สยามฟิชชิ่ง
หน้าแรก|กระดาน|รีวิว|ประมูล|ตลาด|เปิดท้าย
login | สมัครสมาชิก | วิธีสมัครสมาชิก | ลืมชื่อ/รหัส | login ไม่ได้? | 27 เม.ย. 67
เลียบคลองที่ผักไห่ด้วย Infrared: SiamFishing : Thailand Fishing Community
หน้าที่:< 1 | 2 | 3
 กระดาน > ถ่ายภาพ
ความเห็น: 62 - [27 พ.ย. 54, 17:36] ดู: 5,096 - [26 เม.ย. 67, 10:08] โหวต: 16
เลียบคลองที่ผักไห่ด้วย Infrared
กระทู้: 11
ความเห็น: 86
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 29-10-2549
BadOne(104 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 51: 24 พ.ย. 54, 00:41
อ้างถึง: ต้นนนทบุรี8 posted: 23-11-2554, 20:56:07


สวยมากครับ


ขอบคุณครับ 
กระทู้: 39
ความเห็น: 2,021
ล่าสุด: 15-01-2567
ตั้งแต่: 30-05-2551
NOMJEAN(892 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 52: 24 พ.ย. 54, 00:56
สวยงามมากมายครับ
กระทู้: 45
ความเห็น: 9,892
ล่าสุด: 20-03-2567
ตั้งแต่: 26-10-2550
ความเห็นที่ 53: 24 พ.ย. 54, 09:17
คิดถึงลาดโด เลย



รูปสวยจังเลยจ้ะ
กระทู้: 80
ความเห็น: 43,968
ล่าสุด: 15-05-2566
ตั้งแต่: 10-08-2550
IsSuE`(4272 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 54: 24 พ.ย. 54, 10:21
กระทู้: 10
ความเห็น: 25,385
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 31-03-2553
NaiJuy(308 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 55: 24 พ.ย. 54, 12:21
กระทู้: 62
ความเห็น: 14,980
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 30-08-2550
herofluck(1379 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 56: 24 พ.ย. 54, 12:31
สวยไปอีกแบบครับ


กระทู้: 0
ความเห็น: 275
ล่าสุด: 10-04-2567
ตั้งแต่: 14-11-2554
ความเห็นที่ 57: 24 พ.ย. 54, 12:37
อาร์ตมากๆๆเลยครับ
กระทู้: 156
ความเห็น: 80,457
ล่าสุด: 27-04-2567
ตั้งแต่: 07-07-2545
BULINO(12950 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 58: 24 พ.ย. 54, 21:04
+1
กระทู้: 18
ความเห็น: 8,411
ล่าสุด: 06-02-2567
ตั้งแต่: 24-09-2553
DoctorK(909 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 59: 25 พ.ย. 54, 11:38
+ไม่เข้าใจครับงาน "Infrared" 
ขอรายละเอียดพอประดับความรู้ด้วยครับ
ขอบคุณมากครับ 
กระทู้: 11
ความเห็น: 86
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 29-10-2549
BadOne(104 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 60: 25 พ.ย. 54, 12:35
อ้างถึง: DoctorK posted: 25-11-2554, 11:38:19

+ไม่เข้าใจครับงาน "Infrared" 
ขอรายละเอียดพอประดับความรู้ด้วยครับ
ขอบคุณมากครับ 


ก่อนอื่นผมขอขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชมและส่งยิ้มทักทายกันนะครับ 

ต่อไปผมขออนุญาติคัดลอกข้อความที่ดีมากๆของคุณชวลิต ภูริพงศ์รัตน์ เพื่อทำความรู้จักกับงาน infrared สมัยใหม่กันครับ

