ภาพที่ 1หน้าที่ของคันเบ็ด
คันเบ็ดสมัยใหม่ทำหน้าที่สำคัญหลายประการด้วยกัน แต่ละหน้าที่ล้วนมีส่วนสำคัญในการที่จะช่วยให้นักตกปลาตกปลาได้มากขึ้นหรือดีขึ้นกว่าไม่ใช้คันเบ็ดหรือคันเบ็ดแบบเก่า ลองรวบรวมหน้าที่ของคันเบ็ดกันดูทำหน้าที่เป็นเครื่องดีดเหยื่อออกไปหน้าที่สำคัญประการหนึ่งของคันเบ็ดคือช่วยเป็นตัวส่งเหยื่อ (ไม่ว่าเหยื่อจริงหรือเหยื่อปลอม) ให้พุ่งออกไปจากตำแหน่งที่นักตกปลายืนอยู่ไกลมากว่าการจับเหยื่อขว้างหรือแกว่งมากทีเดียว ในระหว่างการเหวี่ยงเบ็ด น้ำหนักของเหยื่อจะดึงคันเบ็ดให้โน้มกลับไปด้านหลัง เมื่อคันถูกโน้มเต็มที่แล้วสะบัดกลับไปข้างหน้า คันเบ็ดจะทำหน้าที่คล้ายคันธนูดีดหรือยิงเหยื่อออกไปด้วยความเร็วสูง เป็นผลให้เหยื่อพุ่งออกไปได้ไกล เมื่อใช้ประกอบกับรอกซึ่งปล่อยสายเบ็ดตามไปได้อีก เมื่อคุณใช้คันเบ็ดและรอกคุณจึงได้เปรียบคันไม้ไผ่ที่ตกปลาได้ชายน้ำไม่ไกลเกินกว่าความยาวของคันเบ็ดบวกกับความยาวของสายเบ็ดเท่านั้นคัน รอก น้ำหนักเหยื่อ ประกอบกับเทคนิคในการเหวี่ยงที่เหมาะสม เป็นหัวใจของการตกปลาชายฝั่ง (SURF FISHING) ซึ่งต้องการส่งเหยื่อออกไปสู่ปลาบางพวกบางชนิด อังกฤษซึ่งมีฝั่งทะเลลาดมาก ปลาเกมไม่เข้าใกล้ชายฝั่งเกินกว่า 100 - 200 หลา นักตกปลาจำเป็นต้องพัฒนาอุปกรณ์และเทคนิคขึ้นมา เพื่อตกปลาให้ได้และประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี หลายคนคงเคยได้ยินชื่อ จอห์น โฮลเด็น ตะแกเป็นนักตกปลาชาวอังกฤษที่ข้ามแอตแลนติคไปปักหลักทำมาหากินอยู่ในอเมริกาด้วยการสอนพวกแยงกี้ให้รู้จักการเหวี่ยงเบ็ดระยะไกล ตัวแกเองสามารถเหวี่ยงเหยื่อออกไปได้ไกลถึง 600 หลา (กว่าครึ่งกิโลเมตรหรือยาวกว่าสนามฟุตบอลต่อกันความยาวสองสนามเสียอีก) โฮลเด็นเขียนหนังสือเกี่ยวกับการเหวี่ยงเบ็ดระยะไกลไว้สองเล่มทำหน้าที่เป็นตัวกันกระชากสายเบ็ดพูดกันให้เข้าใจง่าย ๆ เหมือนกับเป็นโช้คอัพกันกระแทก สายเบ็ดที่ใช้กับคันเบ็ดสมัยใหม่จะไม่ใช้สายใหญ่เกินกว่าความจำเป็นหรือพยายามใช้สายให้เล็กที่สุดเท่าที่พอต่อสู้กับปลาได้เท่านั้น คุณสมบัติประการหนึ่งของสายเบ็ดไม่ว่าจะเป็นสายโมโนฟิลาเม้นท์หรือแดรคคอนคือสามาร รับแรงดึงได้เต็มที่ของขนาดของสายเบ็ดได้ เมื่อแรงดึงนั้นค่อย ๆ เพิ่มขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป ถ้าแรงดึงนั้นเพิ่มขึ้นทันทีทันใด สายเบ็ดจะถูกกระตุกขาดได้ง่าย ๆ ข้อนี้ทดลองดูได้โดยเอาสายเบ็ดยาวสัก 5 ฟุต