.......เทคนิคการตกปลาแบบสะปิ๋ว.......
การตกสะปิ๋วแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ 1) การตกแบบหน้าดิน
2) การตกแบบลอยผิวดินถึงผิวน้ำ
1) การตกแบบหน้าดิน
จะเป็นการตกครอบคลุมปลาหลากหลายชนิด และ สามารถใช้ได้กับทุกสภาพพื้นที่ คือ ทั้ง หมายธรรมชาติ และบ่อตกปลา เป็นที่นิยมของผู้เริ่มตกปลาแบบสะปิ๋ว เพราะ อ่านทุ่นง่าย ตั้งทุ่นง่าย ไม่ยุ่งยาก ใช้เหยื่อได้ทั้ง เหยื่อหุ้ม(พวกรำ ปังป่น)
และเหยื่อเป็น(กุ้ง ใส้เดือน ใข่มด )
>> การประกอบปลายสาย
- ร้อยใลน์สตอปเปอร์ ที่มีขายสำเร็จ หรือจะใช้สายเอ็นมัดเป็นเงื่อนเอาก็ได้ แต่ไม่ควรใช้หนังยาง เพราะ
อาจรูดจนเสียระดับที่ตั้งความลึกใว้
- ใส่ทุ่นชิงหลิว เลือกใช้ขนาดเล็ก ถึงกลาง หรือตามสภาพแหล่งน้ำ แต่ส่วนตัวผม ชอบทุ่นเล็กๆ มีบางท่านนำไม้ยมมาทำ เพื่อให้ใวเมื่อจมลง หรือถอนตัวใวขึ้น ถ้าน้ำลึกควรใช้แบบ
ทุ่นรูดที่มีลูกหมุน แต่ถ้าน้ำตื้น เลือกใช้แบบทุ่นเสียบ ก็ได้ครับ
- ร้อย ใลน์สตอปเปอร์ เข้าไปอีกอันนึง เพื่อ กันทุ่นไม่ให้ใหลลงมากองที่ตะกั่ว และยังทำให้ตั้งทุ่นได้ใวขึ้น
- ใส่ตะกั่วฟิวส์ เข้าไป โดยที่ขนาดของตะกั่ว จะต้องทำให้ทุ่นจมลงได้ และ เมื่อปลามาอมเหยื่อยกตัวขึ้น
ไม่ทำให้ปลาเกิดกระดากปากจนคายเหยื่อ คือไม่ใหญ่นั่นเอง สามารถทำให้เห็นการขยับของเหยื่อผ่านทางทุ่นได้อย่างดี ก็คือขนาดของตะกั่วที่ดี
- นำลูกหมุนขนาดเล็ก แบบสองทางหรือทางเดียวมาผูก ส่วนตัวผม จะชอบลูกหมุนทางเดียวธรรมดา แล้วนำสายหลีดที่มัดขอเบ็ดตัวเล็กๆ ที่เลือกใว้ มาผูกให้มีความยาวจากขอเบ็ดถึงลูกหมุนซัก 2.3 นิ้ว โดยการผูกสายหลีดที่ลูกหมุน แล้วเหลือปลายสายยาวๆ อีกด้านหนึ่ง เพื่อมัดขอเบ็ดเพิ่มอีกหนึ่งขอ ที่ความยาว ซัก 2.5 นิ้ว จะทำให้ได้ขอเบ็ดที่มัดเป็นรูปตัว U ที่มีข้อดีคือ สายหลีดไม่พันกัน วัดปลาติดดี และสายไม่ค่อยบิดตัวจนงอหงิก
>> การตั้งทุ่น
- รูดใลน์สตอปเปอร์ กะความสูงว่าต่ำกว่าระดับน้ำที่เราจะตก อาจจะใช้ซัก สองศอกก่อน แล้วนำดินข้างๆมาหุ้ม อย่าพึ่งหุ้มด้วยเหยื่อหุ้มนะครับ เด๋วมีผิดคิว
