บอกเล่าเก้าสิบ กับ กลุ่มปลาสวายจ้า.
ภาพที่ 1ก่อนอื่นขอสวัสดีน้าๆชาวสยามฟิชชิ่งทุกท่าน จากที่เคยทิ้งท้ายเอาไว้ว่าจะนำบทความเกี่ยวกับวงศ์ปลาสวายที่ถูกเรียบเรียงและเขียนบรรยายโดยอาจารย์ท่านต่างๆ วันนี้ผมจึงขอนำเสนอวิธีการดูปลาในวงศ์นี้แบบกว้างๆมาให้ชมกัน.ที่กล่าวว่าแบบกว้างๆนั้นเพราะการศึกษาของนักอนุกรมวิธานทุกท่านมีความละเอียด ในขณะที่มุมมองของนักตกปลาอาจจะมีวิธีการดูปลาในกลุ่มนี้คนละแบบ จึงเกิดทั้งคำถามและสมมติฐานขึ้นมาว่า " เป็นไปได้มั๊ยที่นักตกปลาอย่างเรา สามารถเข้าใจถึงวิธีการต่างๆของนักวิชาการ บวกกับประสบการณ์ในการตกปลาที่ผ่านมา นำมาประยุกต์ใช้เพื่อบรรยายชนิดของปลาที่ตกได้ เก็บไว้เป็นคู่มือสำหรับนักตกปลาต่อๆไป." สำหรับนักวิชาการที่เก่งๆหลายท่านส่วนใหญ่ที่ทราบ ท่านเหล่านี้นอกจากจะศึกษารายละเอียดในทางวิชาการแล้ว ท่านเหล่านี้อาจจะยังมีการเก็บตัวอย่างทั้งตัวอย่างที่ดองหรือตัวอย่างที่มีชีวิตหรือแม้แต่รูปถ่ายภาพที่มีสะสมไว้ในมือเป็นจำนวนมาก.
การจำแนกกลุ่มปลาสวาย หรือ พัง-กา-ซี-อาย-เด้ จากข้อมูลในวิกีพีเดีย ผมจะขอจำแนกปลาออกเป็นโซนต่างๆ โดยใช้หลักการกระจาย (Distribution.) เช่น
1) ที่พบได้ในโซนอินโดจีน และ ไทย.
2) ที่พบได้ในโซนซุนดาแลนด์ คาบสมุทรมาเลฦ์ อินโดนีเซีย.
3) ที่พบได้ในเอเชียใต้ เช่น อินเดีย เป็นต้น.
เพื่อความสะดวกในการค้นหาความเป็นไปได้ในชนิดของปลา.
1) กลุ่มปลาสวายที่พบได้ในอินโดจีน และไทย.
1.1)สกุล Helicophagus.
ปลาสวายหนู Helicophagus leptorhynchus Ng & Kottelat, 2000
1.2)สกุล Pangasianodon.
ปลาบึก, Pangasianodon gigas Chevey, 1931
ปลาสวาย Pangasianodon hypophthalmus Sauvage, 1878
2) สกุล Pangasius.
ปลาเผาะ Pangasius bocourti Sauvage, 1880
ปลาโมง Pangasius conchophilus Roberts & Vidthayanon, 1991
ปลาสังกะแวงPangasius elongatus Pouyaud, Gustiano & Teugels, 2002
ปลายาว Pangasius krempfi Fang & Chaux, 1949
ปลาเทโพ Pangasius larnaudii Bocourt, 1866
ปลาสังกะวาดเหลือง Pangasius macronema Bleeker, 1851
ปลาเพ้าหางดอกPangasius mekongensis Gustiano, Teugels & Pouyaud, 2003
** ใน Fish of The Mekong Delta. ด็อกเตอร์ชวลิต ท่านเขียน " Pla Phow handdork." ผมเลยขอออกเสียงเป็น คำนี้ขึ้นมาครับ.**
ปลาสังกะวาดท้องโต Pseudolais micronemus (Bleeker 1847).
Pangasius myanmar Roberts & Vidthayanon, 1991
ปลาสังกะวาดท้องคม Pangasius pleurotaenia Sauvage, 1878
ปลาสังกะวัง Pangasius polyuranodon Bleeker, 1852
ปลาเทพา Pangasius sanitwongsei Smith, 1931
2) กลุ่มปลาสวายที่พบได้ในโซนซุนดาแลนด์ (คาบสมุทรมาเลย์ อินโดนีเซีย เป็นต้น)
2.1)สกุล Helicophagus
Helicophagus typus Bleeker, 1858
Helicophagus waandersii Bleeker, 1858
**2.2) สกุล Pangasianodon.
* ปลาสวาย Pangasianodon hypophthalmus Sauvage, 1878 ถูกระบุว่ามีการนำเข้ามาจากประเทศไทยในปี พ.ศ.2515 ถูกจับได้ในธรรมชาติแถบ Citarum (ชวา) และ ในแม่น้ำ Batanghari ( สุมาตรา) ดังนั้นปลาในสกุลนี้ที่พบในอินโดนีเซีย แล้วแต่ว่าทางผู้อ่านจะนับว่าเป็นกลุ่มปลาสวายที่พบในโซนซุนดาแลนด์หรือไม่นับ.
