... ความจริงหรือความเชื่อ กาวต้องเหลืองไหม ??? ...
ภาพที่ 1 ... เริ่มเรื่องกาว ... หลายวันก่อนได้มีโอกาสเข้าเมืองเพื่อไปดูของ เมื่อเสร็จงานเลยแวะไปเยี่ยมเยียนผู้ใหญ่ท่านหนึ่ง
ไปไหว้ส้มตามประสาของคนจีน ก็ไปนั่งโม้กับท่านหลังถ้วยกาแฟกันตามประสาคนสนิทกัน นั่งคุยเล่นกันถามไถ่สารทุกข์สุกดิบกันไป
ท่านปรารภว่า "รู้จักกล้องไซส์ เยน่า ใช่ไหม" ผมก็ยิ้มตอบ และท่านก็เล่าว่า มีการพูดคุยกันในส่วนของกล้องส่องพระ
ว่ารุ่นไหนแบบไหนดี เป็นหัวข้อสนทนา ไหลไปเรื่อยครับ เพราะคู่หรือจะบอกว่าคู่ก็ไม่ได้ครับ กลุ่มสนทนานั้นก็ระดับ 60+ ทั้งนั้น
ไม่ใช่เรตหนังนะครับ ท่านๆ เหล่านั้นระดับปลดเกษียณแล้วทั้งนั้น ผมฟังไปก็ยิ้มๆ ไป ท่านก็ถามว่าคิดเห็นยังไงเกี่ยวกับเรื่องนี้
คงเห็นผมเป็นพวกครูพักลักจำมา พอมีความรู้อยู่บ้าง ผมก็ตอบท่านไปตามที่ผมรู้มาเท่านั้น
ภาพที่ 2... กาวไม่เหลืองแท้ไหม ... หัวข้อสนทนาของผู้ใหญ่ในกลุ่มวันนั้นก็คือกล้อง Carl Zeiss Jena ต้องจำกัดตัวของมันไว้ที่
ยาดำและกาวเหลืองเท่านั้น นอกนั้นเป็นของปลอม 5555 (นี่คือเสียงของผมตอนได้ยินเรื่องนี้) หลังจากผมหัวเราะเสร็จแล้ว
อาเจ๊กก็ถามว่า "มรึงว่าไง ถูกตามที่เค้าบอกไหม"
"ไม่ถูก โครตมั่วเลย มั่วแบบไม่มีที่ติ ทำไมต้องยาดำ ทำไมต้องกาวเหลือง กล้องของจีน่า (เยน่า)
(อาเจ๊กท่านบอกว่าถ้าออกเสียงเยอรมันแล้วต้องเป็นเยน่า) มันมีกาวตั้งหลายแบบ ที่มันมีปัญหาก็เพราะกาวเหลืองนี่แหละ
ร้านเพชร เหมืองเพชรถึงได้ตีกลับมาเพียบ เพราะส่องแล้วทำให้สีเพชรเค้าเพี้ยน ไม่ได้สีที่ตรง ราคาเพชรมันหายไปเท่าไรละถ้าสีมันเพี้ยน"
ท่านหัวเราะเบาๆ "จริงหรือป่าว ของกรูกาวไม่เหลือง ไม่ยาดำ พอแกะมาให้มันดู มันบอกเลยว่าของเก๊"
งั้นผมซื้อต่อละกัน ให้ 5000 เลย ซื้อของเก๊ใช้ก็ได้ 5555.... "เค่าเป๋ ซี๋ซั๋วต๋า" คือคำตอบ
ภาพที่ 3... เล่าด้วยรูป ... ถ้าจะลากเรื่องนี้ก็ยาวไปครับ เอาเป็นว่าขอให้เชื่อรูปที่ผมลงให้ชมก่อนว่านี่คือของจริง
ของแท้ๆ จาก โรงงาน Carl Zeiss ซึ่งในรูปคือทั้งหมดของเลนส์ที่ผลิตออกมาขายให้กับคนใช้ในช่วงประมาณปี คศ. 1946-1962