- โยนลงไปที่ตำแหน่งที่เราจะตกจริง ดูว่าทุ่นจมหรือไม่ เมื่อทุ่นจม ให้นำขึ้นมา รูดใลน์สตอปเปอร์ให้สูงขึ้นอีก แล้วโยนลงไปใหม่ ทำจนกว่า ทุ่นจะตั้งตรง แล้วให้ปรับใลน์ ให้หางทุ่นโผล่มาซักสองข้อ ก็แล้วแต่ชนิดทุ่นที่ใช้ครับ ส่วนตัวผมสองข้อ จะอ่านได้ดีกว่าครับเพราะผมใช้ทุ่นอันเล็กๆ
- หลังจากนั้น ทำการผสมเหยื่ออ่อย โดยอาจจะใช้หัวอาหารปลาดุกกับหัวอาหารปลากินพืช ผสมกัน แล้วเติมน้ำลงไปให้แฉะๆ สาดลงไปยังตำแหน่งที่จะตก อย่าอ่อยมากจนน่าเกลียด หรือทำให้คนข้างๆเขาว่าเอาครับ อ่อยน้อยๆ แต่บ่อยๆ สาดข้างหน้าที่นั่งอยู่ แล้วรอซักพัก ช่วงนี้ก็สังเกตุรอบๆข้างว่าเป็นอย่างใร แต่พยายามอย่าเคลื่อนใหวมากนัก เพราะปลาเกล็ดมักจะระแวงเมื่อเห็นเงาวูบวาบ อาจไม่ยอมเข้าก็ได้ ทำตัวเงียบๆ และคอยสังเกตุจะดีที่สุด
>> การอ่านทุ่น
1. ถ้าหากใช้เหยื่อหุ้ม เมื่อมีปลาเข้ามากินโดยการ ดูด พ่น ที่ก้อนเหยื่อ ทุ่นจะขยับตัวขึ้นๆลงๆ ถ้าหากทุ่นจมอย่างแรง เพราะปลาคาบเหยื่อแล้วว่ายไป ให้วัดได้เลย ถ้าหากปลาดูด พ่นเหยื่อ แล้วคาบเหยื่อยกตัวขึ้นมา ทุ่นก็จะถอนตัวขึ้น จนนอนราบ ก็วัดได้เลยเช่นกัน ให้นั่งมองทุ่นให้ดีครับ พยายามมีสมาธิกับการสังเกตุทุ่น ไม่งั้นอาจวัดไม่ทันก็ได้ เพราะปลาบางตัวเมื่อคาบเหยื่อ หรือดูดเข้าปากจนทุ่นจมแรงๆ อาจคายทิ้งทันทีได้เช่นกัน ทำให้อดได้ตัวถ้าวัดไม่ทัน
2. กรณีใช้เหยื่อเป็น ส่วนมากปลาจะเข้ามางาบแล้วรีบว่ายหนี เพราะไม่งั้นตัวอื่นๆจะเข้ามาแย่ง จึงทำให้ทุ่นจมซะส่วนมาก ก็วัดได้เลย
2) การตกแบบผิวดินถึงผิวน้ำ
จะเป็นการตกแบบทุ่นลอย เพียงแต่เราให้เหยื่อลอยระดับหน้าดินจนถึงผิวน้ำ เพื่อให้เหยื่ออยู่เหนือขี้โคลน อย่างเช่นในบ่อตกปลาที่ขี้โคลนมาก หรือสำหรับปลาที่กินเหยื่อยากส์ หรือปลาที่หากินระดับกลางน้ำถึงผิวน้ำ
>> การประกอบปลายสาย
- ประกอบใลน์ และทุ่นชิงหลิว โดยตั้งใลน์ซัก หนึ่งศอกใว้ก่อน และทุ่นให้ใช้ทุ่นที่มีหางทุ่นยาวซักหน่อย อาจจะซัก 3.5 นิ้วเป็นอย่างน้อย สำหรับทุ่นเล็ก ก็ให้เลือกใช้กันเอาเองครับ แต่เน้นที่หางทุ่นยาวกว่าแบบการตกแบบหน้าดินซักหน่อย แล้วประกอบใลน์ตัวล่างเข้าไปอีกหนึ่งอัน
- หาลูกหมุนมาอันหนึ่ง ทำการวัดการตั้งทุ่น โดยการใช้ลูกหมุนตัวขนาดเล็กก่อน ผูกเข้าไป แล้วโยนลงน้ำ ดูว่า ทุ่นจมหรือไม่ คือว่าเราต้องให้ทุ่นจมระดับตัวทุ่น แต่ให้หางโผล่ทั้งหมด ถ้าหากลูกหมุนเล็กเกินจนไม่ทำให้ทุ่นจม ก็เอาขึ้นมาเปลี่ยนลูกหมุนที่มีขนาดใหญ่ขึ้นมาหน่อย แล้วทำการโยนลงไปเพื่อดูการจมของทุ่นใหม่ ทำแบบนี้จนกว่าจะได้ขนาดของลูกหมุนที่ทำให้ทุ่นจมเฉพาะตัวทุ่น
