สวัสดีครับน้าทุกท่าน
เนื่องจากปัจจุบัน ผมสังเกตุเห็นว่ามีน้าหลายๆท่านให้ความสนใจเกี่ยวกับการทำเหยื่อยาง มีการตั้งกระทู้คำถามหลายๆครั้ง ผมจึงคิดว่าน่าจะพอให้ข้อมูลได้ในระดับหนึ่งครับ จากการศึกษามาพอสมควร จึงอยากจะแบ่งปันข้อมูลที่ได้ศึกษามา เพื่อที่ในอนาคตทางประเทศไทยจะได้มีผู้เชี่ยวชาญในด้านนี้เพิ่มขึ้นมา และยกระดับสินค้าที่ผลิตในบ้านเรา ผลิตสินค้าที่เหมาะกับปลาบ้านเราจริงๆ ไม่ใช่การปรับใช้ อีกทั้งเป็นการนำความคิดที่ไม่เคยธรรมดาของสมาชิกชุมชนแห่งนี้มาทำให้เกิดเป็นเหยื่อดีๆ ได้แบ่งปันกันใช้ครับ
ผมใช้การนั่งคิดไปเรื่อยๆ จึงอาจจะมีการกลับมาเพิ่มเติมข้อมูลใดที่ตกหล่นย้อนหลังครับ ขออนุญาติใช้การโพสท์เพิ่มเติมไปเรื่อยๆครับ
รูปภาพและวีดีโออาจจะนำมาลงภายหลังน่ะครับ
ขอบคุณครับ
วัตถุดิบ
ว่ากันที่เรื่องแรกคือวัตถุดิบครับ ปัจจุบันเหยื่อยางนั้นผลิตขึ้นจากวัตถุดิบหลักคือ พีวีซีเหลว ปกติพีวีซีนั้นมีลักษณะเป็นผง แต่เมื่อถูกนำมาผสมกับสารเคมีที่เพิ่มความยืดหยุ่น ในปริมาณมาก จึงกลายเป็นของเหลวในเบื้องต้น แต่จะกลายเป็น เหยื่อยาง ในภายหลังครับ พูดง่ายๆคือ เหยื่อยางนั้นเป็นวัสดุเดียวกับ ท่อพีวีซี หนังเทียม ปลอกคีม หมึกพิมพ์ และอื่นๆอีกมากมายแต่ทำให้อ่อนตัวสูงกว่าวัตถุเหล่านั้น
พีวีซีเหลวปรับความแข็งนุ่ม ได้ตามสัดส่วนการผสมสาร ปัจจุบัน ในเมืองไทยนั้น ยังไม่มีผู้ผลิตพีวีซีเหลวเจ้าใหญ่รายใด ที่มีการผลิตพีวีซีเหลวเพื่อความนุ่มในระดับที่เราต้องการครับ โดยพีวีซีเหลวสำเร็จรูปที่เราซื้อจากเมืองนอก จะมีสารให้ใส่โดยเลือกได้เลยว่าเราจะทำให้พีวีซีแข็งขึ้นหรือนุ่มลงครับ สารดังกล่าวเรียกว่า softener และ hardener ครับ ลักษณะเป็นน้ำเหลวใส
ปัจจุบันเหยื่อยางร้อยละ90 (ข้อมูลนี้ความเห็นส่วนตัวผมครับ) ถูกผลิตขึ้นจากพีวีซีเหลวเกือบทั้งหมด อย่างไรก็ตามมีบางยี่ห้อที่ใช้วัตถุดิบที่แตกต่างไปเพื่อจุดประสงค์ที่แตกต่างกันครับ เช่น
-- กลุ่ม biodegradable หรือตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ BERKLEY ตระกูล GULP ! วัตถุดิบชนิดนี้มีความเป็นธรรมชาติสูงกว่า ย่อยสลายง่ายกว่า อ้างว่าปลากินได้เลย ไม่ไปตันระบบทางเดินอาหาร แต่ก็มีข้อจำกัดบางประการจึงยังไม่เป็นที่นิยม แต่ส่วนตัวผมคิดว่าในอนาคตเนื่องด้วยความเป็นธรรมชาติสูงของวัถุดิบประเภทนี้ อาจจะได้รับความนิยมสูงครับ
-- กลุ่มคล้ายกับ ELAZTECH ของ Z MAN หรือ STRIKE KING หรือ TERMINATOR SNAPBACK ลักษณะที่เห็นได้ชัดคือ มีความยืดหยุ่นสูงกว่าความยาวเดิมแทบ10เท่า ลอยน้ำ ความนุ่มสูง แต่อย่างไรก็ตามข้อจำกัดก็ยังมีอยู่บ้าง เช่นการเก็บรักษากับเหยื่อยางประเภทอื่น ความเหนียวที่มากเกินควร หรือ การใส่กับเบ็ดประเภท SCREW
พีวีซีในปัจจุบันนั้นเริ่มมีการรณรงค์มาใช้แบบไม่มีสารพาทาเลทหรือnon phthalate ซึ่งสารตัวนี้ได้รับการสงสัยว่าก่อให้เกิดมะเร็ง เหนื่อยางบางยี่ห้อในปัจจุบันก็เริ่มมีการโปรโมทว่าปราศจากสารตัวนี้ ส่วนถ้าเป็นพีวีซีสำเร็จ อย่างเช่นจากเว็บ lurecraft จะเรียกว่าเป็น green plastic ครับ เผื่อน้าท่านใดสั่งเข้ามาก็แนะนำตัวนี้ครับ
ขั้นตอนการผลิต
ขั้นตอนการผลิต จากการแบ่งของผม คิดว่าน่าจะแบ่งได้2แบบ คือ ผลิตเพื่อการค้าและผลิตแบบทำใช้เอง ออกแนวครัวเรือนอะไรประมาณนั้นครับ
1 ผลิตเพื่อการค้า แน่นอนการผลิตแบบนี้แทบไม่แตกต่างจากการผลิตสินค้าพลาสติกทั่วไป เพราะพีวีซีคือ polymer ชนิดหนึ่ง
การใช้เครื่อง INJECTION ฉีดพีวีซีเหลว ใส่โมลด์เหล็ก หรือ อลูมิเนียม หรืออื่นๆ ผลิตได้ทีละหลายตัว สีค่อนข้างแน่นอน แต่จะไม่หวือหวาเท่าไร
น้าทุกท่านสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก การผลิตพลาสติกทั่วไปครับ เพราะขั้นตอนแทบไม่แตกต่าง เหยื่อที่ใช้การผลิตแบบนี้ก็ตามที่เรารู้จักกันดังๆเลยครับ STANLEY RIBBIT , BERKLEY , YUM , ZOOM , OWNER , MEGABASS และบรรดาเจ้าใหญ่ทั้งหลายครับ
2 ผลิตแบบใช้เอง ซึ่งส่วนนี้น่าจะเป็นสิ่งที่เหมาะสมกับเราๆมากกว่า ใช่ไหมครับ
แยกออกเป็น 2 แบบคือ โมลด์ด้านเดียวหรือโมลด์เปิด และ โมลด์ 2 ด้าน คือโมลด์ปิดหรือโมลด์ฉีด
2.1 โมลด์เปิด จินตนาการเลยครับ คือพีวีซีถูกเทจากถ้วยด้วยมือคน เพราะฉะนั้นเหยื่อจะเป็นด้านแบนราบ1ด้าน อีก1ด้าน ก็จะเป็นรูปร่างตามโมลด์ มีความเป็นศิลปะสูง ทางเมืองนอกเค้าจะเรียกประเภทนี้ว่า HAND POUR หรือการเทด้วยมือ เหยื่อจะมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว สีจะหลากหลายมาก เช่นการเทหลายสีทับกัน,การเทแบบSWIRL การผสมเกลือหนักๆ(พวกเมืองนอกบ้าเกลือมากครับ) การผสมกากเพชรเยอะๆ และอื่นๆ เหยื่อประเภทนี้มีขายอยู่บ้างแต่ราคาแพงเพราะผลิตได้ช้าและยอดผลิตไม่สูง ดังสุดๆสำหรับเหยื่อประเภทนี้คือ Optimum swimbait ครับ และยังมี zipper worm ครับที่นึกออก
ส่วนตัวผมเห็นว่าการผลิตแบบนี้แหล่ะครับ ถึงมือชาวสยามฟิชชิ่งเมื่อไร ทำกันมันแน่ครับ