2.3) สกุล Pangasius.
**Pangasius bedado Roberts, 1999
หมายเหตุ ปัจจุบัน Pangasius bedado Roberts, 1999 ให้ใช้เป็น Pangasius djambal Bleeker 1846.
Pangasius humeralis Roberts, 1989
Pangasius kinabatanganensis Roberts & Vidthayanon, 1991
Pangasius kunyit Pouyaud, Teugels & Legendre, 1999
Pangasius lithostoma Roberts, 1989
ปลาสังกะวาดเหลือง Pangasius macronema Bleeker, 1851
Pangasius mahakamensis Pouyaud, Gustiano & Teugels, 2002
ปลาสังกะวาดท้องโต Pseudolais micronemus (Bleeker 1847).
Pangasius nasutus (Bleeker, 1863)
Pangasius nieuwenhuisii (Popta, 1904)
ปลาสังกะวาดท้องคม Pangasius pleurotaenia Sauvage, 1878
ปลาสังกะวัง Pangasius polyuranodon Bleeker, 1852
Pangasius rheophilus Pouyaud & Teugels, 2000
Pangasius sabahensis Gustiano, Teugels & Pouyaud, 2003
Pseudolais tubbi (Inger & Chin 1959).
3) กลุ่มปลาสวายที่พบได้ในเอเชียใต้ อย่างประเทศอินเดีย เป็นต้น.
3.1) สกุล Pangasius.
Pangasius pangasius (Hamilton, 1822) **
**หมายเหตุ จากหนังสือ Inland fishes of India and Adjacent countries. มีการเขียนบรรยายลักษณะของปลาชนิดนี้ชนิดเดียวครับ.
ภาพที่ 2นอกจากพอที่จะใช้หลักการกระจายของปลา แล้ว จากการบรรยาย ของด็อคเตอร์ ชวลิต วิทยานนท์ กับ อาจารย์ ไทสัน โรเบิรต์ " Systematic Revision of the Asian Catfish Family Pangasiidae,with Biological Observations and Descriptions of three New Species." ท่านทั้งสองยังได้เขียนบรรยายวิธีการจำแนกซึ่งผมจะขอลอกแบบคร่าวๆเพื่อความเข้าใจอย่างง่ายๆน่ะครับ.
1) รูปร่างของส่วนหัว (Head shape) จากภาพที่โพสท์ให้ชมน่ะครับ.ในรูปที่ 2-3
2) ส่วนปาก (Mouth.) ในที่นี้จะระบุถึง ตำแหน่งของขากรรไกร ขนาดและรูปแบบของปาก รูปแบบของแถบฟันบนเพดานปาก (จากรูปที่ 4)
3) ซี่กรองเหงือก ( Gill rakers) การนับซี่กรองเหงือก
4) ครีบที่เป็นสาย (Filament fin extension.)
5) ถุงลม ( Swimbladder.) ประเภทของถุงลม ความยาวของถุงลม (จากรูปที่4) อันนี้อยากให้น้าๆลองอ่านดูน่ะครับคาดว่าน่าสนใจทีเดียว ที่กลัวคือ ภาพที่ย่อส่วนลงมาอาจจะทำให้ตัวหนังสือไม่เคลียร์ ขอโทษไว้ ณ ที่นี้ด้วยน่ะครับผม.
6) สี (Coloration.) ทั้งในส่วนของสันหลัง ครีบ หรือ ลำตัว.
7) การนับกระดูกสันหลัง (Vertebral counts).
ภาพที่ 3นี่เป็นรายละเอียดวิธีการตรวจสอบที่ถูกบรรยายโดยอาจารย์ทั้ง 2 ท่าน ซึ่งผมจับประเด็นเอาแต่หัวข้อ ส่วนรายละเอียด ที่ผมกลัวคือ กลัวว่าตนเองจะแปลผิดพลาด และ ทำให้เกิดความเข้าใจกันคลาดเคลื่อน
ส่วนนี้ผมจะหยิบยกบางส่วนมาจาก Key to Pangasius. มานิดหน่อยน่ะครับ. ด้วยเหตุผลที่ว่า
1) กลัวแปลผิด 2) ส่วนตัวผมคิดว่าถ้าจะให้เข้าใจง่ายและรวดเร็วขึ้นควรจะมีเป็นภาพบรรยาย. 3) ใน Key อันนี้ ยังไม่จัดว่าอัพเดท เนื่องจากการบรรยายนี้ถูกตีพิมพ์ขึ้นมาในปี พ.ศ.2534 ซึ่งต่อมามีการค้นพบในปีต่อๆมาอีกหลายชนิด ทั้งในส่วน อินโดจีน และ ซุนดาแลนด์ครับ.
