ปล่อยเต่าในวัด คือทำบุญหรือทำบาป คำถามที่มีคำตอบจาก Professor เกี่ยวกับสัตว์น้ำและเต่าของ รศ.สพ. . ดร.นันทริกา ชันซื่อ (หมอหนิ่ง) รองผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโรคสัตว์ป่า ผู้ก่อตั้งชมรมรักษ์เต่า
วันพระ วันออกพรรษา วันมงคลต่างๆ ทุกคนต่างมุ่งหน้าเข้าหาวัด เพื่อปล่อยนำปล่อยปลา เพราะเชื่อว่าเป็นการทำบุ ปล่อยอิสรภาพให้สัตว์เหล่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้วการกระทำดังกล่าว กลับเป็นตรงข้าม เพราะแท้ที่จริงแล้ว วัดคือนรก ' ของสัตว์เหล่านี้ เพราะเต่า นก และปลา ถูกใช้เป็นสินค้าเพื่อการทำบุญ
หมอหนิ่งได้คลุกคลีในแวดวงสัตว์น้ำ หาและต้องการสะท้อนไปสู่สังคมให้รู้จักทำบุญอย่างถูกวิธี เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องจึงเกิด โครงการช่วยเต่าจากวัด โดยเริ่มต้นจากวัดบวรฯ "' หน้าที่ของดิฉันคือช่วยสัตว์จรจัดที่ไม่มีใครเหลียวแลอย่างเข่น เต่า ซึ่งดิฉันทำอยู่กับคุณขจร จิระวนนท์ Rescue เต่าวัด เพราะวัดเป็นนรกของสัตว์ เริ่มแรกพระโทร.มาบอกว่าเต่าตายเห็นสภาพเต่ามีปลิงเกาะ ไม่มีที่ตากแดดให้ปลิงออก เจาะเลือดออกมาจึงรู้ว่าเพราะสารเคมีในน้ำคลองที่วัดทำให้เต่าตาย เพราะฉะนั้นใครเอาสัตว์ปล่อยวัดคิดให้ดีว่าทำบุ หรือทำบาป หมอหนิ่งเล่าถึงภารกิจในการช่วยชีวิตเต่า"
ภารกิจของหมอหนิ่งในการช่วยชีวิตเต่าในวัด เริ่มจากเต่า 500 ตัวในวัดบวรฯ ซึ่งเป็นวัดใหญ่ที่ได้รับความร่วมมือจากเจ้าอาวาสอย่างดี แต่การเดินทางไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ ปัญหาเรื่องทุนทรัพย์ เครื่องมือ บุคลากร ตลอดจนความเข้าใจของแต่ละฝ่าย ทำให้การทำงานเพื่อช่วยเต่าไม่สามารถเดินไปไกลเท่าที่ควร แต่หมอหนิ่งก็เลือกที่จะเดินหน้าต่อไปเพื่อช่วยเหลือเต่า สัตว์ที่อยู่นอกเหนือความรับผิดชอบขององค์กรใดๆ
หมอหนิ่งบอกว่า "ก่อนจะเลี้ยงสัตว์อะไรเราต้องศึกษาให้รู้ว่าเขากินอย่างไร และอยู่อย่างไร ถึงจะไปซื้อมาเลี้ยง และสัตว์ที่มาจากแหล่งค้าส่วนใหญ่จะมีโรคเยอะมักจะไม่รอด หลังจากซื้อมาแล้วควรนำไปให้สัตวแพทย์ตรวจก่อน "
การนำเต่าจากวัดมารักษาภารกิจที่ทำด้วยหัวใจของหมอหนิ่ง เมื่อรักษาเต่าจนหายดีจะต้องมีบ้านให้เต่าอยู่ออกสู่อิสรภาพ โดยล็อทแรกได้ปล่อยที่คลอง 14 ภารกิจหน้าที่ทั้งหมดได้เงินช่วยเหลือจากโครงการ ซึ่งหมอหนิ่งบอกว่า เงินเกินบัญชีเยอะ และควักเงินส่วนตัวตลอด ในขณะนี้การเดินทางเพื่อช่วยเหลือเต่าจรจัดต้องประสบปัญหามากมาย โดยเฉพาะปัญหาด้านทุนทรัพย์ในการนำมาต่อยอดเพื่อช่วยต่อไป ข้อมูลเพิ่มเติมจากรายการจุดเปลี่ยน ตอน 2 ออกอากาศวันที่ 17 มี.ค. 2550 ที่ทีมงานสัมภาษณ์ รศ.สพ. ... ดร.นันทริกา ชันซื่อ (หมอหนิ่ง) สรุปมาได้ว่า
ในการปล่อยเต่านั้น
1 ท่านต้องรู้ว่าเต่าที่ท่านจะปล่อยนั้นคือ เต่าบกหรือเต่าน้ำ เพราะเต่าไม่ใช่สัตว์น้ำแต่เต่าเป็นสัตว์เลื้อยคลาน
