ภาพที่ 1การตกปลาแบบ หน้าดินชายฝั่งทะเล โขดหิน by Shadow.................
ครับเช่นเคย ผมได้เอาบทความที่ผมเขียนลงนิตยสาร เกี่ยวกับเรื่อง ตกปลาหน้าดินชายฝั่งทะเล มาให้ทุกท่านได้อ่านกันนะครับ สำหรับท่านที่ยังไม่ทราบ และยังไม่เคยอ่าน เพื่อได้เป็นประโยชน์ นะครับ...ขอบคุณครับ
ฉบับที่แล้วผู้เขียน ได้นำเสนอ การตกปลาชายฝั่งทะเล โขดหิน ด้วยเหยื่อปลอมไปแล้ว ครั้งนี้ผู้เขียนขอนำเสนอการตกปลาทะเลโขดหิน ด้วยเหยื่อจริง(ทั้งเหยื่อเป็น และเหยื่อตาย) ให้ทุกท่านทราบครับ การตกปลาด้วยเหยื่อจริง นั้น มีมานานมากแล้ว ซึ่งแต่ละที่แต่ละแห่ง ก็จะมีเทคนิควิธีการตกแตกต่างกัน ตามสภาพแหล่งน้ำ และ ชนิดของปลา เช่น การตกปลาชายฝั่งทะเล โขดหิน เองก็มีเทคนิคการตกที่ไม่ยากเลย ถ้าเรียนรู้วิธีตกเป็นแล้ว จะเห็นว่าการตกปลาชายฝั่งทะเลโขดหินนั้น มีเสน่ห์ น่าหลงใหล ทำให้ผู้ตกรู้สึกสนุกและเป็นการพักผ่อนที่แท้จริงอีกด้วย
ทั้งนี้ผู้เขียนได้รวบรวมเทคนิคต่างๆ นำเสนอให้ทุกท่านที่กำลังสนใจการตกปลาประเภทนี้ เพื่อเป็นความรู้ และเป็นประโยชน์ ในการตกปลาด้วยเหยื่อจริง ให้ได้ผลมากที่สุดครับ
****รูปแบบการตกปลาชายฝั่งทะเล *****
รูปแบบการตกปลาชายฝั่งทะเล ด้วยเหยื่อจริงนั้น มีหลายลักษณะ เช่น การตกหน้าดิน การตกด้วยทุ่นลอย ซึ่งหวังผลปลาแต่ละชนิดไม่เหมือนกัน โดยส่วนใหญ่แล้วจะใช้วิธีตกหน้าดิน หวังผลปลาที่หากินตามหน้าดิน ดังนั้นผู้เขียนขอนำเสนอ วิธีการตกปลาชายฝั่งทะเล โขดหิน แบบการตกหน้าดิน เป็นหลักครับ
เหยื่อที่ใช้
เหยื่อที่ใช้ตกปลาหน้าดิน ขึ้นอยู่กับประเภทของปลาที่จะตก โดยทั่วไปแล้ว เหยื่อที่ใช้ตกปลาชายฝั่งทะเลส่วนใหญ่ มีมากมาย เช่น ปลาหมึก ปลา(เช่น ปลาทูแขก ปลากระบอก ปลาทราย ) กุ้ง ปู หอย ฯลฯ ซึ่งสามารถใช้ได้ทั้งเหยื่อเป็น และเหยื่อตาย
***-เหยื่อเป็น*** โดยส่วนใหญ่จะเน้นตกปลาลาเหยื่อ เช่น กะพง ปลาสีเสียด ปลาสาก ฯลฯ ซึ่งการตกปลาด้วยเหยื่อเป็น สำหรับตกชายฝั่งทะเล ค่อนข้างทำได้ยาก และไม่ค่อยนิยมเท่าไร เนื่องจาก ปลาที่ตกโอกาสหวังผล ได้ยาก
***-เหยื่อตาย *** โดยทั่วไปเป็นเหยื่อสด เช่น ปลาหมึก ปลาทูแขก ปลากระบอก ปลาทราย ปู ซึ่งการตกปลาทะเลโขดหิน นั้นนิยมใช้เหยื่อ ปลาหมึก และปลามากกว่า โดยนำมาแล่ เป็นชิ้น และเกี่ยวตก ผู้เขียนเองก็ตกปลาหน้าดิน ใช้เหยื่อ ปลาหมึกแล่ เป็นหลัก และปลาแล่ เป็นบางครั้ง ปลาทะเลส่วนใหญ่จะกินปลาหมึกมากกว่า ค่อนข้างเยอะกว่า ปลาที่ได้ผลกับเหยื่อปลาหมึก เช่น ปลากะมงขาว ปลากะมงพร้าว ปลาครูดคราด ปลากุเลา ปลากะพงขาว ปลาเสียด ปลาเก๋า ปลากระเบน ปลาตะมะ ปลาปากแหนบ และปลาอื่นๆ ฯลฯ
ภาพที่ 2***การเลือกชุดอุปกรณ์ในการตกปลาหน้าดินาชายฝั่งทะเล***
โดยทั่วไปแล้วการตกปลาชายฝั่งทะเลโขดหินนั้น เป็นการตกปลา ตั้งแต่ขนาดเล็ก ไม่ถึงครึ่ง กิโลกรัม ถึงปลาขนาดใหญ่ 10 กิโลกรัม การเลือกอุปกรณ์จึงค่อนข้างง่ายกว่า การตกปลาประเภทอื่น ดังนี้
***-การเลือกคันเบ็ด*** การตกปลาชายฝั่งทะเลนั้น จำเป็นต้องทำระยะพอสมควร นอกจากนั้นต้องค่อนข้างแข็งแรง เวทไม่อ่อนมากนัก ดังนั้นคันเบ็ดที่ใช้ สำหรับการตกปลาหน้าดินชายฝั่งทะเลนั้น ควรมีคุณสมบัติดังนี้ครับ
คุณสมบัติ ของคันเบ็ด***
1) การตกปลาหน้าดินชายฝั่ง ควรมีความยาว( Length) 9 ฟุต ขึ้นไป เพราะส่วนใหญ่ต้องทำระยะค่อนข้างมาก โดยปรกติผู้เขียน จะใช้คันยาวอย่างต่ำประมาณ 10 ฟุต กำลังดี หรือถ้าหายาวกว่านั้นได้ 12-17 ฟุต ก็ยิ่งดีมาก แต่บ้านเราไม่ค่อยมีขาย คันที่ยาวนั้นควรมีน้ำหนักเบา ไม่แข็งกระด้าง ไม่ใหญ่เกินไป (ส่วนใหญ่ในบ้านเราคันจะใหญ่ หนัก และแข็ง ใช้ได้ไม่ดีนัก เหวี่ยงตะกั่วได้ไม่ไกล)
2) weight ของคันควร ประมาณ 12-25 lb กำลังดี สำหรับคัน 10 ฟุต ไม่ควรอ่อนเกินไป เพราะการงัดปลา ก็ทำได้ยาก ทำให้ใช้เวลาในการสู้นานเกินไป ทำให้ปลาหลุด หรือถ้าคันอ่อนไป อาจทำให้การรั้งปลาไม่ให้วิ่ง ทำได้ยากกว่า ซึ่งอาจทำให้ปลาเข้าหินขาดได้ง่าย ถ้าคันที่ยาวกว่านั้นก็ราวๆ 15-40 หรือ 20 -40 เป็นต้น
3) คันควร มีน้ำหนักเบา และ สปริงตัวได้เร็ว เช่น คันประเภท กราไฟท์ หรือไฟเบอร์ ก็ได้ และกำลังค่อนข้างสูงสปริงตัวดีดกลับได้ดี
***-การเลือกรอก*** รอกตกปลาหน้าดินชายฝั่งทะเลนั้น เลือกได้กว้าง เพียงแต่เลือกขนาดให้เหมาะสม ทนต่อน้ำเค็มได้ดี ก็สามารถใช้ได้แล้วครับ คุณสมบัติ ควรมีดังนี้ครับ
1) รอกมีระบบการจัดเรียงเก็บสายได้ดี
