ภาพที่ 1"แฮคฟิช" เป็นปลาในชั้นปลาไม่มีขากรรไกรเพียงหนึ่งในสองจำพวก ที่ยังสืบเผ่าพันธุ์จากเมื่อกว่า 500 ล้านปีก่อน มาจนถึงปัจจุบัน ที่เมือกของมันได้รับการพิสูจน์แล้วว่า อาจนำมาทำเป็นเครื่อนุ่งห่มแห่งอนาคตได้
ปลาแฮคฟิช ถูกจัดอยู่ในกลุ่มปลาปากกลม แม้พวกมันมีลำตัวคล้ายปลาไหล แต่พวกมันไม่ใช่ปลาไหล เนื่องจากพวกมันเป็นปลาไม่มีขากรรไกรและไม่มีกระดูกสันหลัง
พวกมันมีต่อมเมือกทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่กระจายอยู่ที่ผิวหนังและเรียงตัวเป็นแนวอยู่ทางด้านข้างตลอดความยาวของลำตัว กว่า 100 ต่อม โดยพวกมันใช้เมือกเพื่อเป็นเกราะป้องกันตัวเมื่อถูกสัตว์ใหญ่โจมตี และเมื่อเมือกดังกล่าวปะปนไปกับน้ำทะเล มันจะกลายเป็นแผ่นไฟเบอร์ใสขนาดใหญ่ ที่มีความบาง แข็งแรง และยืดหยุ่นได้ โดยเมื่อนำไปล้างกับน้ำเปล่า และนำไปผึ่งให้แห้ง ก็จะได้วัสดุที่ให้สัมผัสนุ่มและลื่น
ภาพที่ 2กระทั่งมีคำกล่าวว่า แฮคฟิช 1 ตัว สามารถทำให้น้ำ 1 ถัง แปรสภาพเป็นก้อนวุ้นสีขาวภายใน 1 นาที จากเมือกของตัวที่ปล่อยออกมา ซึ่งมีความเหนียวมากกว่าใยแมงมุม นอกจากนั้น เมือกของมันสามารถใช้ในการห้ามเลือดได้ ในหลายส่วนของโลกมีการนำหนังของปลาไหลเมือก มาทำเสื้อผ้า เข็มขัด กระเป๋า และอื่นๆ และก่อนหน้านี้นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการศึกษาเพื่อที่นำไปพัฒนาในการสร้างใยสังเคราะห์
แม้ไดโนเสาร์จะสูญพันธุ์ไปแล้วเมื่อ 60 ล้านปีก่อน แต่มีการพบซากฟอสซิลของปลาแฮคฟิช ที่มีต่อมผลิตเมือก ย้อนไปไกลได้ถึง 330 ล้านปีก่อน โดยปลาแฮ็คฟิชที่มีขนาดใหญ่ที่สุดมีลำตัวยาวราว 1.2 เมตร ขณะที่ส่วนใหญ่ลำตัวยาวประมาณ 30 ซม.
ภาพที่ 3นักวิทยาศาสตร์ใช้เวลาหลายปีในการคิดค้นเส้นใยสังเคราะห์ที่มีลักษณะคล้ายไนลอนและไลคราหรือผ้าสแปนเด็กซ์ ซึ่งล้วนแต่ผลิตมาจากน้ำมัน ซึ่งไม่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ ทำให้เมือกของปลาแฮคฟิชถูกมองว่าน่าจะเป็นทางเลือกในการผลิตเส้นใยที่มาจากธรรมชาติ
ขั้นตอนแรก นักวิทยาศาสตร์ต้องคิดค้นวิธีเพิ่มการผลิตเมือกของปลาแฮคฟิช เนื่องจากปลาไม่ค่อยตอบสนองมากนักเมื่อนำมาเลี้ยงในพื้นที่ที่ไม่ใช่ทะเล และแทบไม่มีคนทราบถึงกระบวนการสืบพันธุ์และการเพาะพันธุ์ นักวิทยาศาสตร์จึงหวังที่จะสร้างโปรตีน ที่มีลักษณะเดียวกับเมือกของแฮคฟิช ที่เป็นรูปแบบเดียวกับที่นักวิทยาศาสตร์เคยใช้ในการสร้างใยแมงมุมมาก่อน
ภาพที่ 4แม้คุณสมบัติของเมือกปลาแฮคฟิชจะคล้ายกับใยแมงมุมในหลายส่วนแต่มันมีคุณสมบัติพิเศษคือมีโปรตีนที่มีขนาดเล็กกว่า และง่ายกว่าในการผลิตซ้ำ เมื่อเทียบกันตามทฤษฎี กระทั่งปัจจุบัน ยังไม่มีใครสามารถผลิตเส้นใยได้จากเมือกของปลาแฮคฟิชได้ แต่นักวิทยาศาสตร์ก็ยังคงทำการทดสอบต่อไป และหากประสบความสำเร็จ นักวิทยาศาสตร์หวังว่าจะสามารถนำเส้นใยดังกล่าวไปใช้อุตสาหกรรมสิ่งทอได้อย่างเต็มตัว
ที่มา : หนังสือพิมพ์มติชน
อ้างอิง : http://variety.teenee.com/foodforbrain/51838.html