สยามฟิชชิ่ง
หน้าแรก|กระดาน|รีวิว|ประมูล|ตลาด|เปิดท้าย
login | สมัครสมาชิก | วิธีสมัครสมาชิก | ลืมชื่อ/รหัส | login ไม่ได้? | 7 ม.ค. 68
สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว.ชื่น นภวงศ์) 2507 บล็อคกษาปณ์ : Amulet
 ห้องพระเครื่อง > พระเหรียญ
ความเห็น: 1 - [5 ส.ค. 57, 20:15] ดู: 2,390 - [6 ม.ค. 68, 22:41] โหวต: 1
สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว.ชื่น นภวงศ์) 2507 บล็อคกษาปณ์
notmis_p (39 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้) offline
5 ส.ค. 57, 15:13
1
สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์  (ม.ร.ว.ชื่น นภวงศ์) 2507 บล็อคกษาปณ์
ภาพที่ 1
เหรียญ พระบล็อคกษาปณ์  สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์  (ม.ร.ว.ชื่น นภวงศ์)

สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์  (ม.ร.ว. ชื่น นภวงศ์)
สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 13 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ประทับอยู่ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชเจ้าเมื่อปี พ.ศ. 2488 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทรงดำรงตำแหน่งอยู่ 14 พรรษา สิ้นพระชนม์ เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2501 พระชนมายุ 86 พรรษา

พระประวัติ
                สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ มีพระนามเดิมว่า หม่อมราชวงศ์ชื่น นพวงศ์ เป็นโอรสในหม่อมเจ้าถนอม นพวงศ์ และหม่อมเอม (สกุลเดิม คชเสนี) ประสูติเมื่อวันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2415 ภายในวังของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส (ต้นราชสกุลนพวงศ์) ส่วนหม่อมเอมพระชนนีนั้น เป็นธิดาพระยาดำรงค์ราชพลขันธ์ (จุ้ย) ซึ่งเป็นบุตรเจ้าพระยามหาโยธา (ทอเรียะ) บุตร เจ้าพระยามหาโยธานราธิบดีศรีพิชัยณรงค์(พญาเจ่ง) ต้นสกุลคชเสนี พระองค์ประสูตรในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงเป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์เป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมา ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฏราชกุมาร โดยทำหน้าที่เป็น คะเดท ทหารม้าในกรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภ มีหน้าที่ตามเสด็จรักษาพระองค์

              พระองค์บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ได้ทรงศึกษาพระปริยัติธรรมกับ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้ทรงเข้าสอบไล่ครั้งแรกเมื่อ ปี พ.ศ. 2433 ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม สอบไล่ได้เปรียญ 5 ประโยค ตั้งแต่ยังเป็นสามเณร ทรงอุปสมบทที่วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อปี พ.ศ. 2435 สอบได้เปรียญ 7 ประโยค. เมื่อปี พ.ศ. 2437 ได้รับโปรดเกล้าฯ ตั้งเป็นพระราชาคณะที่ พระสุคุณคณาภรณ์

              พระองค์ได้มีส่วนร่วมกับสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส มาตั้งแต่ต้น คือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชประสงค์บำรุงการศึกษามณฑลหัวเมือง ทรงอาราธนาสมเด็จพระมหาสมณเจ้า ให้ทรงเป็นผู้อำนวยการจัดการศึกษา มีการจัดพิมพ์แบบเรียนต่าง ๆ พระราชทานแก่พระภิกษุสงฆ์ ไปไว้ใช้ฝึกสอน ให้ยกโรงเรียนพุทธศาสนิกชนในหัวเมืองทั้งปวง มารวมขึ้นอยู่ในสมเด็จพระมหาสมณเจ้า เพื่อจะได้เป็นหมวดเดียวกัน พระองค์ขณะที่ดำรงสมณศักดิ์พระสุคุณคุณาภรณ์ ได้เป็นผู้อำนวยการศึกษามณฑลจันทบุรี ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2445ได้มีการออกพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. 121 อันเป็นผลเนื่องมาจากการจัดการพระศาสนา และการศึกษาในหัวเมือง พระองค์ก็ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะมณฑลจันทบุรี

พ.ศ. 2446 ได้เลื่อนสมณศักดิ์เสมอพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระญาณวราภรณ์
พ.ศ. 2455 ได้เลื่อนสมณศักดิ์เสมอพระราชาคณะชั้นธรรมในพระราชทินนามเดิม
พ.ศ. 2464 ได้รับสถาปนาสมณศักดิ์เสมอพระราชาคณะชั้นธรรมพิเศษในพระราชทินนามเดิม
พ.ศ. 2467 ได้เป็นเจ้าคณะมณฑลอยุธยา
พ.ศ. 2471 โปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะในพระราชทินนามพิเศษว่า สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์
พ.ศ. 2476 ทรงเป็นประธานมหาเถรสมาคม บัญชาการคณะสงฆ์แทนองค์สมเด็จพระสังฆราชเจ้า
พ.ศ. 2485 ทรงเป็นประธานคณะวินัยธร ตามพ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ. 2484

              พระองค์ทรงเป็นแม่กองสอบไล่พระปริยัติธรรมหลายครั้ง ทั้งในกรุงเทพฯ และหัวเมืองต่างจังหวัด เมื่อสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ชราและอาพาธ ก็ได้ทรงมอบหน้าที่เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุติ ให้ทรงบัญชาการแทน เมื่อปี พ.ศ. 2477 และเมื่อสมเด็จพระสังฆราชเจ้า ฯ สิ้นพระชนม์เมื่อปี พ.ศ. 2480 พระองค์ก็ได้ทรงเป็น เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุติสืบต่อมา และให้ทรงจัดการปกครองคณะธรรมยุติ ที่สำคัญหลายประการ

              ภายหลังการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทโว) พระองค์ได้รับการสถาปนาสมณศักดิ์ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราชเจ้า เมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2488ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล [1] ต่อมา เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2499 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้สถาปนาพระอิสริยยศขึ้นเป็นพระองค์เจ้าต่างกรม พร้อมเฉลิมพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า[2]

              "สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ วิสุทธิสงฆคุณาลังการอริยวงศาคตญาณวิมล สกลมหาสังฆปรินายก ตรีปิฎกกลากุสโลภาส ภูมิพลมหาราชหิโตปัธยาจารย์ สุจิตตาภิธานสังฆวิสุต มหามกุฎมหาราชประนัปดา นพวงศราชกุลาภิวรรธน์ สุขุมอรรถธรรมวิจารปรีชา กาพรจนาฉันทพากยปฏิภาน ปาวจนุตตมญาณวราภรณ์ สุนทรวิสุทธิพรหมจรรย์ วิมลศีลธันธสมาจารวัตร พุทธศาสนิกบริษัทคารวสถาน วิจิตรปฏิภานพัฒนคุณ อดุลยคัมภีรญาณบัณฑิต สรรพคณิสสรมหาปธานาธิบดี ศรีสมณุดมบรมบพิตร คชนาม"

เมื่อทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชเจ้าแล้ว ได้ทรงปรับปรุงการปกครองคณะสงฆ์ให้ดียิ่งขึ้น โดยจัดการปกครองคณะสงฆ์ทั้งสองนิกายคือ มหานิกายและธรรมยุติกนิกาย เมื่อปี พ.ศ. 2494 ดังนี้
1.    การปกครองส่วนกลาง คณะสังฆมนตรีคงบริหารรวมกัน แต่การปกครองบังคับบัญชาให้เป็นไปตามนิกาย
2.    การปกครองส่วนภูมิภาคให้แยกตามนิกาย

              พระองค์ทรงเป็นพระราชอุปัชฌาจารย์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อเสด็จออกทรงผนวช เมื่อปี พ.ศ. 2499 และในงานฉลองพุทธศตวรรษในประเทศไทย รัฐบาลสหภาพพม่าได้ถวายสมณศักดิ์สูงสุดของพม่า คือ อภิธชมหารัฏฐคุรุ แด่พระองค์ เมื่อปี พ.ศ. 2500
สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์  (ม.ร.ว.ชื่น นภวงศ์) 2507 บล็อคกษาปณ์
ภาพที่ 2
สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์  (ม.ร.ว.ชื่น นภวงศ์) 2507 บล็อคกษาปณ์
ภาพที่ 3
กรุณา ลงทะเบียน และ login ก่อนส่งความเห็นครับ
siamfishing.com © 2025
siamfishing.com/content/view.php?cat=amulet&nid=173973