ภาพที่ 1ผมขอขอบคุณและขออนุญาตอ้างอิงและคัดย่อเรื่องนี้จากวารสารของกรมประมง ตีพิมพ์ฉบับที่ 1 เดือน มกราคม - กุมภาพันธ์ 2550. จากผู้เขียน วิวัฒน์ ปรารมภ์ และ อารีย์ ช้อนแช่ม สถานีประมงน้ำจืดจังหวัดน่านครับผม.
" ปลากอง." คือ พฤติกรรมการการวางไข่ของปลาปีกแดง หรือ ปลาตะเพียนปากหนวด( Hypsibarbus vernayi. Norman,1925) ซึ่งเป็นปลาในวงศ์ ปลาตะเพียน
ภาพที่ 2"ปลากอง" ตามที่ได้เรียนไว้ข้างต้น คือ พฤติกรรมการวางไข่ของปลาปีกแดง แต่ที่น่าสนใจคือ ปลาชนิดนี้จะว่ายมารวมกลุ่มกันบริเวณหาดน้ำตื้น โดยใช้เวลาประมาณ 9-10 ชั่วโมง และที่น่าประหลาดใจกว่านี้ก็คือ ช่วงเวลาวางไข่ที่เกิดในช่วงเดือน ธันวาคม-เมษายน ของทุกปี นั่นหมายถึงเริ่มตั้งแต่หน้าหนาว ไปจนถึง หน้าร้อน.
เป็นที่น่าปลาบปลื้มและยินดีที่ " ปลากอง. " อยู่ภายใต้การดูแลจากหน่วยงานของกรมประมงท้องที่ และ ราษฎรภายในพื้นที่ โดยมีการตั้งกฏเกณฑ์ และ บทลงโทษ ควบคุม สำหรับปลาในเขตอนุรักษ์.
ภาพที่ 3ส่วนใหญ่ " ปลากอง" นี้จะเกิดขึ้นตรงกับวันพระ จากสถิติที่ผู้เขียนระบุในปี2548 มีปลามากองทั้งหมด 9 ครั้ง ปี2549 มีเกิดขึ้น 6 ครั้ง จะตรงกับวันพระไม่ว่าจะเป็นข้างขึ้น ข้างแรม 50% อีก50% จะคลาดเคลื่อนจากวันพระ 1-2 วัน โดยเฉพาะในวัน มาฆบูชา จะเกิดขึ้นทุกปี แต่ละจุดที่เกิดปลากอง มักจะเกิดในวันเดียวกัน.
ประเด็นถัดมาอยู่ที่ในวันที่เกิดปลากองนี้ จะมีเหตุการณ์บางอย่างที่เป็นลางบอกเหตุ
1) เมฆบนท้องฟ้าจะมีลักษณะขาวหม่นซ้อนๆกันอยู่คล้ายเกล็ดปลา.
2) บรรดานกเค้าแมวจำนวนมากจะโฉบบินส่งเสียงร้อง กบเขียดจะรวมฝูงกันส่งเสียงร้องในตอนหัวค่ำ ซึ่งน่าจะเตรียมตัวมากินปลาที่มากอง และไข่ปลาที่จะเกิดขึ้นนั้นเอง.
นอกจากนี้ทางผู้เขียนยังได้รับการบอกเล่าถึงปลากองแต่เป็นปลาตะพาก ที่เคยเกิดขึ้นที่จังหวัดตาก.
ขอบคุณครับสำหรับน้องๆน้าๆหลายๆท่านที่เข้ามาชม อยากเรียนว่าสิ่งที่น่ามหัศจรรย์เหล่านี้ยังได้รับการปกป้องและอนุรักษ์ ผมได้มีโอกาสคุยกับนักวิชาการภาคสนามบางท่านซึ่งหลายท่านก็บอกตรงกันว่า พื้นที่บางพื้นที่มีชุมชนที่ปกป้องตรงนี้อยู่จริงๆ.