ถ้าเชื่อในรูปที่ผมมาลงไว้ใช้ชมแล้วละก็ ทุกๆ เรื่องแทบจะไม่ต้องอธิบายเลยครับ เพราะรูปที่ลงไว้เป็นหลักฐานที่แทบจะไม่ต้องมาคัดง้างเลย
เลนส์ไซส์ มีทั้งแบบ กาวใส กาวออกขาว และกาวออกเหลือง เลนส์มีทั้งแบบ หนา-หนา , บาง-บาง , บาง-หนา และ หนา-บาง
ไม่ว่าแบบไหน ก็เป็นเลนส์ไซส์ทั้งสิ้น ใครจะชอบแบบไหนก็ชอบไป แล้วแต่ความชอบครับ แต่ชอบแบบไหนแล้วแบบอื่นที่ตัวเองไม่มีไปตีเค้าปลอม
ไปสวดเค้าแบบนี้ไม่ได้ครับ ไม่น่ารักครับ
ภาพที่ 4... Canada Balsam คือกาวเหลือง ... ดูจากภาพนี้ครับ แล้วลองดูด้านบนที่ฝากล่อง มันจะบอกไว้ว่าประกอบเลนส์ด้วยอะไรมี
Canada Balsam , Polyester , Urethan และ อื่นๆ ตัวที่ใช้ประกอบเลนส์มากที่สุดคือ Canada Balsam ซึ่งเป็นต้นเหตุแห่งการถกเถียง
กันสนั่นโต๊ะ Canada Balsam คือกาวยางไม้ชนิดหนึ่ง เป็นของราคาถูกในสมัยนั้นเมื่อเทียบกับ Polyester หรือ Urethan
แต่ปัญหาของกาวชนิดนี้คือ เมื่อตัวมันโดนอากาศจะเกิดอ๊อกไซด์ เปลี่ยนเป็นเนื้อสีเหลือง เป็นจุดหนึ่งที่ Zeiss โดนด่ามากที่สุด
อย่างที่กล่าวข้างต้นคือทำให้สีของวัสดุเพี้ยนจากของจริง โดนด่าเยอะมากครับ แต่ในสนามพระบ้านเราไม่มีผลครับ เอามาเลยรับได้แน่นอน
ภาพที่ 5... ก้าวข้ามความเชื่อ ... หลังจากเสร็จสิ้นการสนทนากับผู้ใหญ่ท่านนั้น ท่านเป็นหนึ่งในแรงกระตุ้นที่ทำให้อยากเขียน
ผมมานั่งคิดอยู่เป็นเดือนว่าจะเขียนเรื่องแบบนี้สักทีในเวบสยามฯ นี้ จะดีไหม ได้ไหม จะโดนด่าไหม เถียงผมได้นะครับ
ถกกันได้ครับ แต่ขอให้ทิ้งความเชื่อไว้ก่อน ทิ้งธงไว้ด้านหลัง มาดูความจริงจากภาพ มาวิเคราะห์เหตุและผลกัน แล้วเรามาถกกันดีไหมครับ ... Mr.Maku
ภาพที่ 6 ของแถมครับ ตัวในรูปนี้เป็นตัว ตัวถังเหล็กรุ่นแรกๆ ที่ออกมาปี คศ. 1926 ครับถูกต้องครับ 1926 ผมพิมพ์ไม่ผิดครับ
ตัวนี้ใช้ตัวประสานโดยอะครีลิค และไม่สีเหลืองของกาวให้เห็น ส่วนวิธีการดูเลนส์ยี่ห้อนี้ผมเคยเขียนไปแล้วครับ
และยังไม่มีการเลียนแบบวิธีการได้นะครับ ถ้าไม่ประกบเลนส์และตัดเลนส์ในแบบของไซส์ก็ยังไม่สามารถเลียนแบบได้ครับ
ไซส์เป็นกล้องที่ตรวจสอบเลนส์ง่ายที่สุดแล้วครับ ในบรรดากล้องทั้งหมดในตลาด ... Mr.Maku
ภาพที่ 7ภาพที่ 8 แก้ไข 19 เม.ย. 63, 20:15