ผูกติดไว้กับตะปู ห้อยน้ำหนักประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ ของแรงทนแรงดึงสายเบ็ดไว้ค่อย ๆ เพิ่มน้ำหนักขึ้น สายเบ็ดจะขาดเมื่อน้ำหนักที่ห้อยไว้เกือบถึงร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ถ้ายกน้ำหนักเพียง 70 เปอร์เซ็นต์ ของแรงทนแรงดึงขึ้น 1 ฟุต แล้วปล่อยให้ตกลง สายเบ็ดจะถูกดึงขาดได้ เมื่อสายเบ็ดอยู่กับคัน แรงกระชากทันทีทันใดจะดึงคันเบ็ดให้โน้มลงก่อน แรงที่ดึงคันเบ็ดให้โน้มลงนี้จะเพิ่มขึ้นในอัตราก้าวหน้าด้วย แรงกระตุกที่สายเบ็ดจะไม่เพิ่มขึ้นอย่างทันทีทันใด สายเบ็ดจะทนแรงดึงได้เต็มที่ตามกำลังของมันทำหน้าที่เป็นคานสำหรับวัดเบ็ดคิดถึงสภาพการตกปลาที่สมบูรณ์ที่สุด สายเบ็ดซึ่งเป็นเครื่องเชื่อมโยงระหว่างนักตกปลากับตัวเบ็ดจะต้องตึงตลอดเวลา เมื่อปลากินเหยื่อ นักตกปลากระตุกสายเบ็ดเป็นระยะทางสั้น ๆ ก็เพียงพอสำหรับฝังคมเบ็ดเข้าไปในปากปลาจนมิดเงี่ยง แต่ในสภาพความเป็นจริงแล้ว สายเบ็ดจะไม่ตึงอยู่ตลอดเวลา กระแสลม กระแสน้ำจะทำให้สายเบ็ดหย่อนตกท้องช้าง โดยเฉพาะการตกปลาโดยใช้ทุ่นลอยสายเบ็ดจะหย่อนมาก เมื่อบวกด้วยความยืดหยุ่นของสายเบ็ดเข้าด้วยแล้วปัญหาจะยิ่งซับซ้อนมากขึ้น ถ้าไม่ใช้คันเบ็ดช่วยวัดเบ็ดแล้ว ระยะทางการกระตุกสายเบ็ดด้วยมือเปล่าจะได้ระยะทางเต็มที่ประมาณ 2 ฟุต ซึ่งไม่เพียงพอที่จะฝังคมเบ็ด แต่ถ้าใช้คันเบ็ดยาว 6 ฟุต วัดเบ็ดเป็นมุมประมาณ 60 องศา ปลายคันเบ็ดจะดึงสายเบ็ดเคลื่อนที่ได้ถึง 6 ฟุต ซึ่งพอเพียงที่จะฝังคมเบ็ดลงในปากปลาได้ เมื่อบวกด้วยแรงเฉื่อยที่คันเบ็ดดึงให้ตัวเบ็ดเคลื่อนที่ต่อไปได้แล้ว นักตกปลาย่อมมีโอกาสดีขึ้นนอกจากหน้าที่ใหญ่สามประการที่กล่าวมาแล้ว คันเบ็ดยังทำหน้าที่อื่นอีก เช่น ช่วยยกเหยื่อหรือปลาเล็กที่ตกได้ให้พ้นสิ่งกีดขวางชายตลิ่ง ช่วยบอกว่าปลากินเบ็ดแล้วโดยดูจากปลายคันที่สั่นไหว
ภาพที่ 2ความยาวของคันเบ็ด
เพื่อให้พิจารณาเรื่องความยาวของคันเบ็ดได้ง่ายเข้า เราสมมติให้คันเบ็ดเป็นรัศมีของวงกลมซึ่งมีจุดศูนย์กลางอยู่ตรงมือจับ เมื่อเหวี่ยงเบ็ดคันเบ็ดจะเคลื่อนที่วัดได้เป็นมุมระหว่างตำแหน่งเหวี่ยงกลับหลังสุดไปถึงตำแหน่งเมื่อคันเบ็ดหยุดนิ่งด้านหน้า เมื่อมองภาพเช่นนี้จะเห็นได้ว่าในมุมเท่ากัน ในเวลาเท่ากัน คันเบ็ดที่ยาวกว่าจะมีปลายคันเคลื่อนที่ไปเป็นระยะทางมากกว่าคันสั้น ถ้ามุมที่คันเบ็ดเคลื่อนที่ไปนี้เท่ากับ 90 องศา คันยาว 6 ฟุต ปลายคันจะเคลื่อนที่ไป 2 x 22 