ภาพที่ 1
พระกริ่ง 7 รอบ วัดบวรนิเวศวิหาร หรือ พระกริ่งพระพุทธชินสีห์ สร้างเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน ปี พ.ศ.2499 ในโอกาสฉลองพระชนมายุครบ 7 รอบ ของสมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ( ม.ร.ว.ชื่น นพวงศ์ ) องค์พระราชอุปัชฌาจารย์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 และในพิธีเททองหล่อพระกริ่งในครั้งนั้น ได้ทรงอาราธนาพระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ซึ่งทรงผนวชเป็นพระภิกษุในบวรพุทธศาสนา และทรงประทับอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหารทรงเป็นองค์ประธานเททองปฐมฤกษ์โดยเสด็จฯ แทนสมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ ซึ่งทรงพระประชวร ดังบันทึกตำนานวัดบวรนิเวศวิหาร ได้กล่าวถึงการสร้างพระกริ่ง 7 รอบไว้ดังนี้ภาพที่ 2
วันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ.2499 เวลา 20.30 น. เสด็จฯ พระอุโบสถทรงจุดธูปเทียนถวายสักการะพระพุทธชินสีห์ ไวยาวัจกรวัดถวายเทียนชนวน ซึ่งสมเด็จพระสังฆราชทรงจุดมาแล้ว ทรงรับเทียนชนวนนั้นจุดเทียนชัย เวลา 20.36 น. ในพิธีหล่อพระพุทธชินสีห์จำลองแทนองค์สมเด็จพระสังฆราช ซึ่งทรงประชวรไม่สามารถจะเสด็จมาได้ พระสงฆ์สวดพระคาถาจุดเทียนชัย มวลสารสำหรับหล่อพระครั้งนี้ประกอบด้วย แผ่นยันต์ลงอักขระและโลหะที่ใช้ผสมสำหรับหล่อพระก็ล้วนแต่เป็นโลหะมงคลทั้งสิ้น อาทิ เศษชิ้นส่วนพระพุทธรูปโบราณที่ชำรุด ทองเหลืองเนื้อแดง ขันลงหิน เงินบริสุทธิ์ และทองคำบริสุทธิ์ ที่นำมารีดเป็นแผ่นเพื่อลงอักขระที่เรียกว่า แผ่นทองคำเปลวภาพที่ 3
วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ.2499 เวลา 07.30 น. เสด็จฯ ศาลาหน้าพระอุโบสถด้านทิศตะวันตก ไวยาวัชกรวัดทูลเกล้าฯ ถวายแผ่นทองคำเปลว 84 แผ่น ทรงวางแผ่นทองคำเปลวลงในเบ้าเวลา 07.41 น. ทรงถือสายสิญจน์ ซึ่งโยงจากเบ้าเททองหล่อพระพุทธชินสีห์จำลองแทนองค์สมเด็จพระสังฆราช พระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา