สยามฟิชชิ่ง
หน้าแรก|กระดาน|รีวิว|ประมูล|ตลาด|เปิดท้าย
login | สมัครสมาชิก | วิธีสมัครสมาชิก | ลืมชื่อ/รหัส | login ไม่ได้? | 25 เม.ย. 67
ขออนุญาตินอกเรื่อง เตือนภัยพี่น้องนักตกปลาครับ (แมงมุมพิษ): SiamFishing : Thailand Fishing Community
หน้าที่: 1
 กระดาน > น้ำจืด
ความเห็น: 20 - [26 พ.ย. 56, 14:34] ดู: 5,394 - [25 เม.ย. 67, 09:14] โหวต: 7
ขออนุญาตินอกเรื่อง เตือนภัยพี่น้องนักตกปลาครับ (แมงมุมพิษ)
กระทู้: 42
ความเห็น: 3,242
ล่าสุด: 16-04-2567
ตั้งแต่: 12-02-2553
ตั้งกระทู้: 24 พ.ย. 56, 10:55
พอดีได้ยินข่าวมาครับเลยเอามาบอกต่อๆกัน จะได้ระวังกัน ไม่อย่ากให้เกิดกับเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆครับ
กระทู้: 42
ความเห็น: 3,242
ล่าสุด: 16-04-2567
ตั้งแต่: 12-02-2553
ความเห็นที่ 1: 24 พ.ย. 56, 10:57

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Latrodectus mactans (Fabricius) 
(Araneae : Theridiidae) 

ข้อเท็จจริง : แมงม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Latrodectus mactans (Fabricius)
(Araneae : Theridiidae)

ข้อเท็จจริง : แมงมุมแม่หม้ายดำ มีลักษณะรูปทรงนาฬิกาทรายสีส้มสีแดง มีเครื่องหมายบนด้านล่างของช่องท้อง แมงมุมแม่หม้ายดำเป็น predaceous, กินแมลงขนาดเล็กที่ติดอยู่ในใยของมัน การกัดของมันคือความเจ็บปวดในตอนแรก แต่อาจจะตามมาในประมาณหนึ่งชั่วโมงโดยมีอาการปวดรุนแรงและบวม พิษทำให้เกิดการปวด, คลื่นไส้, ขาดการประสานงานและการหายใจลำบากโดยการรบกวนระบบประสาทในการทำงาน ความตายได้เกิดขึ้นในบุคคลที่มีผิวแพ้ง่ายพิษ

พิษรุนแรง ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท

“แมงมุมแม่ม่ายดำ" หรือ Black Widow Spider เป็นเแมงมุมที่มีพิษร้ายทำให้ถึงตายได้ พบกระจายได้ทั่วโลก และในยุโรป ออสเตรเลีย แอฟริกา อเมริกาเหนือและใต้

ลำตัวของแมงมุมแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนหัวและอกรวมเป็นชิ้นเดียวกัน และส่วนท้อง ซึ่งไม่แบ่งเป็นปล้อง ด้านหน้าของส่วนท้อง ซึ่งเชื่อมต่อกับส่วนหัวและอกมีลักษณะเป็นก้านเล็กๆ มีเขี้ยวพิษ 1 คู่ ขา 4 คู่ มีอวัยวะที่ใช้หายใจ และอวัยวะสร้างใยอยู่ที่ส่วนท้องลักษณะลำตัวเป็นมัน ตัวเมียขนาด 30-40 มิลลิเมตร ตัวผู้ขนาด 16-20 มิลลิเมตร ลำตัว ท้อง และขามีสีน้ำตาลดำ หน้าท้องมีลวดลายคล้ายรูปนาฬิกาทรายสีแดงส้มอยู่ด้านใต้ส่วนท้อง

มักอาศัยอยู่ในที่มืด ในกองไม้ ตอไม้ รอยแตกของพื้น หากอาศัยอยู่ในบ้าน จะอยู่ในที่มืดอับ เฟอร์นิเจอร์ เสื้อผ้า หลังจากผสมพันธุ์ กันแล้ว ตัวผู้อาจถูกตัวเมียกิน หรือจากไปผสมพันธุ์กับตัวเมียตัวอื่น ตามธรรมชาติแมงมุมแม่ม่ายดำจะกินตัวผู้ซึ่งเป็นคู่ของมันหลังจากผสมพันธุ์เสร็จ บางครั้งมันจะกินคู่ของมันได้ถึง 20 ตัวต่อวันเลยทีเดียว

พิษแมงมุมแม่ม่ายดำ จะออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท โดยเฉพาะระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้ผิวหนังตาย หรือมีเลือดออกตามอวัยวะภายในต่างๆ ต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียง เช่น บริเวณรักแร้ ขาหนีบ มีการอักเสบกดรู้สึกเจ็บได้ มีเหงื่อออก ขนลุก ความดันโลหิตสูง รอยกัดเขียวช้ำ มีจุดแดง อ่อนแรง สั่นปวดกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อเกร็ง ท้องแข็ง เป็นอัมพาต ซึม และชักในรายที่แพ้พิษรุนแรง พิษของมันยังทำลายไต สุดท้ายตายด้วยภาวะไตวายหรือการหายใจล้มเหลว
กระทู้: 42
ความเห็น: 3,242
ล่าสุด: 16-04-2567
ตั้งแต่: 12-02-2553
ความเห็นที่ 2: 24 พ.ย. 56, 11:05
แมงมุมแม่หม้าย น้ำตาล (Brown widow spider)

สำหรับลักษณะทั่วไปของ แมงมุมแม่หม้าย น้ำตาล นั้น พบว่า
แมงมุมแม่หม้าย น้ำตาล (Brown widow spider)

สำหรับลักษณะทั่วไปของ แมงมุมแม่หม้าย น้ำตาล นั้น พบว่า ขนาดของตัวมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร บริเวณท้องจะโตกว่าหัวหลายเท่า ท้องจะกลมป่อง ด้านล่างมีลักษณะคล้ายรูปนาฬิกาทรายสีส้ม ด้านบนมีสีน้ำตาลสลับขาวลายเป็นริ้วๆ มีจุดสีดำสลับขาวตรงท้องข้างละ 3 จุด รวมเป็น 6 จุด วางไข่ครั้งละ 200-400 ฟอง

แมงมุมแม่หม้ายน้ำตาล จะทำรังอยู่ที่ต่ำ สูงไม่เกิน 1 เมตร ลักษณะรังหรือใยจะยุ่งเหยิงไม่เป็นระเบียบ พบเห็นได้ตามใต้โต๊ะ เก้าอี้ รองเท้าเก่าในบ้าน

นายประสิทธิ์ วงศ์พรม ผู้อำนวยการศูนย์ธรรมชาติศึกษาไทย ผู้เชี่ยวชาญเรื่องแมงมุม เปิดเผยว่า ในปัจจุบันมีแมงมุมสายพันธุ์ต่างประเทศจำนวนไม่น้อย ที่แพร่กระจายอยู่ในประเทศไทย ผ่านทางการซื้อขาย ของคนที่นิยมเลี้ยงสัตว์แปลก

โดยเฉพาะแมงมุมแม่หม้ายน้ำตาล ที่มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาเหนือ ซึ่งตอนนี้พบแพร่ระบาดอยู่ใน 20 จังหวัดของไทย  เช่น กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรสงคราม กาญจนบุรี ตาก กำแพงเพชร แม่ฮ่องสอน เชียงราย อุบลราชธานี มุกดาหาร นครศรีธรรมชาติ พัทลุง สงขลา และภูเก็ต เป็นต้น

โดย แมงมุมแม่หม้ายน้ำตาล พิษร้ายแรงกว่างูเห่าหลายเท่า มีพิษรุนแรงทำลายระบบเลือด และระบบ


ได้ข้อมูลว่าแมงมุมแม่หม้ายสีน้ำตาลถูกพบอยู่ในพื้นที่มานานแล้วก่อนมีการพบที่ตลาดนัดจตุจักรเสียอีก แต่ชาวบ้านไม่ทราบว่าเป็นแมงมุมชนิดไหน จากข้อมูลดังกล่าวซึ่งพบแมงมุมชนิดนี้ในเกือบทุกภาคของประเทศ ประกอบกับบันทึกอย่างไม่เป็นทางการของ Professor Konrad Thaler จากมหาวิทยาลัย Innsbruck ซึ่งเข้ามาสำรวจแมงมุมในประเทศไทยได้บันทึกการพบแมงมุมที่ระบุว่าเป็น brown widow ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน แสดงให้เห็นว่าแมงมุมชนิดนี้อาจกระจายเข้ามาในประเทศไทยเป็นเวลานานแล้วเพียงแต่ยังไม่มีใครพบเห็นหรือสนใจ จึงแทบไม่มีข้อมูลของแมงมุมชนิดนี้เลยก่อนหน้านี้

แมงมุมแม่หม้ายสีน้ำตาลจัดอยู่ในวงศ์ Theridiidae เรียกง่ายๆว่ากลุ่มแมงมุมขาหวี (comb-footed spiders) เนื่องจากแมงมุมในกลุ่มนี้มีขนลักษณะพิเศษคล้ายตะขอเรียงเหมือนซี่หวีอยู่บนขาปล้องสุดท้าย (tarsus) ของขาคู่ที่ 4 ใช้ในการสาวใยพันเหยื่อก่อนกินเป็นอาหาร ชื่อสกุลLatrodectus มาจากรากศัพท์ภาษาละติน 2 คำให้ความหมายว่า “หัวขโมยนักกัด”เนื่องจากพฤติกรรมการล่าเหยื่อของแมงมุมชนิดนี้จะสร้างใยรูปทรง 3 มิติ ลักษณะพิเศษโดยมีใยดักเหยื่อเชื่อมจากรังนอนซึ่งมักทำอยู่ใต้วัตถุที่อยู่ไม่สูงจากพื้นแล้วนำมาเชื่อมติดกับพื้น เป็นเส้นใยเส้นเดียวเรียงราย ที่ปลายใยดักเหยื่อมีหยดกาวเหนียวติดอยู่ เมื่อแมลงหรือสัตว์ขนาดเล็กวิ่งมาชนหยดกาว ใยที่เชื่อมกับพื้นจะขาดออก ทำให้ตัวเหยื่อถูกดึงขึ้นไปแขวนกลางอากาศ แรงสั่นสะเทือนจากการดิ้นรนของเหยื่อถูกส่งไปตามใยดักเหยื่อถึงรังนอนด้านบน เมื่อแมงมุมได้รับสัญญาณจะรีบไต่ลงมาแล้วใช้ขาคู่สุดท้ายสาวใยพันเหยื่อและลากกลับขึ้นไปยังรังนอนอย่างรวดเร็ว จากนั้นจึงกัดปล่อยพิษเข้าสู่ตัวเหยื่อเพื่อให้เป็นอัมพาต คล้ายพฤติกรรมของโจรที่ปล้นชิงทรัพย์นั่นเอง ส่วนที่มาของชื่อแมงมุมแม่หม้ายมาจากพฤติกรรมเช่นเดียวกัน โดยส่วนใหญ่แมงมุมเพศเมียจะกินแมงมุมเพศผู้หลังการผสมพันธุ์เสร็จสิ้น ในธรรมชาติเราจึงพบแมงมุมเพศเมียอยู่โดดเดี่ยวไร้คู่เหมือนชีวิตของแม่หม้ายนั่นเอง

กระทู้: 42
ความเห็น: 3,242
ล่าสุด: 16-04-2567
ตั้งแต่: 12-02-2553
ความเห็นที่ 3: 24 พ.ย. 56, 11:07
แมงมุม ชนิดนี้ มีพิษรุนแรง ทำลายระบบภูมิคุ้มกัน ระบบน้ำเหลือง และทำลายเม็ดเลือดขาว พิษร้ายแรงกว่าพิษ
แมงมุม ชนิดนี้ มีพิษรุนแรง ทำลายระบบภูมิคุ้มกัน ระบบน้ำเหลือง และทำลายเม็ดเลือดขาว พิษร้ายแรงกว่าพิษของ แมงมุมแม่หม้ายดำ 2 เท่า และร้ายแรงกว่าพิษงูเห่า 3 เท่า ผู้ถูกกัดจะมีอาการแพ้อย่างแรง แผลจะเหวอะหวะ และเป็นผื่นบวมแดงเจ็บปวด มีหนอง แผลจะหายช้ามาก ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีเซรุ่มหรือยาถอนพิษ ทำได้แค่รักษาตามอาการเท่านั้น โดยส่วนใหญ่จะรักษาแบบประคับประคองตามอาการ และรอให้พิษหมดไปเอง

