ภาพที่ 1 ผู้คนในลุ่มน้ำโขงที่เกี่ยวข้องกับปลาบึก มีความเชื่อเกี่ยวกับปลาบึกแบ่งออกเป็น 2 ประการคือ ความเชื่อในเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ และความเชื่อเกี่ยวกับตัวปลาบึก
ความเชื่อในเรื่องความศักดิ์สิทธิ์นั้น ชาวจีนเชื่อว่าปลาบึกเป็นปลาที่เกิดขึ้นจากเสกกุนเชียงของขงเบ้งโดยมีเรื่องราวว่า กาลครั้งหนึ่งขงเบ้งได้ยกทัพมาพักที่ริมฝั่งแม่น้ำโขง ทหารไม่มีอาหารจะรับประทานอดอยากมาก ขงเบ้งจึงนำกุนเชียงมาเสกเป่าแล้วโยนบงไปในแม่น้ำโขง กลายเป็นปลาตัวใหญ่ให้ทหารจับทำอาหารรับประทานอย่างอิ่มหนำสำราญ ชาวจีนเรียกชื่อปลานี้ว่า ปลาขงเบ้ง ส่วนชาวบ้านหาดไคร้เชื่อว่าปลาบึกเป็นปลาเจ้า ที่เจ้าโพ้ง เจ้าลวง คอยคุ้มครองปลาบึกอยู่ เช่นเดียวกับชาวอีสานเชื่อว่าปลาบึกเป็นปลาเจ้า มีเจ้าน้ำเจ้าอ่าง คอยให้ความคุ้มครอง จะจับปลาบึกต้องประกอบพิธีกรรมค้อนวอนขอจากเจ้าเสียก่อน มิเช่นนั้นจะทำให้จับปลาบึกไม่ได้
ส่วนความเชื่อเกี่ยวกับตัวปลาบึกนั้น ชาวจีนเชื่อว่าใครดีรับประทานเนื้อปลาบึกจะฉลาดเหมือนขงเบ้ง ชาวบ้านหาดไคร้ ชาวลาว และชาวอีสาน เชื่อว่าใครได้รับประมานเนื้อปลาบึกจะมีบุญวาสนาและโชคลาภ เนื้อปลาบึกจะแตกต่างกับเนื้อปลาอื่นๆ มีสีเหลืองคล้ายสีทอง เมื่อชำแหละแล้วโยนเนื้อปลาลงบนพื้นทรายเม็ดทรายจะไม่ติด เนื้อปลาจะแน่น กลิ่นคาวมีน้อย อร่อยกว่าปลาชนิดอื่น ๆ