2) จุสายได้พอสมควรครับ สำหรับชุดเล็ก แนะนำรอกขนาด BG 15 -20 ไม่เกินนั้น ถ้าใหญ่เกินไป ก็จะหนักไป และทำระยะได้ไม่ดี ถ้าเล็กไป ก็จะจุสายได้น้อยเกินไป ในทีมผู้เขียนเองนิยมใช้ BG 15-20 ถึงแม้จะเป็นรอกระบบเดิมๆ แต่ เหมาะกับการใช้งาน แข็งแรง และทนน้ำเค็ม ดี ดูแลรักษาง่าย ถ้าเป็นรอกตะกูลไดว่า ก็ประมาณ เบอร์ 3500- 4000 สำหรับชุดเล็ก-ปานกลาง
สำหรับชุดใหญ่ ก็จะเป็นรอก เซิร์ฟ ทั้งนี้ต้องเหมาะสมกับคัน ด้วยครับ ซึ่งรอกเซิร์พ จะสามารถทำระยะได้ไกล และจุสายขนาใหญ่ได้มากๆ ด้วย
***-การเลือกสาย *** สายเอ็นที่ใช้ สามารถเลือกได้ตามใจชอบ เพียงแต่ คำนึงให้เหมาะสม กับรอก และคัน จะสามารถทำระยะได้ไกล และ แข็งแรงเพียงพอ เช่น คันเบ็ด 10 ฟุต รอก BG 15 สายเอ็นไม่เกิน ขนาด 0.35 mm -0.40 mm ถ้าเป็นขนาดเบอร์4000 ก็ใส่สายประมาณ 0.40 mm ได้
ภาพที่ 3***-การต่อชุดสายหน้า*** การต่อชุดสายหน้านั้น มี 2 แบบ
แบบที่ 1 ****
ก็เป็นการต่อชุดสายหน้าดินปรกติ สำหรับชุดเล็ก ตามรูป เพียงแต่ ขนาดของสายหน้า ที่ใช้ ตกปลาทะเลนั้น มักจะใช้ขนาดค่อนข้างใหญ่ ตั้งแต่ 30 lb-60lb (โดยทั่วไปใช้กลางๆ ก็ 40 ปอนด์)ซึ่งป้องกันการขีดข่วนจากอุปสรรคใต้น้ำ ความยาวของสายหน้า จะไม่ยาวมากนัก ประมาณ 1 เมตร ขนาดของตาเบ็ด ที่ใช้ก็เป็นเบ็ดก้านยาวธรรมดา เบอร์ 11 ทั้งนี้แล้วแต่ขนาดของปลาที่จะตกด้วย ขนาดของตะกั่ว ก็ไม่ตายตัว แต่ต้องให้เหมาะสมกับ ชุดคันเบ็ด เช่น สาย คัน และรอก ถ้าตะกั่วใหญ่เกินไป ก็ขว้างเหยื่อไม่ได้แน่ โดยทั่วไปใช้ประมาณ 80 กรัม -100 กรัม สำหรับคัน ประมาณ 10 ฟุต ถ้าคันและสายใหญ่กว่านั้น ก็ให้เพิ่มขนาดตะกั่วตามเหมาะสม
สำหรับชุดสายหน้าเฉพาะกิจ สำหรับตกปลาบางประเภท เช่น ปลาฟันคมจำพวก ปลาสาก ปลาอินทรีย์ ก็จะใช้วิธีผูกชุดสายหน้า เป็นลวดเป็น หรือ สลิง ยาวประมาณคืบนึง ไว้ต่อกับสายหน้า ที่เป็นเอ็น 40 ปอนด์ สำหรับตกปลาสากได้
ภาพที่ 4แบบที่ 2***
สำหรับชุดใหญ่ ซึ่งการผูกจะแตกต่างจากแบบแรก คือ จะใช้ลูกหมุนสามทาง ซึ่งเมื่อผูกแล้วตะกั่วจะอยู่ด้านล่าง
สายเอ็นที่ผูกกับตะกั่ว นั้นต้องใช้สายเอ็นขนาดใหญ่ๆ (ประมาณ80-100 ปอนด์) ผูกยาวไม่เกิน 1 คืบ (ถ้ายาวไปจะทำให้สายพันคอ) เพราะจะทำให้สายไม่หงิกงอ ตรงอยู่เสมอ และทนต่อแรงขีดข่วนได้ดี
