สยามฟิชชิ่ง
หน้าแรก|กระดาน|รีวิว|ประมูล|ตลาด|เปิดท้าย
login | สมัครสมาชิก | วิธีสมัครสมาชิก | ลืมชื่อ/รหัส | login ไม่ได้? | 7 พ.ย. 67
ปลามองเห็นสีได้หรือไม่? : Fishing Article
 ห้องบทความ/เทคนิค > บทความตกปลา
ความเห็น: 24 - [15 พ.ย. 54, 10:14] ดู: 11,247 - [7 พ.ย. 67, 13:57] โหวต: 12
ปลามองเห็นสีได้หรือไม่?
peice89 offline
4 พ.ค. 51, 20:31
1
ปลามองเห็นสีได้หรือไม่?
ภาพที่ 1
นักวิทยาศาสตร์หลายคนคิดว่ามันเห็น เมื่อคุณรู้แล้วคุณจะนำมันไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างไร

อย่างที่บรรดานักตกปลาทั้งหลายรู้ เหยื่อปลอมต่างๆถูกผลิตออกมาให้มีสีสัน หลากหลายมากมายดูดึงดูดใจ แต่ทว่าปลาจะมองเห็นสีเหล่านั้นหรือไม่ และที่สำคัญกว่าคือจะตอบสนองต่อมันหรือเปล่า? เป็นเรื่องที่ถูกถกเถียงกันมายาวนาน  เคยมีบริษัทผู้ผลิตเหยื่อ offshore trolling ที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งบอกกับผมด้วยความมั่นใจว่า “คุณสามารถจะใช้เหยื่อสีอะไรก็ได้ในการลากเหยื่อตกปลาในเขตน้ำลึก (offshore) เพราะว่าปลาจะถูกล่อให้ strike เหยื่อจาก action ของเหยื่อ ไม่ใช่จากสีสันของมัน”
ส่วนอีกด้านหนึ่งกลับคิดตรงกันข้าม ผู้เชี่ยวชาญ จากบริษัทผลิตเหยื่อปลอมสำหรับเขตน้ำตื้น (Inshore) เชื่อว่า ปลานั้นสามารถรับรู้ถึงความแตกต่างของสีสันได้จริง ทำให้หัวใจหลักในการออกแบบผลิตเหยื่อปลอมของบริษัทนี้นั้นจะพยายามให้มีสีสันที่เหมือนปลาเหยื่อจริงๆที่สุด

