ต้องขออภัยทุกท่านที่ทำซ้ำน่ะครับ เพราะตั้งหัวข้อเป็นภาษาฝรั่งเศส ซึ่งสระของภาษาอังกฤษในภาษาฝรั่งเศสต้องมีเครื่องหมายอยู่บนหัว ทำให้อ่านออกเสียงต่างจากภาษาอังกฤษทั่วไป. เวลานำมาใช้ ซึ่งผมไม่ทราบว่าควรทำอย่างไร ส่งผลให้ภาษาเสียไป เลยลองตั้งหัวข้อใหม่ให้เข้าปรเด็นไปเลยดีกว่า.
ปลาชะโดซึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันว่า Channa micropeltes (ในอดีตใช้ Ophicephalus micropeltes) ถูกบรรยายครั้งแรก ในปี ค.ศ.1831 โดยระบุว่าถูกพบในชวา เนื้อหานี้ถูกเขียนขึ้นในหน้าที่ 427 แต่เมื่อพลิกถัดไปในหน้าที่ 429 พบปลาอีกชนิดหนึ่ง เมื่อตรวจสอบสถานะภาพปัจจุบัน เขาถูกระบุว่าเป็นเพียงชื่อพ้องของปลาชะโด Channa micropeltes. ถึงจุดนี้แสดงว่าต้องมีลักษณะภายนอกทุกอย่างที่เป็นปลาชะโด.
ปลาในหน้าที่ 429 เขามีชื่อว่า Ophicephalus serpentinus ครับ. ถูกระบุชัดเจนว่าพบในสยาม หรือ ไทยเรานี่แหละครับ เพียงแต่คำบรรยายถึงถิ่น หรือ แหล่งที่พบ ไม่ชี้ชัดลงไปว่าตรงไหน?
ต่อมาในปี 1865 เจ้า Ophicephalus serpentinus ถูกนำไปเป็นชื่อพ้องของ Ophicephalus micropeltes แต่ไม่มีการบรรยายถึงสาเหตุ หรือ ที่มาว่าทำไมถึงต้องนำมาเป็นชื่อพ้อง.
ในปัจจุบัน คนที่มีความรู้เรื่องปลาส่วนใหญ่ เข้าใจว่า ปลาทางแถบอินโดนีเซีย กับ บ้านเรา นั้นมีชีวภูมิศาสตร์ที่แตกต่างกันออกไป อาจส่งผลให้สิ่งมีชีวิตบางกลุ่ม เมื่อตรวจสอบลักษณะภายนอกที่คล้ายกัน แต่มี DNA ที่แตกต่างกัน นั่นอาจจะสื่อความหมายได้ว่าเป็นคนละชนิดกัน อะไรประมาณนั้น แต่ก็ยังมีข้อโต้แย้งอยู่บ้างในสัตว์บางประเภท ที่ถึงแม้จะแยกจากกันนับร้อยปี แต่พันธุกรรมไม่ได้ต่างจากกัน ดังนั้นเงื่อนไขระยะเวลาย่อมมีผล. แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นผู้ที่ศึกษาเฉพาะกลุ่มย่อมต้องรู้แน่ครับ.
การนำเสนอของผมเพียงต้องการจะบอกกับผู้ที่สนใจปลาในกลุ่มนี้ว่า ในอดีตเคยมีการกล่าวถึงปลาชะโดที่พบในไทยจริง แต่ไม่ใช่ Channa micropeltes ส่วนในอนาคตจะเป็นอย่างไร เปลี่ยนแปลง หรือ ไม่? ลองติดตามอ่านในกระทู้ที่ผมลองทำดูน่ะครับ ผิดบ้างถูกบ้างต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยน่ะครับ.
http://www.pantown.com/board.php?id=52308&area=4&name=board1&topic=60&action=view