การ ถ่ายภาพอินฟราเรดที่ผมจะกล่าวต่อไปนี้ต่างจากการถ่ายภาพแบบทั่วๆ ไป เพราะเป็นการถ่ายภาพคลื่นแสงที่อยู่ในช่วงใกล้อินฟราเรด (Near Infrared) หากแยกคลื่นแสงออกมาเป็นสีรุ้ง คลื่นแสงอินฟราเรดก็อยู่เลยขอบแสงสีแดงที่อยู่ริมสุดออกไปหน่อยนึง มองด้วยตาเปล่าคงไม่เห็น แต่เราสามารถบันทึกคลื่นแสงช่วงนี้ได้และนี่เป็นที่มาของการถ่ายภาพ อินฟราเรดครับ
แต่ก่อนนี้การถ่ายภาพอินฟราเรดด้วยฟิล์มขาวดำและฟิล์มสี เป็นเรื่องยาก เพราะจะต้องใช้ฟิล์มที่ผลิตขึ้นมาเฉพาะ หาซื้อยาก ฟิล์มอินฟราเรดที่ว่านี้มีความไวแสงอย่างมาก การบรรจุฟิล์มจะต้องทำในถุงดำหรือที่มืดสนิท เมื่อถ่ายเสร็จแล้วก็ต้องระวังในการเก็บฟิล์มเข้ากลักก่อนที่จะเอาไปล้าง ต้องทำในที่มืดสนิทเช่นกันไม่ให้โดนแสงเด็ดขาด หาคนล้างฟิล์มก็ยาก นอกจากจะล้างฟิล์มเอง ความยุ่งยากของการถ่ายก็มีมาก ดังนั้นการถ่ายภาพอินฟราเรดแต่ก่อนจึงจำกัดอยู่เฉพาะกลุ่มช่างภาพที่สนใจ จริงๆ เท่านั้น



      เมื่อโลกเข้าสู่ยุคดิจิตอล เหมือนฟ้าเปิดให้คนที่สนใจถ่ายภาพอินฟราเรดแบบสมัครเล่น ที่ได้แต่มองตาปริบๆ เวลามองภาพถ่ายอินฟราเรดได้หูตาสว่าง มีการเผยแพร่รูปถ่ายอินฟราเรดที่ถ่ายด้วยกล้องดิจิตอลแบบคอมแพคกันแพร่หลาย ด้วยวิธีการถ่ายแบบง่ายๆ คือสวมฟิลเตอร์อินฟราเรดไว้ที่หน้าเลนส์ ตัดปัญหายุ่งยากที่เกิดสมัยใช้กล้องฟิล์มจนหมด เราจึงได้เห็นผลงานภาพถ่ายอินฟราเรดที่ถ่ายด้วยช่างภาพหน้าใหม่ๆ ทั้งมือสมัครเล่นและมืออาชีพตั้งแต่นั้นมา

    ฟิลเตอร์อินฟราเรดที่นิยมในบ้านเราก็จะมี Hoya R72 จะมีสีแดงเข้มจนเหมือนดำสนิท เมื่อสวมใส่ที่หน้าเลนส์ถ้าหากเป็นกล้องดิจิตอลคอมแพคเวลาจะถ่ายสามารถดูภาพ ผ่านจอ LCD ได้เลยยิ่งง่ายเข้าไปใหญ่&#61472;แต่หากใช้กับกล้องดิจิตอล SLR เมื่อมองภาพผ่าน View Finder จะมืดดำ ดังนั้นจึงต้องโฟกัสภาพและจัดองค์ประกอบภาพให้เสร็จสรรพก่อนจะสวมฟิลเตอร์ แล้วค่อยวัดแสงกดชัตเตอร์ถ่ายภาพ
ฟิลเตอร์อินฟราเรดแบบนี้จริงๆ แล้วคือ IR Pass Filter คือมันจะกันคลื่นแสงช่วงอื่นๆ และปล่อยให้คลื่นแสงช่วงใกล้อินฟราเรดผ่าน จะมากน้อยแค่ไหนก็อยู่ที่ชนิดของฟิลเตอร์ ยิ่งตัวเลขมากก็ยิ่งมืดมาก Hoya R72 มีจุดตัดที่ 720 นาโนเมตร ที่ไม่มากเกินไป เหมาะกับกล้องดิจิตอลส่วนใหญ่ฟิลเตอร์ดำมืดแบบนี้ย่อมเสียแสงเป็นธรรมดา จะเสียแสงมากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับกล้องดิจิตอลรุ่นนั้นๆ ว่าจะมีตัวสกัดกั้นคลื่นแสงอินฟราเรดดีแค่ไหน เพราะในกล้องดิจิตอลแล้วคลื่นแสงอินฟราเรดที่มีอยู่ทั่วไปแต่ตาเรามองไม่ เห็นนี้เป็นตัวลดคุณภาพของภาพถ่าย (แบบปกติ) จึงมีการติดตั้งฟิลเตอร์สกัดกั้นคลื่นแสงอินฟราเรดไว้หน้า CCD หรือ Cmos ยิ่งกล้องรุ่นใหม่ๆ การสกัดกั้นคลื่นแสงอินฟราเรดยิ่งทำได้ดี การถ่ายภาพอินฟราเรดยิ่งเสียแสงและได้ผลที่ดูไม่ดีเข้าไปอีก