สำหรับตะกั่วนั้น ผู้เขียนจะนำมา ดัดแปลง โดยใช้ลวดแสตนเลส ขนาดใหญ่ ร้อยและทำห่วงไว้ด้านบนสำหรับมันสายเอ็น
วิธีผูกสายหน้าแบบนี้ ข้อดีคือสามารถใช้สายหน้าได้ยาวกว่าปรกติ และทำระยะได้ไกลมากกว่า แต่จะเหมาะกับชุดอุปกรณ์ค่อนข้างใหญ่ ตะกั่วใหญ่
ข้อเสียของการผูกวิธีนี้คือ ถ้าปลาขนาดเล็กกินเบ็ด จะไม่ทราบได้เลยว่าปลาตอด ปลา เล็กจะไม่สามารถลากหรือดึกสายไปได้ เพราะ ตะกั่วจะรั้งไว้อยู่ เว้นแต่จะเป็นปลาขนาดใหญ่จริงๆ เท่านั้น ที่จะสามารถลากตะกั่วไปได้(ต่างจากแบบแรก ที่สายในรอกสามารถเลื่อนผ่านรูในตะกั่วไปได้)
ภาพที่ 5***การเกี่ยวเหยื่อปลา***
การเกี่ยวเหยื่อปลา ถ้าเป็นการเกี่ยวเหยื่อเป็น จะเกี่ยวตามแบบที่ 1 คือเกี่ยวบริเวณหลังค่อนไปทางหาง ระวังอย่างให้โดนกระดูก สำหรับแบบที่ 2 และ 3 นั้น จะเป็นการเกี่ยวเหยื่อปลา ตาย วิธีเกี่ยวคือ เกี่ยวทะลุจากใต้คาง ถึงหัว และตัดส่วนหางออก เพื่อป้องกันเหยื่อควง ขณะขว้างเหยื่อ ดังแบบ ที่ 2 แต่ถ้าเป็นเหยื่อขนาดค่อนข้างใหญ่ เราจะเกี่ยวในลักษณะตามแบบที่ 3
นอกจากนั้นเรายังสามารถใช้ปลาแล่ สำหรับตกปลาหน้าดินได้อีกด้วยวีธีแล่ปลานั้นไม่ตายตัว เพียงแต่ ควรแล่ให้พอดีเบ็ด อย่าให้หนา แล่ตามยาว ส่วนการเกี่ยวเหยื่อก็ใช้วิธีเดียวกันกับการเกี่ยวเหยื่อปลาหมึกครับ
ภาพที่ 6***การอ่านหมาย เลือกหมาย***
การเลือกตำแหน่งในการตก นับว่าเป็นสิ่งสำคัญมากในการตกปลาหน้าดิน เพราะถ้าท่านเลือกตำแหน่งผิดโอกาสที่ท่านจะได้ปลา มียากมาก เราจะทราบได้อย่างไรว่าตำแหน่งที่เราลงเหยื่อ เหมาะสม นอกจากปลากินดีแล้ว สังเกตได้ง่าย ถ้าจุดที่เราลงเหยื่อ ลงเพียงครั้งแรก ก็ติดหินแล้วแสดงว่า บริเวณนั้นหินค่อนข้างมาก ควรหลีกเลี่ยงไปจุดอื่น เพราะคงไม่สนุกแน่ ถ้าเบ็ดติดหิน ทำให้ต้องเสียชุดสายหน้าไป ซึ่งส่วนใหญ่จะขาดทั้งชุด เนื่องจากมักจะใช้สายหน้าขนาดใหญ่กว่าสายในรอก เพราะป้องกัน ปลาเข้าหิน ดังนั้นควรเลือกจุดที่อุปสรรค หรือติดหินน้อย หรือลงจุดที่ใกล้เคียง เช่น ปลามักอยู่บริเวณกองหิน ดังนั้นควรลงเหยื่อบริเวณใกล้ๆ กัน
ภาพที่ 7***ช่วงเวลาที่เหมาะสม ***