2.2 โมลด์ปิด โมลด์ปิดจะมีความคล้ายกับโมลด์ที่ผลิตเพื่อการค้า เป็นโมลด์2ด้านประกบกัน มีรูเล็กๆเป็นทางเข้าของพีวีซี แต่เนื่องจากเครื่องฉีดนั้นราคาสูงมาก จึงมีการประยุกต์ใช้กระบอกฉีดแบบอลูมิเนียมมาแทน เพื่อที่จะฉีดเข้าไปในโมลด์ ให้พีวีซีไหลไปตามรูปร่างของโมลด์ โมลด์ปิดจะทำให้เราสามารถให้รายละเอียดของเหยื่อได้สูงเนื่องจากอีกด้านหนึ่งไม่จำเป็นต้องแบนราบ ก็คือสามารถทำเหยื่อที่เป็นลักษณะสมมาตรได้ ขั้นตอนการผลิตอาจจะซับซ้อนขึ้นมาอีกนิด
ต่อไปเรามาดูกันครับว่า โมลด์ที่พูดถึงนั้น ส่วนใหญ่ทำมาจาก วัสดุอะไรกันบ้าง
1 ปูนปลาสเตอร์ ถูกที่สุด ทำง่าย ตกปุ๊ป แตกทันที รายละเอียดแล้วแต่ความสามารถ ใช้เป็นครูครับ
2 เรซิ่นไฟเบอร์กลาส เก็บรายละเอียดงานได้ดี ทำง่าย แตกง่าย ราคาขยับจากปูนปลาสเตอร์ มีปัญหาเรื่องการหดตัว
3 RTV silicone งานเนี้ยบ คงทนสูง ราคาเกือบแพง มีความยืดหยุ่น ใช้แรงฉีดสูงมากไม่ได้ ราคาขยับจากเรซิ่น
4 อลูมิเนียม เนียบสุด แพงสุด ใช้ได้ตลาดกาลไม่ค่อยพัง รายละเอียดเหยื่อตามที่จะcncกันได้เลยครับ ถ้าเราไปสั่งทำก็กินแกลบกันไปครับ เพราะค่าเริ่มต้นสูง และจะทำอย่างไรกันดี พึ่งฝรั่งเลยครับ ไปที่หัวข้อต่อไปน่ะครับ
ทำอย่างไรเราจึงจะสามารถเริ่มต้นได้
- วัตถุดิบพีวีซีเหลวสำหรับทำเหยื่อในบ้านเรายังไม่มีขาย แต่ผมว่ากำลังจะมีเพราะเห็นน้าท่านนึง เหมือนจะทำขาย (ผมไม่รู้จักกันน่ะครับ รับประกันครับ)
- โมลด์ 3 แบบแรก ผมเชื่อว่าไม่เกินความสามารถของน้าทุกท่าน เพราะมันเป็นแนวงานฝีมือ แล้วมันคล้ายๆกับโมลด์กบแน่นอน และ งานอดิเรกอื่นอีกมากมาย อันนี้คนไทยน่าจะเกินฝรั่ง
ส่วนพระเอกของงาน โมลด์อลูมิเนียมนั้น แนะนำเลยว่าเมืองนอกมีทำขายประมาณเกือบ 10 เจ้า มีเป็นร้อยๆแบบ ทำไมผมถึงแนะนำ เพราะเค้าทำขายแบบทำทีละเยอะ แบบเหมือนกัน ราคามันเลยถูกเลยครับทีนี้ ลองไปเลือกดูครับ มีเจ๋งๆเพียบเลยครับ ราคาเริ่มที่ประมาณ 2,000 บาท ภาษีไม่แพงด้วยครับ ทุกอย่างมีขายครับ กระบอกฉีด โมลด์ สี กลิ่น ผงลอย ทุกอย่างครับ ท่านใดสนใจจะนำเข้าก็จัดมาเลยครับ ผมอยากให้วงการตกปลาบ้านเราเจริญไปถล่มบ้านอื่นบ้างครับ เราต้องแข่งขันกันเยอะๆครับ
พอได้ทุกอย่างมาแล้ว ก็ดังนี้เลยครับ
นำพีวีซีเข้าไมโครเวฟ แนะนำใช้ถ้วยแนว pyrex หรือถ้วยแก้วที่เป็นสำหรับไมโครเวฟ เหตุผลคือพวกฝรั่งทำกันมานานมาก สรุปก็คืออันนี้เหมาะสุดครับ เวฟไปเรื่อยๆให้ใช้ไฟอ่อนๆ
ตามทฤษฏีคือให้ได้อุณหภูมิประมาณ180 องศา แต่อันนี้เราต้องมี เทอร์โมมิเตอร์แบบอินฟาเรด