และ แล้วพระเจ้าก็ส่งคนมือไม้บอนที่ชอบถ่ายอินฟราเรดมา โดยได้มีผู้แกะเจ้าฟิลเตอร์สกัดกั้นคลื่นแสงอินฟราเรดที่หน้า CCD ออก แล้วจัดแจงใส่ฟิลเตอร์ที่ยอมให้คลื่นแสงอินฟราเรดผ่าน (IR Pass Filter) เข้าไปแทนที่ผลลัพธ์ก็คือเราสามารถถ่ายภาพแบบอินฟราเรดโดยเสียแสงน้อยมาก เซย์กู๊ดบายกับขาตั้งกล้องไปได้เลย จากที่ต้องใช้เวลา 2-4 วินาทีถ่ายกลางแดด เราก็สามารถใช้มือถือถ่ายด้วยสปีดเกือบเท่ากล้องปกติ การได้ภาพก็ยิ่งง่ายขึ้น เพราะการที่ต้องใช้สปีดนานๆ ในการถ่ายภาพทำให้มีอุปสรรคมากมาย ไม่ว่าจะเป็นแรงลมที่ทำให้ใบไม้ไหวๆ ภาพขาดความคมชัดหรือกังวลกับคนที่เดินผ่านหน้ากล้อง แถมยังต้องใช้ขาตั้งกล้องถ่ายเป็นจุดเด่นให้คนมองอีก



    อย่างไรก็ตามการดัดแปลงกล้องให้สามารถถ่ายอินฟราเรดลักษณะนี้ได้ ต้องอาศัยช่างที่ชำนาญ เพราะเมื่อแทนที่ฟิลเตอร์กั้นคลื่นแสงอินฟราเรดด้วย IR Pass Filter เข้าไปแล้ว จะต้องมีการปรับระนาบโฟกัสให้ถูกต้อง มิฉะนั้นภาพที่ถ่ายออกมาจะเบลอเพราะไม่ได้โฟกัส หากคุณสนใจจะดัดแปลงกล้องลองเข้าไปดูที่เว็บ www.lifepixel.com ได้ครับจะมีรายละเอียดเกี่ยวกับการดัดแปลงกล้อง อย่างที่บอกว่ากล้องรุ่นใหม่ๆ บางตัวก็ไม่สามารถทำได้ เพราะมีระบบสกัดกั้นคลื่นแสงอินฟราเรดที่ดี กล้องดิจิตอล SLR ที่เหมาะจะดัดแปลงก็มี Nikon D50, D70, D70s, D100 Canon D300, D350 หรือรุ่นก่อนหน้านี้ สำหรับกล้อง Nikon ถ้าจะดัดแปลงถ่ายอินฟราเรดลองติดต่อไปที่ บริษัท นิคส์ (ไทยแลนด์) จำกัด จะมีบริการในส่วนนี้อยู่ ส่วนกล้อง Canon ลองไปร้านกล้องแถวมาบุญครอง จะมีรับดัดแปลงและจำหน่ายกล้องที่ดัดแปลงถ่ายอินฟราเรดแล้วด้วย แต่ต้องบอกไว้อย่างหนึ่ง เมื่อดัดแปลงกล้องแล้วจะถ่ายภาพแบบปกติไม่ได้นะครับ ต้องเก็บไว้ถ่ายอินฟราเรดอย่างเดียว ถ้าจะถ่ายแบบปกติก็ต้องไปแปลงกลับ



