ภาพที่ 1 .
ภาพที่ 2.
ภาพที่ 3.
ภาพที่ 4สมเด็จอรหัง หลังโต๊ะกัง และ หลังจาร..พระดีที่ไม่ค่อยมีคนนิยม ...
การกำเนิดพระสมเด็จ อรหัง
นับ ตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้ทรงโปรดให้พระอาจารย์สุกหรือพระญาณสังวรเถระ มาอยู่ที่วัดราชสิทธารามหรือวัดพลับ ที่ อ. บางกอกใหญ่ นครหลวงฝั่งธนบุรี แล้ว ต่อมาวัดนี้ก็เจริญรุ่งเรืองขึ้นเป็นลำดับ การทรงผนวชของพระราชวงศ์แต่ละพระองค์นั้น ภายหลังมักจะเสด็จไปศึกษาวิปัสสนา ที่สำนักพระญาณสังวร ณ วัดราชสิทธารามอยู่เสมอ เช่นพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย, พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว, และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นั้น พระญาณสังวร สุก ไก่เถื่อน ก็ได้เป็นพระบรมราชาจารย์ของพระมหากษัตริย์ทั้ง 3 พระองค์นี้ด้วย
จาก การที่สมเด็จฯ ท่านยิ่งใหญ่ด้านอาคมขลังจนเป็นที่เลื่องลือกันไปทั่วนั้นจะเป็นด้วยทนการ วิงวอนจากบรรดาสานุศิษย์หรือผู้คนที่นับถือท่านมากราย อยากจะได้พระเครื่องของท่านไว้คุ้มครองบ้างก็ได้ ด้วยเหตุนี้เอง, พระเครื่องพิมพ์สี่เหลี่ยมผืนผ้าแบบชิ้นฟัก ซึ่งสร้างด้วยผงวิเศษสีขาวนั้น สมเด็จพระสังฆราชองค์นี้ จึงได้ให้กำเนิดพระสมเด็จดังกล่าวนี้ขึ้นมาเป็นครั้งแรก เมื่อประมาณ พ.ศ. 2360
เล่ากันว่า พระสมเด็จอรหัง ที่สมเด็จพระสังฆราชไก่เถื่อนได้เริ่มสร้างเป็นครั้งแรกนั้น ท่านยังดำรงตำแหน่งเป็นพระราชาคณะอยู่ที่วัดพลับ พระเครื่องพิมพ์สมเด็จฯส่วนหนึ่งเมื่อได้รับการปลุกเสกแล้ว ท่านก็แจกจ่ายให้ไปบูชากันโดยถ้วนทั่วและเป็นที่เข้าใจกันว่า พระสมเด็จอรหัง พิมพ์ปฐมฤกษ์นั้นก็คือ พิมพ์ เกศเปลวเพลิง ซึ่งด้านหลังจะไม่ปรากฏมีอักขระคำว่า อรหัง จารึกลงไว้เลย
สมเด็จพระ สังฆราชไก่เถื่อน ท่านได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์โดยการสร้างพระพิมพ์สมเด็จอรหังต่อมาอีก มีหลายพิมพ์ที่เสร็จแล้วท่านก็แจกสานุศิษย์ต่อไปโดยมิได้ลงกรุ แต่พระอีกจำนวนหนึ่งนั้น เมื่อท่านได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช และได้ย้ายมาอยู่ที่วัดมหาธาตุแล้ว ก็เข้าใจว่าพระสมเด็จอรหังส่วนหลังนั้น ท่านคงได้นำมาบรรจุไว้ในเจดีย์ที่วัดมหาธาตุแห่งนี้ไว้เป็นจำนวนมาก...
แก้ไข 1 ก.ค. 61, 23:15