สยามฟิชชิ่ง
หน้าแรก|กระดาน|รีวิว|ประมูล|ตลาด|เปิดท้าย
login | สมัครสมาชิก | วิธีสมัครสมาชิก | ลืมชื่อ/รหัส | login ไม่ได้? | 19 เม.ย. 67
บอกเล่าเก้าสิบ กับ เรื่องราวของChinese paddlefish. : Fishing Article
 ห้องบทความ/เทคนิค > บทความตกปลา
ความเห็น: 33 - [24 เม.ย. 54, 11:38] ดู: 23,865 - [18 เม.ย. 67, 13:03] โหวต: 10
บอกเล่าเก้าสิบ กับ เรื่องราวของChinese paddlefish.
จิรชัย (323 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้) offline
10 มี.ค. 52, 01:17
1
บอกเล่าเก้าสิบ กับ เรื่องราวของChinese paddlefish.
ภาพที่ 1
บทความนี้ผมคัดลอกมาจากบทความ " NOTES ON THE CHINESE PADDLEFISH, PSEPHURUS GLADIUS (MARTENS) " ตีพิมพ์ใน Copeia. ปี ค.ศ.1988.

ที่หยิบยกบทความนี้ขึ้นมา เพราะสนใจในกระทู้ของน้า เจ้าชายกบ ในกระทู้ " 11 ปลาน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในโลก." หนึ่งในนั้น คือ ปลาฉลามปากเป็ดจีน ต้องยอมรับว่า ปลาชนิดนี้สร้างแรงดึงดูดให้กับวงการปลามากทีเดียว อาจจะเป็นเพราะว่ารายละเอียดของปลาชนิดนี้ถูกตีพิมพ์ในวารสารที่เป็นภาษาจีน นอกจากนั้นข้อมูลส่วนใหญ่ถูกเขียนขึ้นเมื่อหลายสิบปีมาแล้ว.หรืออาจจะเป็นเพราะว่าวงศ์ปลาชนิดนี้มีเพียง 2 ชนิด แต่กลับอาศัยห่างกันคนละซีกโลก.
บอกเล่าเก้าสิบ กับ เรื่องราวของChinese paddlefish.
ภาพที่ 2
ผมจึงขออนุญาตถอดคำแปลจากบทความนี้ หากขาดตกบกพร่อง หรือ ควรจะใช้คำที่เหมาะสมอย่างไร โพสท์บอกได้เลยน่ะครับ.

วงศ์ปลา Polyodontidae. มีสมาชิกในวงศ์นี้ 2 ชนิดคือ.
1) Polyodon spathula (Walbaum 1792). หรือ อเมริกัน แพดเดิ้ลฟิช ปลาชนิดนี้มีรายงานการกระจายในลุ่มแม่น้ำมิสซิสซิปปี้ ประเทศอเมริกา.ผู้เขียนได้กล่าวถึงรายงานและการบรรยายที่ถูกตีพิมพ์เผยแพร่ในวงกว้าง.
2) Psephurus gladius (Martens 1862). หรือ ปลา ไชนีส แพดเดิ้ลฟิช. รายงานการบรรยายถูกเขียนจะถูกบรรยายโดยผู้เขียนอาวุโสอย่าง อาจารย์ Liu ( Liu,1979) รวมถึงบทความที่ผมหยิบยกมาก็เป็นการบรรยายในส่วนชีววิทยาของปลาชนิดนี้.

