได้ แต่ปลามันที่ผู้เขียนจะกล่าวถึงนั้น เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งที่พบแพร่กระจายในเขตลำห้วยภูเขาสูงในภาคเหนือตอนบน และการที่ผู้เขียนหยิบยกให้จังหวัดน่านเป็นตัวแทนของบทความนี้ เนื่องจากว่าแหล่งน้ำในจังหวัดน่านมีปลาชนิดนี้มากกว่าที่อื่น นักวิชาการส่วนใหญ่ที่ทำการศึกษาเพาะเลี้ยงก็อยู่ที่นี่
ปลามัน เป็นชื่อเรียกที่ชาวบ้านในเขตพื้นที่จังหวัดน่านใช้เรียกปลาชนิดหนึ่งในสกุล Garra มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Garra parvifilum Fowler จัดเป็นปลา 1 ใน 4 ชนิดของปลาในสกุล Garra ที่พบในลำธารบนภูเขา ลำตัวของปลามันมีแถบสีดำคล้ำพาดตามยาวตั้งแต่หัวจรดฐานครีบหาง ส่วนท้องมีสีขาวงาช้าง มีความยาวของคอดหางน้อยกว่าความยาวหัว ปลาชนิดนี้พบเป็นจำนวนมากในลำห้วยซึ่งเป็นสาขาของแม่น้ำน่านเกือบทุกสาขา เช่น ลำน้ำสบยาว น้ำว้า น้ำย่าง น้ำคั๊วะ และน้ำปูด เป็นต้น แหล่งอาศัยของปลามันอยู่ตามลำธารบนภูเขาสูง น้ำใส กระแสน้ำไหลเชี่ยว ความลึกไม่เกิน 1 เมตร อุณหภูมิของน้ำต่ำ อาศัยการทรงตัวโดยใช้ปากดูดติดกับก้อนหินและดูดหาอาหารซึ่งเป็นพวกตะไคร่น้ำ
ปลามัน ของจริง มีขนาดไม่ใหญ่มากนัก แต่แค่2ตัวนี้ ปิ้งไฟร้อนๆกินแบบข้าวบาย(ข้าวปั้นทางเหนือ)ได้เป็นมื้อเลยครับ
เครือข่ายลุ่มน้ำน้ำกอน ชุมชนบ้านพญาแก้ว ศูนย์ กศน.อำเภอเชียงกลาง ได้จัดกิจกรรมอนุรักษ์ปลาธรรมชาติ(ปลามัน) ได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน โดยอาจารย์อมรชัย ล้อทองคำ อาจารย์เชาวรีย์ ใจสุข และนักศึกษาสาขาวิชาประมง ได้ทำโครงการอนุรักษ์ปลามันเพื่อการขยายพันธ์ขึ้นในลุ่มน้ำกอน โดยท่านพระปลัดอินทอง สีลโชโต ได้เป็นแกนนำสำคัญในการดำเนินงานร่วมกันกับอีกหลายๆหน่วยงาน
การเตรียมบ่อพักพันธ์ปลา พร้อมท่ออกซิเจนต่างๆได้รับการสนับสนุนจาก มร.ล้านนา น่าน
เริ่มไปหาปลาพ่อพันธ์แม่พันธ์จากลำน้ำ
จับปลาใส่ถุง เตรียมนำไปผสมพันธ์
ทำการคัดแยก
ตัวผู้จะเล็กกว่าตัวเมียเล็กน้อย
ทำการผสมพันธ์โดยผู้เชี่ยวชาญและฝึกๆกันไปในตัวเพื่อทำต่อไปได้ในอนาคต
จากนั้นนำลงถังพักเพื่ออนุบาลให้มีลูกอ่อนในบ่อพัก
ดูแลกันอย่างดี
และเมื่อทิ้งไว้ตามเวลาอันสมควร ก็พร้อมที่จะปล่อยลงสู่แม่น้ำในวันพรุ่งนี้ วันที่9กรกฎาคม๒๕๕๗ จำนวนประมาณ ๑แสนตัว
การสุ่มตรวจดูความแข็งแรงของปลาที่อนุบาลไว้เป็นระยะๆ
ส่องดูขนาด
วันพรุ่งนี้ เวลา ๙โมงเช้าก็จะมีการนำปลาทั้งหมดไปปล่อยเพื่อขยายพันธ์นล้ำน้ำกอน เพื่อมีปลาธรรมชาติให้ลูกหลานได้จับกินเป็นอาหารจากธรรมชาติกันต่อไปในอนาคตและเป็นการอนุรักษ์พันธ์ปลาหายากอีกชนิดหนึ่งของเมืองไทยไว้ด้วยครับ
