ภาพที่ 1วิธีการทำสายสำหรับตกชิงหลิวตามรูป
ภาพที่ 2นำสายขนาดที่ต้องการใช้มาทั้งม้วน
ภาพที่ 3ผูกสายให้เป็นห่วงดึงให้แน่นตามภาพยาว 4 นิ้ว
ภาพที่ 4รีดสายให้ขนาดกันบีบปลายให้เป็นรอยพับตามรูป
ภาพที่ 5ผูกอีกครั้งให้มีห่วงเล็กที่ปลายยาว 1 นิ้ว ก่อนผูกต้องรีดเอ็นให้ขนานกันเท่านั้น
ภาพที่ 6ทดสอบความแน่นของปม
ภาพที่ 7ทำห่วงตามรูป
ภาพที่ 8คล้องที่ไหมปลายคันที่ผูกปมไว้แล้ว
ภาพที่ 9จับที่ปมแล้วดึงให้ห่วงรัดไหมให้แน่น
ภาพที่ 10จับปลายคันโดยเอาเอ็นวางไว้บนนิ้วแล้วยืดคันออกไปที่ละท่อนโดยดึงเอ็นออกจากม้วนตามไปด้วย
ภาพที่ 11จนถึงท่อนโคนแล้วตัดเอ็นตรงที่เท่ากับรอยต่อของด้ามจับกับคัน ทั่วไปจะสั้นกว่าคันประมาณ 6 นิ้ว
ภาพที่ 12ใส่ไลน์สต็อปเปอร์ด้านบน 2 ตัว แล้วใส่ที่เสียบทุ่น เอาไว้จำระดับน้ำที่หมายเดิมเมื่อต้องการปรับจากบาลานซ์หน้าดินเป็นตกบาลานซ์กลางน้ำ
ภาพที่ 13ใส่สต็อปเปอร์ด้านล่าง 1 ตัว เอาไว้ล็อคทุ่นไม่ให้เข้าสวิงขณะช้อนปลาทุ่นจะได้ไม่หักเวลาปลาดิ้น
ภาพที่ 14จะได้แบบนี้ครับ
ภาพที่ 15ที่นี้มาตั้งทุ่นกันขดฟิวส์กับไม้จิ้มฟันให้เป็นตามภาพหรือใช้ตะกั่วหนีบ
ภาพที่ 16ดึงขดฟิวส์ออกมาทำห่วงตามภาพ
ภาพที่ 17ร้อยห้วงของฟิวส์เข้าในห่วงของลูกหมุนตามภาพ
ภาพที่ 18พันสายเอ็นเข้าไปตามเกลียวจนเอ็นเข้าไปอยู่ไนรูของขดฟิวส์จะเป็นตามภาพ
ภาพที่ 19จะได้ชุดสายตามภาพ น้ำหนักที่ใช้ถ่วงตั้งทุ่นรวมลูกหมุ่น,ตัวเบ็ดและสายเอ็นควรจะให้ตัวทุ่นจมทั้งหมดเป็นอย่างน้อย ซึ่งควรตั้งทุ่นแต่ละตัวไว้แล้วเก็บให้เป็นชุดของแต่ละตัวเมื่อไปใช้จริงแล้วจึงปรับน้ำหนักฟิวส์อีกครั้งแล้วแต่เหตุการณ์เฉพาะหน้า เช่นลมแรง น้ำไหลย้อนทางผิวน้ำไปตามลมใต้น้ำสวนทางลมหรือทางบ่อตีน้ำให้อ๊อกซิเจน หรือปลากินเบามากๆ เราสามารถเพิ่มน้ำหนักถ่วงให้ทุ่นทำงานไวขึ้นอีกนิด
ภาพที่ 20นี่คือสิ่งที่ต้องใช้ในการสร้างชุดสายและที่เก็บชุดสาย(สีเขียว)เวลาเลิกตก เก็บจากด้านห่วงไปหาตัวเบ็ดไม่ต้องดึงแรงเพราะจะทำให้สายเอ็นเป็นรอยพับ เมื่อจะใช้งานเอาสายออกจากที่เก็บสายลงในน้ำแล้วเอาห่วงมาคล้องล็อคปลายไหมแล้วยืดคันออกครับ