ภาพที่ 1ยืมรูปจากน้า login kittipong.sopit
ปลาตะกรับ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปลาตะกรับ
ปลาตะกรับ
ปลาตะกรับหน้าแดง
สถานะการอนุรักษ์
ความเสี่ยงต่ำ (IUCN 3.1)[1]
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Perciformes
วงศ์: Scatophagidae
สกุล: Scatophagus
ชนิด: S. argus
ชื่อทวินาม
Scatophagus argus
(Linnaeus, 1766)
ชนิดย่อย
S. a. var. rubifrons
(อย่างไม่เป็นทางการ)[2]
ชื่อพ้อง
Cacodoxus argus
Chaetodon argus
Chaetodon atromaculatus
Ephippus argus
Scatophagus argus argus
Scatophagus argus atromaculatus
ปลาตะกรับ (อังกฤษ: Spotted scat, Green scat; ชื่อวิทยาศาสตร์: Scatophagus argus) ปลาน้ำเค็มชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะกรับ (Scatophagidae) มีรูปร่างสั้น แบนข้างและกว้างมาก หัวทู่ ปากเล็ก หางมน เกล็ดเล็ก เป็นแบบสาก สีพื้นลำตัวมีสีแตกต่างกันมากอาจเป็นสีเขียว, สีเทาหรือสีน้ำตาล ครึ่งบนของลำตัวสีเข้มกว่าและมีแถบสีเทาเข้มหรือดำพาดขวางหลายแนวและแตกเป็นจุดที่ด้านล่างหรือเป็นแต้มเป็นจุดทั่วตัวดูล้ายเสือดาว ครีบต่าง ๆ มีสีเหลืองอ่อนอมเทา
ปลาตัวผู้จะมีหน้าผากโหนกนูนกว่าตัวเมียแต่ขนาดลำตัวจะเล็กกว่าเล็กน้อย เส้นก้านครีบหลังชิ้นที่ 4 จะยาวที่สุด ขณะที่ตัวเมียเส้นก้านครีบหลังเส้นที่ 3 จะยาวที่สุด บริเวณส่วนหัวของตัวเมียบางตัวจะเป็นสีแดง โดยลักษณะดังกล่าวจะเห็นได้ชัดเจนเมื่อปลามีความยาวมากกว่า 4 นิ้วขึ้นไป
ขนาดเมื่อโตเต็มที่ยาวได้ถึง 38 เซนติเมตร
ปลาตะกรับเป็นปลาทะเลที่สามารถปรับตัวให้อาศัยอยู่ในน้ำกร่อยหรือน้ำจืดสนิทได้ โดยปกติจะอาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเลใกล้ปากแม่น้ำหรือป่าชายเลน มีการกระจายพันธุ์กว้างขวางตั้งแต่ตะวันออกกลาง, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, เอเชียตะวันออกไปจนถึงโซนโอเชียเนีย
สำหรับปลาในบางพื้นที่มีความหลากหลายทางสีมาก เช่น ปลาบางกลุ่มจะมีลายพาดสีดำเห็นชัดเจนตั้งแต่ส่วนหัว และลำตัวมีสีแดงเข้มจนเห็นได้ชัด ถูกจัดให้เป็นชนิดย่อยที่มีชื่อเรียกว่า "ปลาตะกรับหน้าแดง" (S. a. var. rubifrons)
เป็นปลาที่อาศัยอยู่เป็นกลุ่ม กินอาหารได้ทั้งพืชน้ำและสัตว์น้ำขนาดเล็ก นิยมตกเป็นเกมกีฬาและใช้รับประทานเป็นอาหารเป็นที่นิยมอย่างมากโดยเฉพาะในภาคใต้ จะนำไปปรุงเป็นแกงส้ม นอกจากนี้ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาตู้สวยงามอีกด้วย โดยในที่เลี้ยง ปลาตะกรับเป็นปลาที่สามารถทำความสะอาดตู้ได้เป็นอย่างดี เพราะสามารถกินตะไคร่น้ำและสาหร่ายบางชนิดได้ แต่เป็นปลาที่มีนิสัยก้าวร้าวพอสมควร ปัจจุบันกรมประมงสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วด้วยวิธีการผสมเทียม โดยฤดูผสมพันธุ์มีตั้งแต่เดือนสิงหาคม-พฤษภาคม ของอีกปีหนึ่ง
ชื่ออื่น ๆ เรียกว่า "กระทะ" หรือ "แปบลาย" ในภาษาใต้เรียกว่า "ขี้ตัง" และชื่อในแวดวงปลาสวยงามจะเรียกว่า "เสือดาว" ตามลักษณะลวดลายบนลำตัว
วิธีตกของผมคือ
ใช้เบ็ดตัวเล็กๆ เกี่ยวด้วยเนื้อกุ้งหั่น คล้ายกับการตกปลาเห็ดโคนตามวังกุ้ง
ส่วนที่มักจะพบตัวคือ
ตามต่อม้อสะพานที่เป็นน้ำกร่อย หรือประตูน้ำหน้าวังกุ้งครับ
หวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่สมาชิกนะครับ