x 6 หารด้วย 4 x 7 หรือ 9.4 ฟุต แต่ถ้าคันเบ็ดยาว 7 ฟุต ปลายคันเบ็ดจะเคลื่อนที่ไปได้ 11 ฟุต ดังนั้นเราอาจสรุปว่า (เมื่อองค์ประกอบอื่นเท่ากัน) คันเบ็ดยาวจะเหวี่ยงเหยื่อออกไปได้ไกลกว่าคันสั้น ทั้งนี้เพราะเหยื่อเริ่มเคลื่อนที่ออกไปด้วยความเร็วสูงกว่าถ้าเช่นนั้นคันเบ็ดยิ่งยาวยิ่งดีหรือ เปล่าเลย การสรุปเช่นนี้เป็นจริงเพียงเรื่องเดียวเท่านั้นเอง ถ้ามองอีกแง่หนึ่งจะเห็นได้ว่าคันเบ็ดยิ่งยาว นักตกปลาจะต้องออกแรงเหวี่ยงมากขึ้น และเมื่อปลากินเบ็ดแล้ว นักตกปลาที่ใช้คันเบ็ดยาวจะต้องออกแรงสู้กับปลามากขึ้นอีกเหมือนกัน เนื่องจากคันเบ็ดมีลักษณะเป็นคานงัด ถ้าพูดตามภาษาฟิสิกส์ ระยะทางจากปลายคานงัดถึงจุดฟัลครัมยาวขึ้นถ้าเช่นนั้นคันเบ็ดยาวเท่าไรถึงจะดึงในเมื่อสูตรคณิตศาสตร์หรือฟิสิกส์ก็บอกอะไรไม่ได้ จากการทดลองและหาค่าเฉลี่ย (คราวนี้สถิติ) คันเบทคาสติ้งควรยาว 5 - 6 ฟุต คันสปินนิ่ง 6 - 7 ฟุต และคันสปินคาสติ้ง อยู่ระหว่างกลาง นักตกปลาต้องใช้วิจารณญาณเอาเองเมื่อต้องการใช้คันเบ็ดแปลกไปจากนี้ เช่นเมื่อต้องการเหวี่ยงเหยื่อที่เบามากโดยคันสปินนิ่ง อาจต้องชั้นเบ็ดยาวออกไปเป็น 8 ฟุต หรือถ้าจำเป็นต้องใช้คันเบ็ดในที่จำกัดมีสิ่งกีดขวางทั้งด้านข้างด้านบนมาก ก็ลดความยาวของคันเบ็ดลงเป็น 5 ฟุตครึ่ง
ภาพที่ 3แอ็คชั่นของคันเบ็ด
ลองถามนักตกปลาดูสิบคนว่าแอ็คชั่นของคันเบ็ดคืออะไร คุณอาจจะได้คำตอบออกมา 10 อย่างโดยไม่ซ้ำกันเลย คราวนี้ลองอีกที เอาคันเบ็ดคันเดียวกันให้นักตกปลาทั้ง 10 คน ลองใช้เหวี่ยงดูแล้วถามว่าแอ็คชั่นเป็นอย่างไร คุณจะแปลกใจอีกว่าคำตอบที่ออกมาก็ไม่เหมือนกันอีกอยู่นั่นแหละแอ็คชั่นของคันเบ็ดโดยเนื้อแท้แล้วคือลักษณะการโค้งของคันเบ็ดเมื่อมีแรงกระทำจากภายนอกคันเบ็ดรุ่นเดียวกัน ความยาวเท่ากัน น้ำหนักเหวี่ยงเท่ากัน รูปทรงภายนอกอย่างเดียวกัน แต่แอ็คชั่นต่างกัน เมื่อคุณแขวนน้ำหนักเท่ากันไว้ที่ปลายคัน คันเบ็ดแอ็คชั่น A จะโค้งงอลงมาถึงตรงส่วนนับจากปลายคันประมาณ 1/3 คันที่มีแอ็คชั่น B จะโค้งถึง ½ และคันแอ็คชั่น C จะโค้งเข้ามาถึง 2/3 ของความยาวการที่คันเบ็ดมีแอ็คชั่นต่างกันนี้ เนื่องจากในการสร้างคันเบ็ด ผู้สร้างออกแบบให้เนื้อวัสดุที่ใช้ทำคันเบ็ดหนาบางต่างกันภายในแอ็คชั่นของคันเบ็ดแทนที่จะเรียกเป็น A, B หรือ C ตามที่กล่าวแล้ว ยังมีวิธีเรียกอย่างอื่นต่างไปอีก เช่น
FAST, MEDIUM, SLOW ACTION
HEAVY, MEDIUM, LIGHT ACTION
STIFF, MEDIUM, LIMBER ACTION