ขอบคุณทุกท่านที่ติดตาม
ฟ้าน่าน
๘ ก ค ๕๗
ขอบพระคุณ ท่านพระปลัดอินทอง สีลโชโต เจ้าคณะตำบลพญาแก้ว ที่เอื้อเพื้อข้อมูลและภาพถ่ายครับ
ข้อมูลปลามัน จากเวป
- วารสาร @ll BIOTECH ปีที่ 1 ฉบับที่ 11 เดือนพฤศจิกายน 2546
- http://www.biotec.or.th/biotechnology-th/newsdetail.asp?id=3241
ปลามันตัวเต็มวัยจะมีไข่เต็มท้อง ลักษณะคล้ายปลาไข่หรือปลาชิชะโมะที่หลายท่านรู้จักดี แต่ตัวเล็กกว่า ไข่เป็นแบบครึ่งจมครึ่งลอย ลักษณะกลม มีสีขาวอมเหลือง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.49-0.55 มิลลิเมตร ฟักออกเป็นตัวภายใน 18-19 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิน้ำ 26.528.0 องศาเซลเซียส นอกจากนี้ยังพบว่าเนื้อปลามันมีคุณภาพดี ประกอบด้วยโปรตีน 60 เปอร์เซ็นต์ ไขมัน 11 เปอร์เซ็นต์ และมีไฟเบอร์น้อยเพียง 1 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น
โดยทั่วไปการแยกเพศของปลามันโดยดูจากลักษณะภายนอกทำได้ยาก เพราะปลามันมีขนาดเล็กความยาวเฉลี่ยประมาณ 6-7 เซนติเมตร และติ่งเพศที่บ่งบอกความเป็นเพศผู้หรือเมียมีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก หากยังไม่ถึงฤดูผสมพันธุ์การแยกเพศจากอวัยวะสืบพันธุ์ต้องตรวจสอบโดยกล้องจุลทรรศน์ แต่ในเบื้องต้นพบว่าปลามันเพศผู้จะมีขนาดเล็กกว่าปลามันเพศเมีย
ชาวบ้านบอกว่าที่เรียกว่าปลามัน เป็นเพราะเมื่อนำมาประกอบอาหารโดยเฉพาะการย่างจะมีน้ำมันจากตัวปลาหยดออกมา ปลาชนิดนี้นับวันจะหายากมากขึ้นเนื่องจากชาวบ้านจะจับมาบริโภคในช่วงที่มีไข่ซึ่งถือว่าอร่อยที่สุด เป็นที่นิยมของผู้บริโภค เป็นผลให้เกิดการตัดวงจรการแพร่ขยายพันธุ์ จนนับวันจำนวนปลามันจะลดน้อยลงไป และที่ผ่านมาไม่พบว่าสามารถแพร่ขยายพันธุ์จากการเพาะเลี้ยงได้ แต่จากการสืบค้นข้อมูล เป็นที่น่ายินดีเมื่อพบว่า นักวิชาการจากสถานีประมงน้ำจืดจังหวัดน่าน นำโดยคุณวิวัฒน์ ปรารมภ์ ทำการศึกษาชีววิทยาบางประการของปลามันอันจะนำไปสู่วิธีการเพาะขยายพันธุ์เพื่อประโยชน์ในการอนุรักษ์ และเพาะเลี้ยงให้เป็นปลาเศรษฐกิจของจังหวัดน่านต่อไป และยังได้ขยายผลการศึกษาวิจัยร่วมกับศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดแพร่ นำโดยคุณอนุวัฒน์ อุปนันไชย ดังนั้นในอนาคตอันใกล้นี้เราคงจะมีปลเศรษฐกิจตัวใหม่ซึ่งเป็นแหล่งอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการเพิ่มขึ้นอีกชนิด
รายละเอียดติดตามได้ที่ link ได้เลยคัปเครดิตเจ้าของเวปด้านล่างเลยคัป
http://www.oknation.net/blog/NamnanFanan/2014/07/08/entry-1