แล้วทางวิทยาศาสตร์ละว่าอย่างไร?
Dr. Linda Farmer ผู้อำนวยการ คณะวิทยาศาสตร์ทางทะเล และบรรยากาศ โครงการอุดมศึกษา แห่ง University of Miami กล่าวว่า “ส่วนที่มีผลที่สุดในเรื่องนี้ได้แก่ เรื่องเสปคตรัมของสีและ การเดินทางของแสงแดดในน้ำทะเล (เสปคตรัมสีของแสงแดด ประกอบด้วย สีม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด และแดง) ขณะที่แสงเดินทางในน้ำ แสงสีแดง(ซึ่งมีความยาวคลื่นมากที่สุด)จะถูกดูดกลืนไปก่อน ตามด้วยสีแสด สีเหลือง สีเขียว สีน้ำเงิน สีคราม และสีม่วง(ซึ่งมีความยาวคลื่นสั้นที่สุด) เป็นสีสุดท้าย มีผลทำให้ในท้องทะเลมืดมิดปราศจากแสง ณ ที่ความลึกหนึ่งเสมอ
ในทะเลสีแดงจะปรากฏเป็นสีดำจางๆ สีม่วงจะสามารถเดินทางลงไปได้ลึกที่สุด” ส่วนแสงจะเดินทางลงไปได้ลึกเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับความใสสะอาดของน้ำ ความเข้มของแสง และปัจจัยอื่นอีกเล็กน้อย
ความซับซ้อนเรื่องการมองเห็นของปลานั้น น่าจะมีความแตกต่างกันไปตามสายพันธุ์ต่างๆ ผู้เชี่ยวชาญบางคนเชื่อว่า ปลาจำพวก กระโทง ทูน่า วาฮู และอีโต้มอญ นั้นตาบอดสี มันจะสามารถจำแนกความแตกต่างระหว่างวัตถุและฉากหลังจากความแตกต่างของระดับสี (contrast) ของวัตถุในภาพที่มันมองเห็น พวกปลาเหล่านี้นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าตาของพวกมันมีเซลประสาทที่มีความไวต่อสีสองสี ได้แก่ สีน้ำเงินและสีเหลือง
Dr. Farmer ยังเชื่อว่า ปลาในเขตน้ำตื้น บางชนิด จะสามารถรับรู้ สีได้มากกว่าสองสี อาจจะมากถึงสี่สีก็ได้ ซึ่งสามารถทำให้มันรับรู้สีได้หลายสีมากขึ้น และมองเห็นวัตถุที่สว่างหรือมืดแยกออกจากฉากหลังได้ด้วย
จากความรู้เหล่านี้ ผมได้ปรึกษาหารือกับเหล่านักตกปลาที่ประสบความสำเร็จเพื่อเป็นแนวทางที่จะนำไปปฏิบัติต่อไป
หลักฐานจากเหล่านักตกปลา Offshore
“เหยื่อที่ประกอบด้วยสีม่วง สีเงิน และสีดำเท่านั้นที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ”  Frank Johnson แห่งบริษัท Mold Craft กล่าวไว้ “ถ้าให้ผมเลือกสีใดสีหนึ่ง สำหรับเหยื่อปลากระโทง มันจะต้องเป็นสีม่วงอย่างแน่นอน ไม่ใช่ว่าเราจะขายเหยื่อสีนี้มากที่สุดเท่านั้น แต่มีนักตกปลาใช้มันทั่วโลก และยอมรับว่ามันได้ผลจริง ฉะนั้นคงต้องมีเหตุผลอะไรสักประการที่เกี่ยวข้องกับสีๆนี้”
เมื่อกลับไปพิจารณาเรื่อง ปลาในเขต offshore น่าจะมองเห็นวัตถุจากรูปร่างและเงา(shade)มากกว่าสีนั้น เป็นไปได้ว่าสีม่วงนั้นสามารถให้ ความชัดเจนของระดับแตกต่าง(contrast) ได้จากภาพที่ฉากหลังเป็นท้องฟ้าสว่าง หรือทะเลสีน้ำเงิน หรือบางคนก็อาจจะบอกว่าเหยื่อที่มีสีม่วงแท้นั้นจะมีความเข้มจางใกล้เคียงกับสีของปลาทูน่าขนาดเล็ก ซึ่งเป็นเหยื่อตามธรรมชาติของปลากระโทง ทำให้มีคำถามต่อไปอีกว่า ปลาน่าจะถูกจูงใจให้ล่าเหยื่อที่มี ลวดลายคล้ายอาหารตามธรรมชาติ มากว่าที่เลือกชนิดของเหยื่อ
ผมมีความเชื่อมั่นมานานแล้วที่จะใช้เหยื่อ trolling ที่มีสีสัน เหมือนกับอาหารตามธรรมชาติของปลาในแหล่งนั้นๆ สีที่ใช้เป็นประจำได้แก่ สีฟ้า หรือไม่ก็ สีฟ้ากับสีขาว ที่ผมคิดว่า เหมือนกับสีของปลานกกระจอก(ปลาบิน) และหากว่าถึงฤดูที่มีลูกปลาอีโต้มอญเยอะ ผมก็จะเพิ่มเหยื่อที่มีสี เขียว น้ำเงิน และเหลือง เข้าไปใน ชุดลากเหยื่อของผมด้วย
เสปคตรัมของแสงในเขตน้ำตื้น
Eric Bachnik CEO ของบริษัท L & S Bait Company เมือง Largo รัฐ Florida ผู้ผลิตเหยื่อ MirrOlure ผู้เป็นนักตกปลาแบบ light tackle ในเขตน้ำตื้น กล่าวว่า รูปแบบของเหยื่อที่ขายดีที่สุด ตลอด 65 ปีของบริษัทได้แก่ เหยื่อที่มีหัวสีแดงและลำตัวสีขาว ตามมาด้วย เหยื่อที่มีรูปแบบลายเกล็ดและมีสีคล้ายปลาซาดีนธรรมชาติ ในน้ำที่ใสปลาจะถูกดึงดูดโดยเหยื่อที่มี รูปแบบ (pattern) ที่เหมือนกับอาหารตามธรรมชาติด้ดีกว่าเนื่องจากมันใกล้เคียงกันสิ่งที่พวกมันกิน
ในบรรดาเหยื่อที่มีสีและลวดลายต่างๆมากมายที่ผลิตจากบริษัทของเขา Eric Bachnik เชื่อว่า ในวันที่ฟ้ามีเมฆมาก หรือ น้ำเป็นสีน้ำตาลขุ่น ปลาจะเห็นสีทองและสีเหลืองตอง (chartreuse) ได้ดี แต่ส่วนใหญ่มันมักจะพึ่งประสาทรับความสั่นสะเทือนของมันมากกว่า และในช่วงคืนเดือนมืดเขาชอบใช้เหยื่อที่มีสีดำ สีดำกับสีเงิน หรือไม่ก็สีดำกับสีม่วง เพราะเชื่อว่าปลาจะมองเห็นเงาของเหยื่อและเข้า strike ส่วนคืนที่สว่าง เขาจะเลือกเหยื่อที่มีลาย  holographic หรือไม่ก็ เหยื่อที่มีความเงาแบบกระจกเงา
หากตกปลาในเขตน้ำตื้น โดยเหยื่อ Plug เขาจะเลียนแบบเหยื่อตามอาหารธรรมชาติแถวนั้น และยิ่งถ้ามี ลูกเหยื่อชนิดใดมากๆ ปลาดูจะสนใจ สีที่เหมือนลูกเหยื่อนั้นเป็นพิเศษ
หากไม่ค่อยจะมีลูกเหยื่อ เขาจะหันกลับไปใช้เหยื่อลำตัวขาวหัวแดง 
มีเรื่องสองประการที่ค่อนข้างชัดเจน ได้แก่ ปลา(gamefish) มีการตอบสนองต่อสีสัน และเราก็มักจะใช้เหยื่อที่ตัวเราเองมีความเชื่อมั่นต่อไป แต่อย่างไรก็ตาม ความเพียรพยายามเสาะหาเหยื่อมี่สีสันโดนใจปลานับเป็นความท้าทายที่ดูเหมือนน่าสนุกสนานเป็นอย่างยิ่ง


กรุณา ลงทะเบียน และ login ก่อนส่งความเห็นครับ
siamfishing.com © 2024
siamfishing.com/content/view.php?cat=article&id=1179