เต่าบก ที่เท้าจะคล้ายๆเท้าช้าง ขายาว กระดองรูปร่างนูนขึ้นมากกว่าเต่าน้ำ
เต่าน้ำ เท้าจะแบน ขาสั้น เอาไว้ไหว้น้ำ
ถ้าปล่อยเต่าบกลงน้ำเต่าจะจมน้ำตายได้ เพราะเต่าหายใจด้วยปอดเหมือนมนุษย์
2 สถานที่ปล่อย จะต้องเป็นบริเวณที่มีตลิ่ง เพื่อให้เต่าขึ้นมาพักผึ่งแดดได้ และน้ำไม่ไหลเชี่ยวจนเกินไป
2.1 เต่าต้องการพักหายใจ และพักเหนื่อย เพราะเต่าเป็นสัตว์เลื้อยคลาน ไม่ใช้สัตว์น้ำ( โรงเรียนเราสอนผิดมาโดยตลอด ) จึงว่ายน้ำตลอดเวลาเหมือนปลาไม่ได้
2.2 เต่าต้องการผึ่งแดด เพื่อให้ปลิงที่ติดอยู่ตามตัวหลุดออก มิฉะนั้นเต่าอาจป่วยได้ และเต่าต้องอาศัยแสงแดดในการสร้างวิตามินที่จำเป็นสำหรับร่างกาย
ดังนั้นการปล่อยเต่าน้ำลงในบริเวณที่ๆไม่มีตลิ่งให้เต่าขึ้นมาผึ่งแดด เช่น ตามคลองประปา , บ่อน้ำในวัดที่มีการก่อคอนกรีดเป็นบล็อกสูงๆ ( บ่อในวัดบวรฯ ที่หมอหนิ่งไปช่วยมา ) คือการทำร้ายเต่าอย่างทารุณโหดร้ายมากๆ
แม้ว่าบางวัด หรือบางสถานที่จะมีการต่อแพ ให้เต่าขึ้นมาผึ่งแดดได้แต่นั่นไม่ใช่สถานที่อยู่ตามสภาพธรรมชาติที่แท้จริงของเต่า เปรียบเหมือนเราถูกจับไปขังคุก เขามีข้าวให้กินมี ที่ให้นอน แล้วเราชอบหรือไม่ ถ้าเราไม่ชอบเต่าก็เช่นเดียวกับเรา
3 สภาพน้ำบริเวณที่จะปล่อย ต้อง ไม่สกปรก ถ่ายเทยาก และแออัด เช่น บ่อน้ำในวัดบวรฯ กทม. มีเต่าหลายตัวที่หมอหนิ่ง และเพื่อนชมรมรักษ์เต่า ได้ช่วยชีวิตขึ้นมาจากในวัดบวรฯ สถานที่ทำบุญ ของเรานี่แหละ หลายตัวติดเชื้ออย่างรุนแรง กระดองแตก กระดองเปื่อยยุ่ยจนลึกเข้าไปถึงกระดูกเต่าชั้นใน (กระดองเป็นกระดูกเต่าชั้นนอก) หลายตัวมีเลือดจางมากต้องให้วิตามีนเพื่อการบำบัดฟื้นฟู บางตัวอาการโคม่าต้องให้น้ำเกลือกันเลย หลายตัวสุขภาพอ่อนแอเพราะ มีปลิงเกาะอยู่ตามร่างกายเป็นจำนวนมากสมาชิกชมรมรักษ์เต่า ต้องช่วยกันนำไปแช่น้ำเกลือ แล้งใช้ผ้าเช็ดออก
เต่าทุกตัวที่ชมรมรักษ์เต่า ช่วยมาได้นั้น จะนำไปบำบัดฟื้นฟูอีกที่ในสถานอนุบาลสัตว์น้ำที่ ศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมี รศ.สพ. . ดร.นันทริกา ชันซื่อ (หมอหนิ่ง)เป็นผู้ดูแลอย่างใกล้ชิด เมื่อเต่าหายดีแล้วจะมีการนำไปปล่อยยังที่ๆเหมาะสมชนิดของเต่า เพราะเต่ามีแยกออกไปมากมายหลายชนิด เช่น เต่านาต้องการอาศัยในที่ชื้นแฉะแบบในนาข้าวเป็นต้น ดังนั้นถ้าคิดจะปล่อยเต่าต้องแน่ใจว่าเราปล่อยเต่าในสภาพที่เหมาะกับเค้าหรือไม่
โครงการคืนชีวิตเต่าสู่ธรรมชาติ วันที่ 8 ก.พ. 2550 ณ วัดบวรนิเวศวิหาร โครงการช่วยเต่าในวัดบวรฯ จากที่รายการไปถ่ายทำมา เห็นว่าทำกันมา 4 ปีแล้ว
หากผู้มีจิตศรัทธาท่านใดอยากเข้ามามีส่วนช่วยทำบุญในครั้งนี้สามารถติดต่อได้ที่ ชมรมรักษ์เต่า 02-699-3110-1
ศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนี่เอง ถ้าใครไปไม่ถูกลองนึกภาพสยามสแควร์ ตรงถนนอังรีดูนังต์ ฝั่งเดียวกับแคนตันสุกี้ ถ้าขับรถมาจากถนนพระราม 4 เมื่อเลี้ยวเข้า ถนนอังรีดูนังต์แล้วก็ตรงมาเรื่อยๆ จนถึง โรงเรียนเตรียมอุดม สังเกตสะพานลอยคนข้ามถนนครับ ทางเข้าคณะจะอยู่ระหว่างโรงเรียนเตรียมอุดมกับทางเข้าสยามสแควร์ มองด้านซ้ายมือให้ดีนะครับจะได้ไม่หลงทาง
อ้างอิง :: http://www.oknation.net/blog/manokrama/2007/03/29/entry-1
---------------------------------------------------------
ไม่ใช่แค่เต่านะคะเพื่อนๆ ปลาเองก็เหมือนกัน ปลาบางชนิดไม่สามารถจะอยู่กับห้วย หนอง คลอง บึง ได้ ปล่อยไป พวกเขาก็ตายเปล่า มีหลายคนเหมือนกันที่ชอบชวนเราไปปล่อยปลา ปล่อยนก ปล่อยเต่า อย่างนกก็รู้ๆกันนะ ว่าเดี๋ยวเขาก็จับมันมาขายใหม่ เป็นธุรกิจกันไป นกก็แสนจะอ่อนล้า เราเคยคิดนะว่าถ้าจะซื้อสัตว์เหล่านี้ปล่อยเราว่าซื้อปลาที่มันนอนดิ้นกะแด่วๆ ตามท้องตลาดมาปล่อยจะดีกว่าไหม??
-------------------------------------------------
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปล่อยเต่าและปลาบางชนิด
http://larndham.net/index.php?showtopic=15214&st=42
เต่านา (เต่าสามสัน) สัตว์เลื้อยคลาน
มีขนาดเล็ก กระดองสีน้ำตาลอ่อน หัวดำมีลายสีขาวเป็นเส้นใหญ่ มีลายสีขาวที่แก้ม ลายเส้นขาวใหญ่นี้เป็นจุดเด่นของเต่าชนิดนี้ และขามีสีเทาดำ
เป็นเต่าที่ไม่ชอบกินพืชผัก แต่ชอบกินหอย ปู กุ้ง แมลงต่างๆ และปลาเล็กๆ
เป็นเต่าขี้ตื่นกลัว ไม่ชอบคน ถ้าเห็นคนจะหยุดนิ่งไม่กระดุกกระดิก หดหัวอยู่ในกระดอง
มักพบอาศัยอยู่ตามท้องนา และแม่น้ำลำคลองที่มีโคลนตม หรืออยู่ตามห้วยหนองบึงทั่วไป ลำบากแน่! หากเขาอยู่ในที่ที่มีน้ำลึก ตลิ่งสูง
เต่าหับ สัตว์เลื้อยคลาน
เป็นเต่าที่กระดองล่างแบ่งกลางออกเป็นสองส่วน ปิดได้ทั้งด้านหน้าและหลัง เป็นเต่าชนิดเดียวที่เก็บหัวหาง แขนขา ไว้ในกระดองได้หมด เมื่อมองจากด้านท้องจะไม่เห็นส่วนอื่นใดยื่นออกมา พบมากแถวภาคกลางและภาคใต้
เต่าหับกินพืช ผัก ผลไม้ ปลา หอย ปู กุ้ง
ชอบอาศัยอยู่บนบกมากกว่าอยู่ในน้ำ ชอบหมกตัวอยู่ตามกอหญ้า
ผสมพันธุ์ในน้ำ แต่วางไข่บนบก ปีหนึ่งวางไข่หลายครั้ง ทว่าวางไข่ครั้งละ 2-3 ฟองเท่านั้น เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535
เต่าดำ (เต่าแก้มขาว) สัตว์เลื้อยคลาน
เป็นเต่าขนาดเล็ก ตัวแบน กระดองดำ หัว หาง และขาดำ มีแต้มขาวเหนือตา แก้ม และตามใบหน้าอีกหลายแห่ง
ชอบกินกินหอย กุ้ง ผัก และเมล็ดพืชเป็นอาหาร
ชอบกบดานหรือหากินตามพื้นดินโคลนใต้น้ำ นาน ๆ จึงโผล่ขึ้นมาสักครั้ง
ดังนั้นเวลาพบจึงเห็นตัวสกปรกเลอะโคลนอยู่เสมอ
จะขึ้นบกเวลากลางคืน เพื่อต้องการหาทำเลวางไข่ หรือผสมพันธุ์ หรือย้ายที่ทำมาหากิน ส่วนกลางวันมักหมกตัวอยู่ในที่รก ชื้นแฉะ หรือตามโคลนใต้พื้นน้ำ เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535