หลวงพ่อปาน...รบกวนผู้ชำนาญชี้แนะ...
ภาพที่ 1 หลวงพ่อปาน เกิดเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2418 ในสมัยรัชกาลที่ 5 โยมบิดาชื่อ อาจ โยมมารดาชื่อ อิ่ม นามสกุล สุทธาวงศ์ ที่ย่านบางนมโค จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยอาชีพทางครอบครัว คือ ทำนา ในสมัยที่ท่านยังเป็นเด็กเล็ก มีประวัติมากมาย ใครอยากรู้ละเอียด ลองไปหาหนังสือ หลวงพ่อปาน ของ ท่านหลวงพ่อพระราชพรหมญาณ (วีระ ถาวโร หรือ หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ) ได้เล่าไว้ในหนังสือประวัติหลวงพ่อปาน มาอ่านดูครับ... พอปี 2439 ท่านอายุครบบวช ตามธรรมเนียมคนไทย บิดามารดาของท่าน จึงได้จัดการอุปสมบทท่านที่วัดบางปลาหมอ โดยมีหลวงพ่อสุ่น เป็นพระอุปัชฌาย์ และได้ศึกษาทางธรรม และวิทยาคม กับหลวงพ่อสุ่น ก่อนที่ท่านจะบวชนั้น มีเกร็ดเรื่องเล่า คล้ายๆกับหลายๆหลวงพ่อ หลวงปู่ ซึ่งไปหาอ่านได้จากหนังสือที่ได้แนะนำไปครับ... จากนั้นก็ได้ไปเล่าเรียนกับ อาจาย์จีน แห่งวัดเจ้าเจ็ด และหลวงพ่อปั้น วัดพิกุลโสกันต์ จนมีความเชี่ยวชาญทั้งในทางวิปัสสนา กรรมฐาน หลังจากนั้นก็ได้มาศึกษาเพิ่มเติม ที่สำนักวัดสระเกศ เขตภูเขาทองใน กรุงเทพฯ แล้วจึงได้กลับไปจำพรรษาที่วัด บางนมโค โดยได้จัดตั้งโรงเรียน เพื่อสอนเด็กๆในแถบวัดบางนมโค ท่านอยู่วัดบางนมโค จนได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส ด้วยการปฏิบัติตนอยู่ในพระธรรมวินัยที่เคร่งครัด จนเป็นที่เลื่อมใสแก่ชาวบ้าน และคณสงฆ์ ชื่อเสียงในทางรักษาคนด้วยท่านศึกษาตำรับตำราแพทย์แผนโบราณ มาเป็นจำนวนมาก ได้สงเคราะห์ คนในแถบบางนมโค และละแวกใกล้เคียงให้หายป่วยจากโรคาพยาธิเป็นจำนวนมาก จนมีฆราวาส ชื่อ แจง ได้เดินทางมาจาก อ.สวรรโลก จ.สุโขทัย นำตำราการสร้างพระพิมพ์ ทรงสัตว์ เป็นพาหนะมามอบให้ ในราวปี 2459 ท่านได้ศึกษา และเกิดความเลื่อมใส จึงได้จัดสร้างพระพิมพ์ทรงสัตว์ต่างๆ จำนวน 6 แบบ คือทรงไก่, ทรงครุฑ, ทรงหนุมาน, ทรงปลา, ทรงเม่น และทรงนก แต่ละพิมพ์ยังแยกย่อยออกไปอีกหลายพิมพ์ พิมพ์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือ “พิมพ์ทรงไก่”โดยได้ออกแจกให้สาธุชน และผู้เลื่อมใสท่าน ไว้ติดตัว โดยพระพิมพ์ของท่าน ชาวบ้านต่างก็ศรัทธา เมื่อท่านสิ้นบุญไปแล้ว ก็ได้มีการนำพระพิมพ์ของท่าน มาทำน้ำมนต์ เพื่อรักษาโรคภัยต่างๆ ซึ่งก็เป็นที่น่าอัศจรรย์ ด้วย โรคาพยาธิ ที่เป็นอยู่ก็หายไปอย่างน่าอัศจรรย์ คงด้วยบารมีของท่าน ที่ได้เมตตารักษาให้ หลวงพ่อปาน ได้เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรให้กับ ชาวบ้าน ร้านตลาด จนกระทั่งขุนน้ำขุนนาง ไม่เว้นแม้แต่เชื้อพระวงศ์ หลายท่าน ก็ได้ศรัทธาเลื่อมใส ในวัตรปฏิบัติ จนกระทั่ง ในปี 2478 ท่านได้อาพาธ และได้บอกกับบรรดาลูกศิษย์ว่า อีก 3 ปี ท่านจะมรณภาพ ซึ่งต่อมาในวันที่วันที่ 26 ก.ค.2481 ท่านก็ได้มรณภาพ ด้วยอาการสงบ เป็นที่เศร้าโศกเสียใจแก่บรรดาลูกศิษย์ลูกหา และชาวบ้านในแถบบางนมโค สิ่งที่ท่านเหลือไว้คือคุณงามความดี และพระพิมพ์ทรงสัตว์เป็นพาหนะ ทั้ง 6 แบบ ซึ่งเป็นที่แสวงหาแก่นักนิยมพระเครื่องกันอยู่ในทุกวันนี้
ภาพที่ 2 พระเครื่ององค์นี้ เรียกกันว่า ทรงนกบัวตุ่ม ครับท่าน ซึ่งพระทรงนก นี้ยังแยกเป็นอีกหลายแบบ โดยมี นกฐานเขียง นกสายบัว นกมารวิชัยหลังยันต์ ซึ่ง นกมารวิชัยหลังยนต์นี้จะหายาก และมีค่านิยมสูงที่สุด
ภาพที่ 3 เค้าว่ากันว่า พระของท่าน เป็นพระแบบมีเปลือก เนื้อละเอียด เป็นดินกรอง กรวดทรายมีขนาดเล็กมาก โดยด้านบนองค์พระมีการอุดด้วยผงวิเศษ ของท่าน
ภาพที่ 4 และไอ้เค้าคนที่ว่านี่ ก็ยังบอกอีกว่า พระพิมพ์ของท่านเป็นพระในพิมพ์บังคับ ไม่มีการตัดข้าง มีแต่ปาดขอบ และด้านหลัง...
ภาพที่ 5ส่วนองค์นี้จะเก๊แท้อย่างไร...ต้องให้อาจารย์ในนี้มาแนะนำครับท่าน...
แก้ไข 23 ก.ค. 61, 16:25