ภาพที่ 11
ภาพที่ 21
ภาพที่ 31
ภาพที่ 41
ภาพที่ 51
ภาพที่ 61
ภาพที่ 7 โอย...................นอกเรื่องกันมาเยอะแล้วเข้าสาระเลยดีกว่าครับ
มะเฟือง กับผู้ป่วยไต
มะเฟือง...ผลไม้ที่หลายคนชื่นชอบแต่...จะมีสักกี่คนที่รู้ว่าการกินมะเฟืองมากเกินไปจะมีผลต่อร่างกายจนถึงขั้นทำให้ไตวายเฉียบพลันได้ ทั้งนี้จากข้อมูลของ รศ.นพ.ม.ล.ชาครีย์ กิติยากร ซึ่งเป็นอายุรแพทย์หน่วยโรคไต ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ที่ว่า
ปัจจุบันมีบทความที่เผยแพร่ผ่านสื่อต่าง ๆ ชักชวนให้กินมะเฟืองสด โดยระบุว่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น ลดน้ำตาลในเลือด หรือช่วยรักษาโรคอื่น ๆ ซึ่งอาจทำให้คนที่หลงเชื่อหันมากินมะเฟืองกันมากขึ้น บางคนกินมากเกินไปจนเกิดผลเสียต่อร่างกายได้ เพราะมีรายงานพบผู้ป่วยเกิดภาวะไตวายเฉียบพลันเป็นจำนวนมากหลังการกินมะเฟืองผลสดหรือน้ำมะเฟือง(อาการจะเกิดขึ้นในหลายชั่วโมงถัดมาหลังจากกินเข้าไป)จากภาวะไตเสื่อมหน้าที่ไม่สามารถขับของเสียและน้ำส่วนเกินออกจากร่างกายได้ ผู้ป่วยจะมีอาการปัสสาวะออกน้อยลง ร่างกายบวมน้ำ ความดันโลหิตสูงขึ้น อ่อนเพลีย เกิดภาวะน้ำท่วมปอด บางรายมีอาการสะอึก ต้องรักษาด้วยการฟอกเลือดล้างไต โดยพบว่าถ้าเป็นผู้ป่วยที่เดิมมีไตปกติอยู่ก่อนไตจะสามารถกลับมาทำงานเป็นปกติได้ อาจต้องใช้เวลาประมาณ 3 - 4 สัปดาห์ แต่ถ้าเป็นผู้ป่วยที่มีปัญหาโรคไตอยู่ก่อนแล้วการทำงานของไตอาจดีขึ้นบ้างแต่จะไม่เท่าเดิมซึ่งอาจต้องได้รับการฟอกไตตลอดไป
จากผลการศึกษาปัจจัยการเกิดโรคพบว่า มะเฟืองมีสารออกซาเลตสูงมากซึ่งสารนี้สามารถละลายและถูกดูดซึมในร่างกายได้อย่างอิสระ และจะถูกขับออกทางไต สาเหตุที่ทำให้ไตวายเฉียบพลันนั้น เพราะออกซาเลตไปจับตัวกับแคลเซียมในร่างกายกลายเป็นผลึกออกซาเลต เมื่อผลึกนี้ตกตะกอนจำนวนมากในเนื้อไตจึงเกิดการอุดตันขึ้น ทำให้ไตสูญเสียการทำงานหรือไตวายในที่สุด นอกจากนี้ยังอาจเป็นพิษต่อระบบประสาทจากการที่มีผลึกออกซาเลตไปเกาะสมองทำให้สมองบวม ผู้ป่วยอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน สะอึก ตามด้วยภาวะซึมหรือชักได้ โดยมีรายงานพบผู้ป่วยเสียชีวิตจากการกินมะเฟืองแล้ว
การเกิดพิษจากการกินมะเฟืองนั้นไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคนแต่ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น
Ø สภาพร่างกายของผู้ที่กิน ถ้าเป็นผู้ป่วยโรคไตอยู่แล้วอาจเกิดภาวะไตวายเฉียบพลันได้แม้จะกินมะเฟืองไปเพียงเล็กน้อยก็ตาม
Ø ปริมาณและชนิดของมะเฟืองที่กิน จากการศึกษาพบว่ามะเฟืองเปรี้ยวมีโอกาสเกิดโรคมากกว่ามะเฟืองหวานเพราะมีปริมาณกรดออกซาลิคมากกว่า การกินผลสดหรือคั้นน้ำจะมีโอกาสเกิดโรคมากกว่าการกินมะเฟืองที่ผ่านการดอง แปรรูป หรือเจือจางในน้ำเชื่อม
Ø ภาวะพร่องหรือขาดน้ำของผู้กิน พบว่าการดื่มน้ำมะเฟืองหลังจากการทำงานหนักหรือสูญเสียเหงื่อมากจะยิ่งมีโอกาสเกิดโรคมากขึ้น เนื่องจากผลึกแคลเซียมออกซาเลตจะอิ่มตัวและตกผลึกในเนื้อไตได้ง่ายขึ้น
ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานทางการแพทย์ที่ระบุชัดเจนถึงประโยชน์ของมะเฟือง ดังนั้น การเลือกกินจึงควรระมัดระวัง อย่ากินมากเกินกว่าที่ร่างกายจะทำลายพิษได้ ผู้ที่มีนิ่วในไต ไตเสื่อมหรือผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคไตไม่ควรกินมะเฟืองโดยเด็ดขาด
เครดิต
ด้วยความปรารถนาดีจาก....กลุ่มงานสุขศึกษา โรงพยาบาลลำปาง
E - mail address Health.edlph@gmail.com