PROGRESSIVE TAPER, FAST TAPER
ผู้ผลิตบางรายมีศัพท์เฉพาะสำหรับเรียกแอ็คชั่นคันเบ็ดของตัวเอง เช่น ABU มีคันเบ็ด แอ็คชั่นซูม และพาราซูม คัน Fly มีชื่อแอ็คชั่นเฮวิท และพาราโบลิค แต่ข้อเท็จจริงที่ต้องระลึกไว้คือไม่มีมาตรฐานสากลสำหรับแอ็คชั่น ผู้ผลิตรายหนึ่งอาจเรียกแอ็คชั่นของตนว่าแอ็คชั่น A แต่คันเบ็ดคันเดียวกันนั้น ผู้ผลิตอีกรายเรียกว่า แอ็คชั่น B เท่านั้น
ภาพที่ 4แอ็คชั่นของคันเบ็ดกับนักตกปลา
นักตกปลามือใหม่จะไม่มีความเห็นเกี่ยวกับแอ็คชั่นเท่าใดนัก การเลือกคันแอ็คชั่น B หรือ MEDIUM นับเป็นการฉลาดที่สุด ต่อเมื่อใช้คันเบ็ดนั้นจนชำนาญและสร้างนิสัยในการใช้ขึ้นแล้ว เขาจะรู้สึกเองว่าต้องการคันที่ แข็ง หรือ อ่อน กว่านั้น แต่นักตกปลาในบ้านเราอาจไม่มีทางเลือก เพราะยังไม่เคยเห็นร้านค้าไหนสั่งคันเบ็ดรุ่นเดียวกันเข้ามาครบทุกแอ็คชั่นเลย
ภาพที่ 5กำลังของคันเบ็ด
คันเบ็ดทุกคันถูกสร้างขึ้นมาโดยให้มีจุดหนึ่งซึ่งคันเบ็ดทำหน้าที่ได้เต็มที่คือทุก ๆ นิ้วของคันเบ็ดออกกำลังดึง ถ้าเลยจากจุดนั้นไปแล้วคันเบ็ดจะทำหน้าที่ไม่สมบูรณ์ ส่วนที่จะเริ่มหมดกำลังก่อนคือส่วนปลายของคัน โดยมันจะเหยียดออกเป็นเส้นตรงในทิศทางเดียวกับสายเบ็ด ไม่มีกำลังสปริงในตัว ตัวอย่างในเรื่องนี้คือ ใช้เหยื่อหนักเกินไป หรืออัดปลาใหญ่เกินไป เมื่อถึงจุดออกกำลังเต็มที่แล้วคันเบ็ดจะอยู่ในสภาพพร้อมที่จะหักได้ทุกเวลา นักตกปลาที่ใช้อุปกรณ์สมัยใหม่โชคดีที่อาจปรับเบรกช่วยได้โดยปกติผู้ผลิตจะไม่แจ้งกำลังของคันเบ็ด แต่จะแจ้งช่วงระยะที่คันเบ็ดทำงานได้ดีที่สุดไว้ เช่น คันเบ็ดสำหรับใช้เหวี่ยงจะมีอักษรบอก CASTING WEIGHT ไว้ที่คัน ถ้าคนเห็นข้อความว่า CASTING WEIGHT 10 - 20 กรัม หมายความว่า คันเบ็ดนั้นออกแบบมาให้ทำงานดีที่สุดเมื่อใช้เหยื่อหนัก 10 - 20 กรัม ช่วงการเหวี่ยงนี้อาจบอกได้ด้วยว่า คุณมีความชำนาญในการเหวี่ยงแค่ไหน ถ้าคุณต้องใช้น้ำหนักถึง 20 กรัม จึงได้ระยะทางการเหวี่ยงเต็มที่ แปลว่าคุณยังไม่ชำนาญเท่าใดนัก เพราะผู้เชี่ยวชาญอาจเหวี่ยงได้ระยะทางเท่ากัน โดยใช้เหยื่อน้ำหนักเพียง 10 กรัม เท่านั้นในคันเบ็ดทรอลลิ่ง ระบบการบอกกำลังของคันเบ็ดจะบอกเป็นขนาดของสายเบ็ดซึ่งเหมาะสมกับคันนั้น ที่เรียกกันว่าคัน 20 ปอนด์ หมายถึง คันออกแบบมาพอดีใช้กับสาย 20 ปอนด์เทสต์ถ้าคุณใช้สาย 30 ปอนด์ ใส่เข้าไป ปรับเบรกแน่นเต็มที่แล้วออกแรงดึง คันเบ็ดมีโอกาสหักก่อนที่สายจะขาด