ช่วงเวลาที่ตกปลาหน้าดินได้ดีที่สุด มักจะเป็นช่วงเวลา ช่วงเช้า 05.30น .-9.30 น. และช่วงเย็นประมาณ 15.30 18.30 น. นอกนั้นก็มีโอกาสได้บ้าง ขึ้นอยู่กับ ระดับน้ำ สังเกตว่าการตกปลาโดยทั่วไปจะตกเวลาเดียวกันคือ ช่วงเช้า และช่วงเย็น
***ช่วงเวลาข้างขึ้น ข้างแรม***
ถ้าเป็นการตกปลาในช่วงกลางวัน ข้างขึ้นข้างแรม จะไม่มีผล มักจะได้ผลในช่วงน้ำ 10 ค่ำ ถึง 13 ค่ำ เพราะช่วงนี้ กระแสน้ำไม่ไหลแรงมากเกินไป และช่วงเวลาน้ำขึ้น และน้ำ เต็ม จะกินดีกว่า แต่ถ้าเป็นการตกปลากลางคืน มักจะได้ผลกับช่วงข้างขึ้นมากๆ ตั้งแต่ 10 ค่ำ จนถึง 13 ค่ำ ซึ่งมีผลบ้าง ทั้งนี้ ต้องให้เหมาะสมกันในช่วงเวลาที่ปลากินดี คือ ช่วงเช้า และเย็น ซึ่งไม่แน่นอน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสถานที่ภูมิประเทศที่แตกต่างกัน เช่น บางที่กระแสน้ำเดินไหลแรงตลอด บางที่กระแสน้ำ เดินไหลช้าตลอด
ภาพที่ 8***การแล่เหยื่อและการเกี่ยวเหยื่อ ***
สำหรับการแล่และเกี่ยวเหยื่อนั้น ผู้เขียน ขอแนะนำการแล่ และเกี่ยวเหยื่อ โดยใช้ปลาหมึก ซึ่งเป็นเหยื่อที่นิยมใช้ และได้ผลมากที่สุด เหยื่อปลาหมึกที่นิยมนำมาใช้ ได้แก่ ปลาหมึกหอม และปลาหมึกกล้วย ซึ่งต้องสดจึงจะได้ผลดี สามารถหาซื้อได้ตามท้องตลาด แต่ที่นักตกปลามืออาชีพใช้ส่วนใหญ่ จะตกปลาหมึกมาทำเหยื่อเองเพราะเหยื่อที่ได้สดแน่นอนกว่า สามารถเก็บไว้ได้นานเป็นอาทิตย์ๆ เลยทีเดียว วิธีการเก็บปลาหมึกที่ตกได้นั้น ควรนำปลาหมึกที่ได้ใส่ในถุงร้อนคละกัน 3-5 ตัว ต่อ ถุง แช่แข็งไว้ สามารถเก็บไว้ตกได้นาน เนื้อปลาหมึกยังคงใส และสดอยู่ ข้อสำคัญคือ ไม่ควรแช่ปลาหมึกโดนน้ำแข็งโดยตรง จะทำให้เนื้อปลาหมึก สีข้น แข็ง ไม่เหมาะที่จะทำเหยื่อ สำหรับขนาดของปลาหมึกที่เหมาะทำเหยื่อนั้น ขนาดประมาณ 5-6 ตัว ต่อ 1 กิโลกรัม เพราะถ้าใหญ่ไป เนื้อปลาหมึกจะหนาทำให้เกี่ยวได้ยาก
การเกี่ยวเหยื่อสำคัญอย่างไร นอกจากจะทำให้ปลากินเหยื่อได้เร็ว และง่ายแล้ว ยังมีผลกับการ Sethook ของปลาด้วย ถ้าเกี่ยวเหยื่อใหญ่เกินไปกว่าขนาดของเบ็ด โอกาส Sethook ก็ทำได้ยาก ปลาจึงหลุดบ่อย นอกจากนั้น การเกี่ยวเหยื่อ ยังมีผลกับการขว้างเหยื่ออย่างมากด้วย ซึ่งถ้าเกี่ยวเหยื่อไม่ดี จะทำให้ขณะขว้างเหยื่อออกไป เหยื่อจะควงหมุน ทำให้สายหน้าพันคอได้ โอกาสปลากินเหยื่อแทบไม่มีเลย เรามาดูวิธีการแล่ และเกี่ยวเหยื่อปลาหมึกกันเลยครับ