ถ้าเอาง่ายๆคือ เวฟแล้วเปิดดูเรื่อยๆ เริ่มต้นพีวีซีจะสีขุ่น พอได้ที่จะเปลี่ยนเป็นสีใส แต่เราต้องคนบ่อยๆเพราะ อุณหภูมิในถ้วยแต่ละส่วนมันไม่เท่ากัน ไม่งั้นมันจะมีส่วนที่ ทั้งไม่สุก ทั้งพอดี ทั้งไหม้ครับ คนบ่อยๆ จะเป็นน้ำใสๆ เหลว ต้องใสน่ะครับ มันถือว่าพร้อมครับ แต่ถ้านานเกินไปจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ฟูขึ้นมาเหมือนขนมถ้วยฟู ดมปุ๊ป เวียนหัวปั๊ป สารพิษเต็มๆครับ
การใส่สีและกากเพชรก่อนหลังก็ได้ครับ มันจะแล้วแต่เทคนิคของแต่ละสี และกากเพชรแต่ละแบบ
ทีนี้ถ้าเป็นโมลด์เปิดก็เอาถ้วยเทไล่ตามโมลด์ส่วนจะเริ่มเททางไหนก่อนก็ทำไปเรื่อยๆลองดูตามเทคนิค ของแต่ละท่าน
ถ้าเป็นโมลด์ฉีดก็ใช้กระบอกดูดพลาสติกขึ้นมา แล้วก็เอาปากจุ๊ปเข้าไป ดันช้าๆเบา ตึงมือ ค้างไว้เล็กน้อย เอาอออก เติมรูให้เต็ม เพราะพลาสติกจะหดตัวแล้วดูดพลาสติดบริเวณรูเทเข้าไป ไม่งั้นมันจะโบ๋วหรือเป็นหลุมครับ เสร็จเรียบร้อยครับ ระยะเวลาแข็งตัวไม่เท่ากันตามแต่ละแบบ ส่วนใหญ่ประมาณ 5-15 นาที แค่นั้นครับ
สิ่งสำคัญที่ผมข้อย้ำครับ
1 ถุงมือและปลอกแขนกันความร้อน พลาสติกที่ได้ที่โดนตัวหรือมือเมื่อไร หนักเลยน่ะครับ เห็นมาเยอะแล้ว
2 หน้ากากและการระบายอากาศ ต้องมีครับ ควันจากพีวีซี มีพิษไม่มากก็น้อย หลีกเลี่ยงได้ต้องทำครับ
3 อย่างสุดท้าย ระวังครับ ! ได้ที่เมื่อไร ติดงอมแงมแน่นอนครับน้า
เว็บไซท์ที่แนะนำสำหรับซื้อวัตถุดิบก็คร่าวๆน่ะครับ
http://www.del-mart.com/shop/home.php
http://www.pouryourownworms.com/
http://www.bearsbaits.com/
http://www.lurecraft.com/content/
http://www.basstackle.com/
http://www.caneycreekmolds.com/
ขอบคุณทุกท่านที่ติดตามน่ะครับ มีอะไรก็แชร์ช่วยกันน่ะครับ ช่วยๆกันครับ มาแข่งกันครับ ด้วยคุณภาพดีกว่า เดี๋ยวผมนึกอะไรได้ จะโพสท์เพิ่มน่ะครับ ข้อมูลและรูปภาพใครมีก็ช่วยเอามาแชร์กันครับ
แจ้งราคาค่าขนส่งเพื่อเป็นแนวทางครับ
จากผู้ขาย Lurecraft
ราคาค่าขนส่งพีวีซีเหลวน่ะครับ
5 gallon = 275 $
1 gallon = 70 $
1 quart = 35 $
1 pint = 31 $
แจ้งเมื่อ 17 /5/2010 ย้ำ! ค่าขนส่งอย่างเดียวน่ะครับ อันนี้เป็นการสอบถาม แต่ไม่ได้สั่งตามนี้
แต่ที่สั่งจริงๆด้านล่างครับ
ผมสั่งมามีรายการดังต่อไปนี้
พีวีซี 1 quart. 1 ขวด
softener ขนาด4ออนซ์ 1 ขวด
สีขนาด 1 ออนซ์. 3 ขวด
ผงลอย1 pint
กลิ่นขนาด1ออนซ์ 1 ขวด
กากเพชรขนาด2 ออนซ์
ผงเรืองแสงขนาด 1 ออนซ์ 1 ขวด
ทั้งหมดค่าของ 1848 บาท
ค่าขนส่ง 1508 บาทครับ
ภาษีจำไม่ได้จริงๆครับ แต่ไม่เกิน1000บาทครับ อ้างอิงราคาเมื่อ 25/6/2010
ขอบคุณมากครับ