Psephurus gladius (Martens 1862). ถูกบรรยายครั้งแรกโดยท่านอาจารย์Martenในปี ค.ศ.1862 ภายใต้ชื่อ Polyodon gladius. ต่อมาท่านอาจารย์กุนเธอร์ได้เปลี่ยนชื่อสกุลเป็น  Psephurus. ในปี ค.ศ. 1873. ปลาชนิดนี้ถูกบรรยายถึงแหล่งที่พบใน แม่น้ำ , ทะเลสาป และ สาขา ของแม่น้ำแยงซี และตัวโตเต็มวัยมักจะอพยพลงสู่ทะเล บ่อยครั้งที่ปลาชนิดนี้ถูกพบในทะเลเหลือง (เป็นทะเลที่อยู่กลางระหว่างจีนแผ่นดินใหญ่กับคาบสมุทรเกาหลี) ซึ่งอยู่ทางตะวันออกของประเทศจีน. หากจะกล่าวว่ามีการพบเห็นบางตัวได้โดยบังเอิญโดยการเดินทางเนื่องจากกระแสน้ำในฤดูใบไม้ผลิ ปลาชนิดนี้เป็นปลาที่อยู่ตัวเดียว แต่ในช่วงฤดูผสมพันธุ์ กลับพบเห็นตัวเต็มวัยขนาดต่าๆมารวมตัวกันในแหล่งน้ำตื้น.
บอกเล่าเก้าสิบ กับ เรื่องราวของChinese paddlefish.
ภาพที่ 3
ปลาฉลามปากเป็ดจีน เป็นปลากินปลา ซึ่งต่างจากปลาฉลามปากเป็ดอเมริกันที่กินแพลงค์ตอนเป็นอาหาร การล่าจะอยู่ในระดับความลึกจากกลางน้ำลงไป ขากรรไกรของปลาชนิดนี้สามารถยื่นออกมาได้ในขณะที่ขากรรไกรปลาฉลามปากเป็ดของอเมริกาไม่สามาถยื่นยาวออกไปคว้าเหยื่อได้นั่นเอง.
ชื่อเสียงของไข่ปลาเป็นสิ่งที่ดึงดูดความสนใจในการทำการประมง ปัจจุบันการหาปลาชนิดนี้เริ่มจะลดลง เพราะฉะนั้นปลาในระดับร้อยโลต่อตัวเหมือนในอดีตเป็นเรื่องที่ยากมาก ในรายงานถูกระบุว่าปลาชนิดนี้มีความยาวได้ถึง 7 เมตร  การลดลงในปริมาณที่น่าเป็นห่วงทำให้รัฐบาลจีนได้เข้ามาดูแลปลาชิดนี้อย่างใกล้ชิด
บอกเล่าเก้าสิบ กับ เรื่องราวของChinese paddlefish.
ภาพที่ 4
ช่วงฤดูผสมพันธุ์จะเกิดขึ้นประมาณกลางเดือนมีนาคมไปจนถึงต้นๆเมษายน เราจะพบปลาที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 25 กิโลกรัมขึ้นไป มารวมตัวกันบริเวณพื้นที่กลางแม่น้ำที่มีท้องน้ำเป็นดินโคลนหรือทราย จากคำบรรยายของผู้เขียนอาวุโสท่านยังอธิบายถึงความเร็วของกระแสน้ำ 0.72-0.94 m/s ปริมาณอ็อกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำ 8-10 mg/l ค่าpH อยู่ที่ 8.2 อุณหภูมิประมาณ 18.3-20.0 C ช่วงที่ตัวผู้ปล่อยน้ำเชื้อน้ำบริเวณนั้นจะขุ่นราวกับสีน้ำนม ในขณะที่ตัวเมียสามารถผลิตไข่ได้ถึง 100,000 ฟอง มีเส้นผ่าศูนย์กลางราวๆ 2.7 mm. มีสีเทาอมน้ำตาล.

ผู้เขียนได้บันทึกถึงรายละเอียดต่างๆเช่น ช่วงตัวอ่อนจะอาศัยเลี้ยงตัวบริเวณต้นน้ำของเมืองชนบท Luzhou. และจะถูกระแสน้ำพัดพามาปลายลำธาร ในขณะที่เด็กๆและตัวเต็มวัยจะกระจายอยู่ตอนบน ตอนกล่าง และตอนล่างของแม่น้ำแยงซี ในช่วงปีแรกผู้เขียนบันทึกว่า จากการเก็บตัวอย่าง ประมาณฤดูหนาว ลูกปลาสามารถมีน้ำหนักได้ตั้งแต่ 1-1.5 กิโลกรัม.
บอกเล่าเก้าสิบ กับ เรื่องราวของChinese paddlefish.
ภาพที่ 5
รายละเอียดดูค่อนข้างจะกว้างแต่อย่างน้อยผมคิดว่ามีค่ามากทีเดียวน่ะครับ.

สุดท้ายขอขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาชมกระทู้นี้ครับ. กระทู้ต่อไปคิดว่าน่าสนใจทีเดียวน่ะครับกับ แอฟริกันไทเกอร์ ซึ่งถูกนำไปเปรียบเทียบจนมีคำพูดที่ว่า ในอเมซอนมีปิรันย่า แอฟริกามี แอฟริกันไทเกอร์.                                   
กรุณา ลงทะเบียน และ login ก่อนส่งความเห็นครับ
siamfishing.com © 2024