- นำตะกั่วฟิวส์มาพันเข้าไป แล้วทำการโยนลงไปเพื่อตั้งระดับหางทุ่น โดย หางทุ่นควรจะโผล่ขึ้นมาซัก สี่ข้อ โดยส่วนตัวของผมใช้ขนาดนี้ ท่านจะปรับเปลี่ยนได้เลยครับแต่ให้คำนึงถึงขนาดเหยื่อที่ใส่เข้าไปว่าจะทำให้ทุ่นจมลงมิดไม่เห็นหางทุ่นหรือไม่นะครับถ้าใช้ระดับหางทุ่นต่ำๆ ถ้าหากระดับหางทุ่นไม่ได้ตามนี้ ก็ให้เอาขึ้นมา แล้วตัดตะกั่วฟิวส์ที่พันออกทีละน้อย แล้วทำเช่นนี้จนได้ระดับหางทุ่นที่ต้องการ
- นำขอเบ็ดที่มัดสายเอ็นหลีดยาวอย่างต่ำ 4 นิ้วผูกลูกหมุน
- ลองนำดินข้างๆ มาหุ้ม แล้วโยนลงไป กะให้เห็นหางทุ่นซักสองข้อ โดยปรับขนาดก้อนดิน และถ้าตกจริงก็ให้ขนาดเหยื่อหุ้มเท่าๆกับดินที่เราหุ้มลองนี้ครับ แต่ถ้าเหยื่อเป็นจะจมลงไม่มากเท่าใหร่ ก็ถือว่าได้ครับ ดีด้วย
- ถ้าหากต้องการให้เหยื่อลงไปจนถึงผิวดิน ก็ให้ปรับ ใลน์ขึ้นไป แล้วทำการวัดระดับ จนได้ตามต้องการ
- แล้วก็ทำการอ่อย แต่ว่า โดยมากแล้ว เราจะวางเหยื่อตรงที่เราเห็นตัวปลามันขึ้นน้ำ และมักจะวางเหยื่อใกลฝั่ง การอ่อยจึงมักไม่ค่อยเห็นผลเท่าใหร่ ในกรณีที่เราตั้งใลน์กลางน้ำถึงผิวน้ำนะครับ แต่ถ้าเป็นใกล้ๆฝั่ง จะได้ผลดีครับ วัดติดง่ายกว่าด้วย โดยใช้ระดับผิวดินเป็นหลัก
>> การอ่านทุ่น
- กรณีที่ใช้เหยื่อหุ้ม ปลาเข้ามากินเหยื่อ โดยดูด พ่น ตอด ทุ่นก็จะขยับวนๆ ขึ้นๆลงๆ ถ้ามันคาบเหยื่อแล้วว่ายลง
ทุ่นก็จะจม ให้วัดเลย ถ้าปลาคาบเหยื่อ ดุนๆเหยื่อ ไปข้างหน้าคาบแล้วว่ายไป ทุ่นมักจะเคลื่อนออกไป ที่เรียกว่าทุ่นเดิน วัดได้เลยครับ แต่ถ้าคาบแล้วยกตัวขึ้นจนทุ่นถอนขึ้นมาก็วัดได้เช่นกัน แต่โดยมาก การตกแบบทุ่นลอยนี้ มักใช้เหยื่อเป็นมากกว่าครับ เพราะเหยื่อหุ้ม ถ้าไม่ใช่จำพวก หัวอาหารแล้ว ถ้าเป็นรำ จะละลายหลุดจากขอเบ็ดเร็ว จึงไม่ค่อยดีเท่าใหร่ แต่ก็เห็นใช้กันนะครับ แล้วแต่ครับ เลือกใช้เอาเถอะ
- เหยื่อเป็น ปลามันมักจะเข้ามาคาบ มางับ แล้วว่ายหนีลงไป ทุ่นจึงมักจมอย่างเดียว วัดได้เลยครับ แต่ก็มีนะครับประเภททุ่นถอนขึ้นมาก่อน แล้วจมพรวดลงไปวัดได้เลยครับ