รูปการแล่ และเกี่ยวเหยื่อหมึกสด เพิ่มเติมครับ
แล่เป็นชิ้น ยาว กว้างไม่เกิน 1 เซ็น (อย่าให้กว้างมาก เพราะถ้ากว้าง เวลาเกี่ยวจะทำให้เหยื่อใหญ่เกินไป และจะทำให้เหยื่อหมุน ขณะขว้าง)
ภาพที่ 9ใช้ของแข็งทุบด้านที่เป็นหนังให้นิ่ม จะได้เกี่ยวง่าย และไม่ทำให้เหยื่อควงเวลาขว้าง
ภาพที่ 10เอาเบ็ดแทงจากด้านหนัง
ภาพที่ 11แล้วขด เหยื่อ แล้วใช้เบ็ด แทงที่ด้านหนัง อีกเช่นเดียวกัน
**** เกี่ยวขดนะครับ ไม่ใช่เกี่ยวแบบพับ สักเกตุว่าเราต้องหมุนเหยื่อเพื่อจะต้องเอาเบ็ดมาเกี่ยวด้านหนังด้านเดิมครับ
ภาพที่ 12ทำแบบเดิมไปเรื่อยจนเต็มก้าน ดังรูป ก็ใช้งานได้เลย
ภาพที่ 13การแล่เหยื่อเหนียว สำหรับตกปลาใหญ่...
เหยื่อเหนี่ยวคืออะไร.?... ตอบ .. เหยื่อเหนียวก็คือ เหยื่อที่ใช้จากเนื้อปลา ที่ตกได้ นำมาแล่ทำเหยื่อ ซึ่งจะเหนียวกว่า เหยื่อปลาในตลาดๆ ทั่วๆไป และสดกว่า
เหยื่อเหนียวใช้ตอนไหน? ตอบ .. เหยื่อเหนียวใช้ตอนที่ลูกปลาค่อนข้างกินถี่มาก ซึ่งเหยื่อจะหมดเร็วทำให้ไม่ทันปลาใหญ่ เหยื่อเหนียวจะได้เปรียบคือ เหยื่อจะหมดช้ากว่า และลูกปลาส่วนใหญ่จะไม่ค่อยกิน
ปลาอะไรที่กินเหยื่อเหนี่ยว ? .. ตอบ .. ปลาใหญ่ทั้งหลาย แทบทุกชนิด ปลากะมง ปลากะพง ปลาเก๋า ปลาสาก อังเกย หัวเสี้ยม ฯลฯ
ปลาอะไรใช้ทำเหยื่อเหนียวได้บ้าง? ... ตอบ ได้แทบทุกชนิด เช่น ปลาสาก ปลาข้างใฝ ตะมะ โทง ฯลฯ
วิธีแล่และเกี่ยวเหยื่อเหนียว
จากรูปนำปลามาขอดเกล็ดออกก่อน
ภาพที่ 14แล่ออกมาทั้งซีก
ภาพที่ 15จะได้เป็นชิ้นดังรูป
ภาพที่ 16จะใช้หเหยื่อเหนียวชิ้นแค่ไหน ขึ้นอยู่กับขนาดตาเบ็ด ถ้าตาใหญ่ 2-3/0 ก็ใช้ทั้งซีกเลย ถ้าตาเล็ก ก็ผ่าครึ่งออกมา
จากรูปตัวอย่าง เราจะใช้สำหรับตาใหญ่ ดังนั้น ใช้มีดแล่ตรงกลางแผ่น แต่อย่าให้ขาดจากกัน
ภาพที่ 17พับเหยื่อให้ด้านหนังชนกัน ด้านที่เป็นเนื้อ จะอยู่ด้านนอก (สักเกตุตรงรอยพับ คือรอยที่เราใช้มีผ่าตรงกลาง แต่ส่วนหนังจะไม่ขาดจากกัน)
ภาพที่ 18เริ่มเกี่ยวจากด้านหางเกียว แล้วหมุน เกี่ยว (เหมือนวิธีเกี่ยวปลาหมึก)
ภาพที่ 19จะได้ตามรูป ใช้งานได้เลย ไม่หลุดแน่นอน