    เมื่อมีกล้องดัดแปลงถ่ายอินฟราเรดออกมาแบบนี้ คอ IR แบบผมมีหรือจะพลาด ก็ต้องจัดแจงหามาไว้ครอบครอง โดยไปหาซื้อ Canon D350 มือสอง แล้วเอาฟิลเตอร์ Hoya R72 ขนาด 58 mm. ที่มีอยู่ไปให้ช่างแถวมาบุญครองดัดแปลงกล้องให้ ได้กล้องมาสมใจอยากตอนหน้าฝน ก็ต้องคอยมองท้องฟ้าด้วยสายตาละเหี่ยใจ ฝนตกได้ทุกวัน นานๆ ทีจะมีแดดออกแต่ก็ไม่ว่างซะอีก หรือแดดออกอยู่ดีๆ หิ้วกล้องจะไปถ่าย ฝนฟ้าก็มาตกซะอีก เฮ้อ! พอเป็นแบบนี้บ่อยๆ เลยปล่อยให้มันจำศีลอยู่ในตู้ซะนาน จนย่างเข้าหน้าหนาว เทศกาลถ่ายนกแถวบางปูก็เริ่มขึ้น เห็นคนโพสรูปนกนางนวลตามเว็บต่างๆ แล้วอยากจะไปถ่าย เลยวางแปลนไว้ว่าจะไปเมืองโบราณก่อนแล้วจึงจะไปถ่ายนกนางนวลต่อตอนเย็นๆ เมื่อจะไปเมืองโบราณก็ต้องนึกอินฟราเรด เพราะเป็นสถานที่ที่เหมาะกับการถ่ายภาพแนวนี้อย่างมาก ด้วยทัศนียภาพของสิ่งก่อสร้างที่สวยงาม มีต้นไม้ปลูกแซมอยู่ทุกจุด ได้เวลาออกมาโดนแดดแล้วเจ้าลูกเลิฟ Canon D350 ตัวเก่งของผม



