... ปิดตาหลังยันต์เฑาะ ลป.เพิ่ม ...
ภาพที่ 1ประวัติหลวงปู่เพิ่ม ปุณณวสโน วัดกลางบางแก้ว
พระพุทธวิถีนายก (หลวงปู่เพิ่ม ปุณณวสโน) นามเดิมว่า "เพิ่ม" ท่านเกิดเมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ.2429 ที่ตำบลไทยวาส
อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม โยมบิดาชื่อ เกิด โยมมารดาชื่อ วรรณ ท่านบรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุได้ 8 ขวบ
สืบต่อมาจนอายุครบบวช จึงได้อุปสมบทในวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ.2450 ณ พัทธสีมาวัดกลางบางแก้ว โดยมีสมเด็จพระสังฆราชแพ
ครั้งยังดำรงสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระวันรัต วัดสุทัศน์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการจอม เจ้าอาวาสวัดตุ๊กตา
เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูทักษิณานุกิจ วัดสรรเพชญ์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์
ภาพที่ 2เมื่อท่านอุปสมบทแล้วก็ได้เล่าเรียนพระธรรมวินัยอยู่ที่วัดกลางบางแก้วตลอดมาและถือได้ว่า หลวงปู่เพิ่ม ท่านเป็นศิษย์
ที่ใกล้ชิดหลวงปู่บุญมากที่สุด เพราะท่านบวชเป็นสามเณรตั้งแต่อายุ 8 ขวบ ก็อยู่ปฏิบัติรับใช้หลวงปู่บุญมาตลอดจนกระทั่ง
หลวงปู่บุญมรณภาพ เป็นเวลาถึง 39 ปี ตลอดเวลานั้นท่านได้รับการถ่ายทอดวิชาความรู้ทั้งทางด้านคันถธุระและวิปัสสนาธุระ
ตลอดจนเวทวิทยาคมต่างๆ ไว้มากมาย หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว ท่านเป็นพระสงฆ์ที่บริสุทธิ์ผุดผ่องด้วยศีล สมาธิและปัญญาธรรม
เปลี่ยมล้นไปด้วยเมตตาธรรม หมดสิ้นกิเลสทั้งปวง หลวงปู่เพิ่ม ท่านเป็นพระที่พูดจาไพเราะอ่อนหวาน
สำเนียงของท่านนั้นมีแววความเมตตาผสานเอาไว้ใครได้ฟังแล้วจะรู้สึกชุ่มชื่นใจ ใครๆ ได้สนทนากับท่านแล้วจะรู้สึกเคารพศรัทธาท่านทุกคนไป
ภาพที่ 3เบี้ยแก้ : สายวัดกลางบางแก้ว เป็นหนึ่งไม่เป็นสองรองใคร จากหลวงปู่บุญ มาถึงหลวงปู่เพิ่ม แล้วยังมาถึงหลวงพ่อเจือ
เบี้ยแก้สายนี้เป็นที่ยอมรับตลอดมาจนปัจจุบัน และเป็นเครื่องรางอีกชี้นหนึ่งที่มีผู้อยากครอบครองมากมาย หาเล่นยากนะครับ
เพราะว่าเมื่อปีที่แล้วไปที่วัด มีกันให้เกลื่อนหน้าวัด ทุกตัวทั้งหลวงพ่อเจือทั้งสิ้น แผงพระนั้นมีอยู่สี่หรือห้าแผง ทันหลวงพ่อทุกแผง
ก็มีของไม่น้อยกว่าสองสามร้อยตัวครับ ลามไปถึงตลาดพระที่องค์พระปฐมเจดีย์ ที่นั่นมีเบี้ยแบบเดียวกันอีกเป็นร้อยๆ ตัว
เห็นแล้วก็ถอนใจ ผมยังโชคดีที่มีเก็บไว้หนึ่งชิ้น
ตั้งแต่หลวงพ่อเจือยังอยู่ตอนนั้นไปเอาถึงวัด เพราะต้องสั่งไว้ตามจำนวนเพื่อจะให้เด็กนักเรียนพันด้ายครอบเบี้ยไว้
เมื่อได้จำนวนมากพอหลวงพ่อจะนำมาปลุกเศก และในคืนก่อนที่เราจะไปหลวงพ่อเจือจะนำมาจารพร้อมกับเสกอีกครั้ง
การจารหลวงพ่อแค่เอาเหล็กจารจี้ลงไปบนตัวเบี้ยแล้วก็ว่าคาถากำกับ
....เอ้า เพลินไปหน่อย ไว้จะถ่ายรูปมาให้ดูเล่นๆ กันครับกับเบี้ยแก้ชิ้นนี้
ภาพที่ 4ปิดตาหลังยันต์เฑาะ : พระพิมพ์ปิดตานี้ มีขนาดกะทัดรัดเหมาะสำหรับผู้หญิงและเด็กๆ ลักษณะอยู่ในกรอบทรงคล้ายรูปไข่
องค์พระอวบอ้วนนั่งฐาน ที่ท้องของพระมีอักขระ "เฑาะว์มหาอุด" ด้านหลังเป็นยันต์ "เฑาะว์มหาพรหม" มีเส้นขอบรอบองค์พระ
ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง จัดสร้างรวม 3,000 องค์ แยกเป็น 2 เนื้อ คือ เนื้อผงผสมผงใบลาน (สีเทาอมดำ)
และเนื้อผงผสมเกสรดอกไม้ 9 ชนิด (สีเหลืองนวล) สำหรับมวลสารนั้น นอกจากจะประกอบด้วยผงเก่าของหลวงปู่บุญ
และหลวงปู่เพิ่มแล้ว ยังมีลูกอมของหลวงปู่บุญที่เหลืออยู่มาบดผสมลงไปร่วมกับผงเก่าจากวัดใหม่สุคนธารามจำนวนหนึ่งด้วย
ซึ่งเนื้อพระปิดตารุ่นนี้ จะมีความแกร่ง แข็งเป็นพิเศษ เพราะตำผงได้ละเอียด และมีส่วนผสมดีมาก
(ข้อมูลจากหนังสือ พิพิธภัณฑ์พระพุทธวิถีนายก วัดกลางบางแก้ว โดย สุธน ศรีหิรัญ พิมพ์ครั้งที่ 2 เดือนมกราคม 2538)
ภาพที่ 5ราคาที่หน้ากล่องในสมัยนั้นนะครับ ผมยังเก็บกล่องนี้ไว้เพราะกลัวว่าจะจำไม่ได้ว่าเอามาจากไหน เป็นพระคู่กันมากับปิดตาองค์เล็ก
ของหลวงปู่ทิมได้มาก็เก็บไว้ ว่าจะไว้ให้เด็กๆ ใช้ครับ องค์ที่ผมได้มานั้นแม้ว่าจะหย่อนความสวยไปสักนิด แต่เรื่องพุทธคุณไม่หย่อน
ไปกว่าพระองค์ไหนเลยนะครับ ตอนนั้นมีมาสองชิ้นเป็นเนื้อใบลานหนึ่งชิ้น พอดีอยู่กับพี่ที่สนิทกันจึงแบ่งกันไปคนละชิ้น
ถ้าแกไม่อยู่ผมอาจจะได้ไว้ทั้งสององค์ สองเนื้อ
ปิดตาองค์นี้จัดได้ว่ามีส่วนผสมของหลวงปู่บุญอยู่มาก ใครที่มีโอกาสเจอห้ามพลาดด้วยประการทั้งปวงครับ Mr.maku...