กาลครั้งหนึ่ง ผมเคยไปนั่งตกปลาอย่างสบายใจร่วมกับสาธารณชนคนทั่วไปอย่างมีความสุข ณ หนองน้ำสาธารณะไม่ไกลจากบ้านมากนัก พอเวลาล่วงเลยผ่านพ้นไปหลายขวบปี วันหนึ่งผมหวนกลับไปตกปลายังที่แห่งเดิม ก็เห็นป้ายเขียนข้อความสื่อถึงผู้รับสารทั่วไปว่า
“ห้ามตกปลา หากฝ่าฝืน ปรับ 5 พันบาท” ประกาศโดย ผญบ. (ผญบ. มีอำนาจลง “โทษปรับ” ตามประมวลกฎหมายอาญาได้ด้วยวุ้ย) ยังมีอีกหนึ่งหนองน้ำสาธารณะ(อยู่คนละพื้นที่) เขียนข้อความบนป้ายประกาศไว้ว่า
“ห้ามมิให้คนที่ไม่มีชื่อในทะเบียนบ้านของหมู่บ้าน มาตกปลาในหนองน้ำ หากฝ่าฝืน จะปรับและริบอุปกรณ์ตกปลา จากมติชุมชนหมู่บ้าน” (การยกมือออกเสียงของคนกลุ่มหนึ่งในชุมชนหมู่บ้าน ถือเป็นการ “บัญญัติกฎหมาย” นอกสภานิติบัญญัติได้ด้วย แถมยังมีอำนาจ “ริบทรัพย์สิน” ตามประมวลกฎหมายอาญาได้อีกต่างหากวุ้ยนี้) โอ้! พระเจ้ายอด มันจอร์จมาก
แต่แรกเริ่มเดิมที ในอดีตมันไม่เคยมีการป้ายเขียนปักห้ามไม่ให้ใคร เข้าไปใช้ประโยชน์สาธารณะ(ตกปลา)แต่อย่างใด แล้วไฉนใยวันนี้ จึงมีการหวงห้ามและกีดกัน (ถ้าเขียนข้อความว่าห้ามจับปลาในฤดูวางไข่ ตั้งแต่ระยะเวลาใดถึงเวลาใดนั้น จะไม่สงสัยคลางแคลงใจแต่ประการใด) สาเหตุนั้นย่อมเกิดจาก
"การลดลงของจำนวนประชากรปลา" หรือไม่ จึงได้เกิดเป็นปรากฎการณ์หวงทรัพยากร กีดกันคนอื่นมาแย่งใช้สอย หรืออาจจะเป็นเพราะการพัฒนาสร้างอุปกรณ์เชื่อมสัมพันธ์ ระหว่างปลากับนักตกปลาที่ดีกว่าเดิม (จากสายเอ็นธรรมดา กลายมาเป็นสายด้ายถัก ขาดยาก โอกาสได้ปลามีมากขึ้น) ประกอบกับปัจจัยที่มีนักตก(หา)ปลาหน้าใหม่ๆเข้าสู่วงการเพิ่มมากขึ้น ต่างคนต่างก็เริ่มอยากสร้างผลงาน ให้เป็นที่ประจักษ์ทั้งในโลกแห่งความเป็นจริง และในโลกไซเบอร์ (Cyber) ตัวเล็กตัวใหญ่ที่ (กู)ตกได้ ก็จับ(แม่ง)เอาไปต้มยำทำแกงเสียหมด (Overfishing) ฤดูปลาวางไข่ (Fish spawning season) คืออะไร ใครจะสน (กู)ตกแค่ตัวพ่อมันนะ แต่(กู)ยังเหลือตัวแม่มันให้ดูแลลูกในครอกของมันนะ พอไอ้นี่ตกเอาตัวพ่อไป ไอ้โน่นคนใหม่เข้ามาแทนที่ แล้วก็คิดแบบเดียวกัน และก็ตกตัวแม่มันไปอีกตัวหนึ่ง สุดท้ายก็หมดสิ้นทั้งวงศาคณาญาติ ผลพวงของการ “เสพ” ทรัพยากรอย่างไม่คิดถึงผลกระทบที่จะตามมาในอนาตต (Overfishing) จึงทำให้เกิดสาเหตุนี้...อย่างงั้นหรือ...ฤ จะมีเหตุผลอีกหนึ่งอื่นใด...แล้วไฉนมันจึงเป็นเช่นนั้น...ขอฝากไว้ให้ท่านได้คิดพิจารณา