    การถ่ายภาพอินฟราเรดกับการโดนแสงแดดเป็นของคู่กันครับ เพราะเมื่อแดดออกจะมีการสะท้อนแสงอินฟราเรดออกมาจากวัตถุหรือใบไม้เขียวๆ พวกต้นไม้สนามหญ้าเขียวๆ จะกลายเป็นสีขาว การถ่ายภาพอินฟราเรดถ้าจะให้สวยควรจะมีต้นไม้ใบเขียวๆ แจมไว้ในภาพด้วย จึงจะเห็นเอฟเฟคท์ของอินฟราเรดได้ชัดเจน และควรถ่ายไปตามทิศทางที่แสงส่อง อย่าถ่ายย้อนแสง ภาพแนวสถาปัตยกรรมแบบเมืองโบราณควรรอช่วงแดดแรงๆ จะทำให้ภาพถ่ายที่ได้มีความเปรียบต่างสูง เห็นแสงเงาชัดเจนทำให้ภาพถ่ายน่าดูขึ้น รักจะถ่ายอินฟราเรดก็ต้องไม่กลัวแดดครับ แต่ก็สามารถหาจุดยืนถ่ายในที่ร่มหรือร่มเงาไม้ไว้หลบแดดถ้าพอจะมี หรือสวมหมวกใส่เสื้อแขนยาว ทาครีมกันแดดก็พอจะช่วยบรรเทาอาการตัวดำได้
    การวัดแสงเพื่อถ่ายภาพอินฟราเรด ถ้า กล้องมีระบบวัดแสงเฉพาะจุดหรือเฉพาะส่วน ให้วัดแสงที่ใบไม้เขียวๆ ชดเชยแสงบวก 1-1.5 สต๊อป เพราะใบไม้เขียวๆ จะกลายเป็นสีขาวเมื่อถ่ายอินฟราเรด จะใช้ระบบเฉลี่ยหนักกลางก็ได้นะครับ ถ่ายไปแล้วพรีวิวดู Histrogram ภาพมืดหรือสว่างไปก็ปรับค่าแก้ไขซะทันที ควรถ่ายภาพให้ได้ค่าแสงที่พอดีเพราะจะเกี่ยวข้องกับการปรับสีซึ่งผมจะกล่าว ต่อไป
    การปรับ White Balance ถ้าต้องการให้ภาพอินฟราเรดออกมาโทนไหนก็เลือกได้ตามใจชอบ แต่ถ้าต้องการมาปรับสีแบบภาพที่ลงไว้นี้ขอแนะนำให้ปรับ White Balance แบบ Custom เลือกวัดแสงไปที่ใบไม้เขียวๆ กลางแดด แล้วเซ็ทเป็นค่า Custom White Balance



    เรื่องของจุดโฟกัสเป็นอีกเรื่องที่จะขอบอกกล่าว ปกติถ้าถ่ายด้วยกล้องดิจิตอลที่ไม่ได้ดัดแปลงแต่สวมฟิลเตอร์อินฟราเรดไว้ที่ หน้าเลนส์ จุดโฟกัสของอินฟราเรดจะไม่ตรงกับตำแหน่งของกล้องที่ถ่ายแบบปกติ มันจะเขยิบใกล้เข้ามาเล็กน้อย เลนส์รุ่นเก่าๆ จะมีมาร์คจุดอินฟราเรดไว้บนตัวเลนส์ซึ่งคงไม่มีปัญหา แต่ถ้าเป็นเลนส์รุ่นใหม่ที่ไม่มีมาร์คจุดไว้ ให้ปรับโฟกัสแบบปกติเมื่อได้ที่แล้วให้หมุนแหวนปรับโฟกัสขยับเข้ามาใกล้อีก เล็กน้อย (ห่างจากจุดอินฟินิตี้) ถ้าจะให้ดีควรถ่ายด้วยรูรับแสงแคบๆ ประมาณ f8 ขึ้นไป ย้ำอีกครั้งเรื่องที่บอกมานี้เป็นเรื่องของการถ่ายอินฟราเรดด้วยการสวม ฟิลเตอร์อินฟราเรดไว้หน้าเลนส์กล้องที่ยังไม่ได้ดัดแปลงนะครับ แต่ปัญหาที่กล่าวมานี้ไม่มีผลกับกล้องที่ดัดแปลงถ่ายอินฟราเรดอย่างถูกวิธี เพราะช่างจะเซ็ทจุดโฟกัสมาให้เรียบร้อยแล้ว
    เมื่อถ่ายภาพมาแล้วภาพที่ได้ส่วนใหญ่จะเป็นสีแดง โทนสีแตกต่างไปตาม White Balance ที่เราตั้ง ไว้ ยกเว้นเมื่อตั้ง White Balance ไว้ที่ Custom แบบที่กล่าวมาแล้ว จะได้ภาพถ่ายคล้ายๆ ขาวดำอมเหลือง ถ้าคุณถ่ายภาพด้วย Raw File ค่า White Balance สามารถปรับแก้ทีหลังได้ แต่ถ้าถ่ายมาเป็น JPG จะแก้ไขได้ยาก คุณสามารถนำภาพถ่ายที่ได้มาไปใช้งานได้เลยถ้าพึงพอใจในสีแดงๆ แบบนั้น หรือแปลงภาพสีเป็นขาวดำด้วยโปรแกรมตกแต่งภาพก็แล้วแต่จะชื่นชอบ
แต่ถ้าอยากได้ภาพอินฟราเรดสีแบบที่ลงให้ดูนี้ ผมมีเทคนิคพอจะแนะนำได้ครับ