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังไม่มีรายงานอย่างเป็นทางการว่า มีผู้เสียชีวิตจากการถูก แมงมุมแม่หม้ายน้ำตาล กัด แต่มีรายงานการถูกกัดแล้วจากหลายพื้นที่



ฝากระวังกันหน่อยครับ
กระทู้: 19
ความเห็น: 6,994
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 11-03-2552
tarseahunter(669 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 4: 24 พ.ย. 56, 11:13
ขอบคุณครับ ความรู้ดีๆ 
กระทู้: 14
ความเห็น: 4,086
ล่าสุด: 25-04-2567
ตั้งแต่: 31-12-2551
ความเห็นที่ 5: 24 พ.ย. 56, 11:16
+
กระทู้: 9
ความเห็น: 641
ล่าสุด: 24-04-2567
ตั้งแต่: 20-09-2554
JADEL(152 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 6: 24 พ.ย. 56, 11:22
หวังว่าคงไม่มีพวกทะลึ่ง เอามาเลี้ยง แล้วไม่รับผิดชอบทำหลุดหรือปล่อยมาน่ะครับ
กระทู้: 0
ความเห็น: 615
ล่าสุด: 23-04-2567
ตั้งแต่: 23-06-2556
ความเห็นที่ 7: 24 พ.ย. 56, 11:27
ขอบคุณครับน้า สำหรับเกร็ดความรู้ อันตรายจริงๆ
 
กระทู้: 156
ความเห็น: 80,456
ล่าสุด: 25-04-2567
ตั้งแต่: 07-07-2545
BULINO(12950 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 8: 24 พ.ย. 56, 15:48
ขอบคุณมากครับที่นำมาให้ชมเป็นความรู้ครับ
กระทู้: 1
ความเห็น: 120
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 30-04-2554
sivesbig(10 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 9: 24 พ.ย. 56, 18:26
น่ากลัวอ่ะ
กระทู้: 30
ความเห็น: 1,750
ล่าสุด: 15-03-2567
ตั้งแต่: 13-12-2554
xman_2553(364 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 10: 24 พ.ย. 56, 18:37
+++ขอบคุณมากครับ 
กระทู้: 0
ความเห็น: 439
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 28-07-2556
ความเห็นที่ 11: 24 พ.ย. 56, 18:50
ขอบคุณคับ




กระทู้: 38
ความเห็น: 9,005
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 29-05-2556
ความเห็นที่ 12: 24 พ.ย. 56, 20:17
ขอบคุณครับน้าที่นำมาให้ชม :
กระทู้: 0
ความเห็น: 3,500
ล่าสุด: 25-04-2567
ตั้งแต่: 04-08-2555
ความเห็นที่ 13: 24 พ.ย. 56, 20:22
กระทู้: 164
ความเห็น: 22,972
ล่าสุด: 25-04-2567
ตั้งแต่: 11-04-2555
nava_phon(6913 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 14: 24 พ.ย. 56, 20:27
น่ากลัวจัง
กระทู้: 95
ความเห็น: 2,836
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 12-01-2552
woot_2513(2541 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 15: 24 พ.ย. 56, 20:37
กระทู้: 10
ความเห็น: 4,611
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 02-10-2555
boy11(211 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 16: 24 พ.ย. 56, 21:05
กระทู้: 6
ความเห็น: 694
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 20-08-2556
ความเห็นที่ 17: 24 พ.ย. 56, 22:58
++++++ ผมคนนึงหละ ทีแพ้ตั้งแต่เห็นมัน ทั้งมีพิษและไม่มีพิษ
กระทู้: 2
ความเห็น: 2,820
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 13-02-2556
ความเห็นที่ 18: 25 พ.ย. 56, 09:37
กระทู้: 79
ความเห็น: 944
ล่าสุด: 25-04-2567
ตั้งแต่: 03-06-2552
ampoobb(400 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 19: 26 พ.ย. 56, 13:42
ขอบคุณมาก ๆเลยครับน้า
กระทู้: 8
ความเห็น: 774
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 13-03-2555
Den_lampang(189 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 20: 26 พ.ย. 56, 14:34
หน้าที่: 1
กรุณา ลงทะเบียน และ login ก่อนส่งความเห็นครับ
siamfishing.com © 2024