ภาพที่ 4จากความเข้าใจของนักตกปลา หลายท่านอาจจะมีการถกเถียงถึง ความแตกต่างระหว่างปาสวายกับปลาบึก ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็แล้วแต่ ถ้าอย่างนั้นเรามาลองดูว่า นักอนุกรมวิธานท่านจำแนกอย่างไร?
ก่อนอื่น ท่านให้นับจำนวนก้านครีบท้องว่ามีเท่าไหร่ ถ้ามี 8 หรือ บางครั้งนับได้ 9 ,ตำแหน่งปากอยู่ปลาย ถุงลมมีห้องเดียว ท่านบอกว่ามี ปลาอยู่สกุลนึง คือ Pangasianodon. ใช่แล้วครับ ในสกุลนี้มี 2 ชนิด คือ สวาย และ บึก เท่านั้น
และถ้า นับครีบท้องได้ 6 ปากอยู่ต่ำลงมา แต่ไม่ได้อยู่ใต้น่ะครับ มีถุงลม 2-3 ห้อง อันนี้มีเค้าว่า เป็นปลาในสกุล Pangasius. ส่วนจะเป็นชนิดใดนั้น นักตกปลาหลายท่านก็คงพอทราบ อย่างเช่น ปลาที่มีจุดดำบริเวณครีบหู หรือปลาที่มีครีบหลัง ครีบหู เป็นลักษณะสายยาว อย่างนี้คงพอมองออกน่ะครับ.
กลับมาที่บึกกับสวาย อาจารย์ทั้ง 2 ท่านบรรยายข้อแตกต่างเป็น Key ว่า " บึกซี่กรองเหงือกเล็กมาก ขณะที่สวายพัฒนาส่วนนี้ได้ปกติ ในบึกปลายถุงลมจะลงบริเวณช่วงท้องไม่เกินครีบก้น (ดูในรูปที่4 ข้อ A ) ในขณะที่สวาย ปลายถุงลมจะยื่นยาวเหนือตำแหน่งของครีบก้น (จากรูปที่4 ข้อB) นอกจากนี้ความยาวส่วนหัวของบึกจะมากกว่าสวายหากเทียบเป็น % จากความยาวมาตราฐานของแต่ละชนิด ( บึก =29% ส่วน สวาย = 27% ของ SLในแต่ล่ะตัว) ความกว้างของปาก บึกจะมากกว่าสวายเมื่อเทียบเป็น % จากความยาวมาตราฐาน (บึก=12% สวาย=10% ของSL)
ภาพที่ 5สุดท้าย หากมีข้อบกพร่องประการใด ไม่ว่าข้อมูลผิดพลาด หรือต้องการจะเพิ่มข้อมูล รบกวนโพสท์มาได้เลยน่ะครับจะเป็นความกรุณาอย่างยิ่ง. ต้องขอขอบคุณทุกท่านที่เข้ามานั่งอ่านกระทู้ของผม ส่วนตัวผมทราบดีว่า ผมไม่ได้มีปริญญาทางด้านนี้ ศึกษาเพราะใจชอบ ผมไม่ใช่นักเขียนหรือนักบรรยายที่พรรณาบทความได้อย่างสดสวย ต้องขอโทษอีกครั้งน่ะครับ.
**ส่วนตัวก่อนจาก**
หากท่านใดจะสอบถามผมส่วนตัวถึงปลาในกลุ่มนี้ที่นำเอา 2 หรือ 3 หรือ 4 ชนิดมาผสมพันธุ์เพื่อก่อให้เกิดตัวใหม่ ผมคงตอบไม่ได้ครับ.สำหรับคนอื่นจะตั้งเป็น Pangasius sp. หรืออะไรก็แล้วแต่ ผมไม่ได้สนใจ ผมสนใจแต่ชนิดที่เป็นอยู่จริงตามธรรมชาติ ใครจะทำspecial request. อะไรก็แล้วแต่ อยากให้ศึกษาให้ละเอียดในระบบปิดมากกว่า อย่าเที่ยวไปปล่อยลงในแหล่งน้ำธรรมชาติอีกเล.
ความรู้เรื่องปลา อาจารย์ที่เก่งๆเหล่านี้ก็มีอาจารย์อีกที ผมก็ศึกษามาจากงานเขียนของแต่ละท่าน ถึงแม้ว่าท่านเหล่านั้นไม่ได้สอนผม แต่ผมก็นับถือและขอเรียกท่านว่าอาจารย์ สำหรับผม ความคิดเริ่มต้นต้องดีมาก่อน ความเก่ง ต่อให้เก่งล้นฟ้าแต่ความคิดไม่ดี แบบนี้ไม่มีทางเป็น GREAT ได้หรอกครับจะบอกให้ อิ อิ อิ.