   

1. ก่อนอื่นให้ถ่ายภาพโดยเซ็ท White Balance เป็น Custom
2. พยายามถ่ายด้วยค่าแสงที่พอดี ให้ดูจาก Histogram ว่าเส้นกราฟครอบคลุมหมดทั้งช่วงหรือไม่
3. ควรถ่ายภาพขณะที่มีแสงแดด อย่าถ่ายย้อนแสง
4. จะถ่ายเป็น Raw File หรือ JPG ก็ได้ ถ้าถ่ายเป็น Raw File ก่อนโปรเซสภาพควรแปลงเป็นไฟล์ TIF หรือ JPG ก่อน
5. ขั้นตอนการโปรเซสภาพแบบง่ายๆ มีดังนี้ครับ
  5.1. เปิดไฟล์ภาพที่ถ่ายมาด้วยโปรแกรม Adobe Photoshop จะเห็นภาพว่าเหมือนภาพขาวดำอมเหลืองนิดๆ (ภาพ A)
  5.2. ไปที่ Image > Adjustments > Channel Mixer โดยปรับเปลี่ยนค่า Channel Red และChannel Blue
  5.3. ที่ Channel Red ให้ตั้งค่า Red เป็น 0% และ Blue เป็น 100% และที่ Channel Blue ให้ตั้งค่า Red เป็น 100% และ Blue เป็น 0% (ภาพ B) ก็จะได้ภาพสีท้องฟ้าทึมๆ
  5.4. เรามาแก้สีท้องฟ้าทึมๆ ให้ดูสดใส โดยไปที่ Image > Adjustment > Replace Color ใช้ Eye Dropper Tool เลือกสีท้องฟ้าที่จะเปลี่ยน (ภาพ C) ปรับ Saturation เพื่อเพิ่มความสดใสของสีให้ท้องฟ้า เท่านี้ก็จะได้ภาพอินฟราเรดสีตามภาพ
6. ต้องย้ำนิดนึงว่าถ้าไม่ตั้ง White Balance แบบที่บอกไว้และถ่ายด้วยค่าแสงที่พอดีการปรับเปลี่ยนสีจะยุ่งยากมาก อาจจะไม่ได้สีสันอย่างในภาพ
เป็นไงครับจากที่คุณได้อ่านผ่านมาการถ่าย ภาพอินฟราเรดสีคงไม่ได้ยากอย่างที่คุณนึกใช่มั้ยโลกยุคดิจิตอลนี่อะไรก็ง่าย ไปหมด สนใจจะถ่ายภาพแบบนี้เชิญเข้าไปดูได้ที่เว็บ http://www.pantip.com/cafe/camera ที่คลับเอ็นไออาร์ครับ หรือจะไปพูดคุยกับผมที่เว็บบอร์ดของคาเมราร์ตก็ได้ที่ http://forum.camerartmagazine.com  เรายินดีให้คำแนะนำเสมอ

credit : ชวลิต  ภูริพงศ์รัตน์
ขอบคุณมากครับ
กระทู้: 18
ความเห็น: 8,411
ล่าสุด: 06-02-2567
ตั้งแต่: 24-09-2553
DoctorK(909 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 61: 25 พ.ย. 54, 21:22
โหจัดเต็มมาเลย ขอบคุณมากครับ
กระทู้: 107
ความเห็น: 59,672
ล่าสุด: 27-04-2567
ตั้งแต่: 16-08-2544
A21(2434 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 62: 27 พ.ย. 54, 17:36
หน้าที่:< 1 | 2 | 3
กรุณา ลงทะเบียน และ login ก่อนส่งความเห็นครับ
siamfishing.com © 2024