สยามฟิชชิ่ง
หน้าแรก|กระดาน|รีวิว|ประมูล|ตลาด|เปิดท้าย
login | สมัครสมาชิก | วิธีสมัครสมาชิก | ลืมชื่อ/รหัส | login ไม่ได้? | 26 เม.ย. 67
Dyneema , PE , เอ็นธรรมดา: SiamFishing : Thailand Fishing Community
หน้าที่: 1
 กระดาน > น้ำจืด
ความเห็น: 6 - [30 ก.ค. 51, 19:25] ดู: 5,882 - [15 เม.ย. 67, 12:32]
Dyneema , PE , เอ็นธรรมดา
กระทู้: 1
ความเห็น: 330
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 28-09-2550
ตั้งกระทู้: 30 ก.ค. 51, 19:25
Dyneema , PE , เอ็นธรรมดา
ขอท่านน้าๆช่วยตอบที่ครับว่า สาย Dyneema , PE  และสายเอ็นที่แสนจะธรรมดา แต่ละอย่างมีคุณสัมบัติยังไง.........และแตกต่างกันอย่างไร....ช่วยเพิ่มความรู้ให้ข้าน้อยด้วยครับ
กระทู้: 8
ความเห็น: 775
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 08-04-2549
wasz(5 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offlineใบเหลือง
ความเห็นที่ 1: 31 ก.ค. 51, 11:46
[q]สายถัก สายพีอี สายไดนีม่า สายสเปคตร้า[/q]

คำถามที่ถูกถามบ่อยๆ คือ สายถัก สายพีอี สายไดนีม่าและ
สายถัก สายพีอี สายไดนีม่า สายสเปคตร้า


คำถามที่ถูกถามบ่อยๆ คือ สายถัก สายพีอี สายไดนีม่าและสายสเปคตร้าแตกต่างกันอย่างไร

ข้อมูลที่ผมรวบรวมขึ้นนี้ ผมได้มาจากหนังสือเอ็นไซโคปีเดียบริทานิก้าและหนังสือ The UHMWPE Handbook, Academic Press, New York, 2004, หนังสือ Hoechst: Annealing (Stress Relief) of Hostalen GUR
Polyethylene เป็นชื่อเรียกสารสังเคราะห์ประเภทวัตถุดิบขั้นพื้นฐานในกลุ่มเทอร์โมพลาสติค Polyolefin  มีการจำแนกประเภทออกไปอีกขึ้นอยู่กับโครงสร้างของน้ำหนักต่อโมเลกุล ความหนาแน่นและสารเคมีอื่นที่ถูกนำมาประสานกัน

UHMWPE (Ultra high molecule weight Polyethylene)
HMWPE (High density molecule weight Polyethylene)
HDPE (High density Polyethylene)
ฯลฯ
แต่ละปีมีการนำ Polyethylene มาผลิตเป็นสินค้าอุปโภคเป็นจำนวนสูงถึงกว่า 60 ล้านตันต่อปี

ในส่วนของสายที่นักตกปลารู้จักกันในปัจจุบัน เราก็จะเห็นว่ามีการเรียกกันหลากหลายชื่อ
- Braided line อันนี้ก็แปลตรงตัวว่าสายถัก
- PE line สายพีอี
- Dyneema ไดนีม่า
- Spectra สเปคตร้า

เพื่อมิให้สับสนผมจะใช้คำว่าสายถัก หากไม่ได้เจาะจงที่สายประเภทหนึ่งประเภทใด


กรรมวิธีในการผลิตก็คือการนำเอาวัตถุดิบ Polyethylene มาแปรรูปเป็นเส้นใย ขั้นตอนในการแปรรูปของแต่ละบริษัทก็อาจจะแตกต่างกัน บริษัทที่มีชื่อเสียงที่สุดในกลุ่มก็น่าจะเป็นบริษัท DSM ซึ่งมีโรงงานอยู่ที่เมือง Heerlen ประเทศเนเธอแลนด์

บริษัท DSM ได้ทำการจดลิขสิทธิ์กรรมวิธีในการแปรรูปสารพีอีในกลุ่ม UHMWPE ขึ้นเป็นเส้นใยในปี 1979 และเริ่มทำการผลิตในเชิงพาณิชย์ในปี 1990 มีการร่วมทุนกับบริษัท Toyobo เพื่อตั้งโรงงานผลิตในญี่ปุ่น มีโรงงานอีกหนึ่งแห่งที่เมืองกรีนวิลล์ รัฐนอร์ทแคโรไลน่า ชื่อของเส้นใยที่บริษัท DSM จดทะเบียนไว้คือ Dyneema

บริษัทฮันนี่เวล แห่งอเมริกาก็ได้พัฒนากรรมวิธีในการผลิตเส้นใยที่มีคุณสมบัติทางเคมีเหมือนกับของบริษัท DSM และจดทะเบียนชื่อเส้นใยว่า Spectra

นอกเหนือจากนี้ยังมีชื่อทางการค้าของสารพีอีในกลุ่ม UHMWPE ที่จดทะเบียนไว้โดยบริษัทอื่นๆ อีก เช่น TIVAR ของบริษัท Poly Hi Solidur และ Polystone-M ของบริษัท Rochling Engineered Plastics

มาถึงตรงนี้ผมก็อยากจะสรุปคร่าวๆ ว่า
- พีอี คือชื่อของวัตถุดิบพื้นฐาน
- ไดนีม่าคือชื่อจดทะเบียนการค้าของบริษัท DSM เนเธอร์แลนด์
- สเปคตร้า คือชื่อจดทะเบียนการค้าของบริษัท ฮันนี่เวล อเมริกา
- อนาคตอาจจะมีเส้นใย TIVAR และ/หรือ Poly Hi Solidur เข้ามาในตลาดอีก

คุณสมบัติของเส้นใยที่ทำมาจาก UHMWPE Polyethylene คือ
- แข็งกว่าโลหะ 15 %
- จุดหลอมเหลวอยู่ที่ประมาณ 144-152 องศาเซ็นติเกรด (บริษัท DSM แนะนำว่าไม่ควรใช้เส้นใยนี้ในสถานที่ๆ มีอุณหภูมิ 80-100 องศาเซ็นติเกรดเป็นเวลานาน)
- เส้นใยจะกรอบและแตกหักที่อุณหภูมิ –150 องศาเซ็นติเกรด
- ไม่เปียกน้ำง่ายนัก แต่ก็ดูดซึมน้ำได้ในระดับหนึ่ง
- ไม่ค่อยมีปฏิกิริยากับผิวหนัง จึงทำให้รู้สึกลื่นมือ
- มีความต้านทานต่อน้ำ ความชื้น สารเคมีหลายชนิด รังสีUV รวมถึงไมโครชีวภาพ
- ภายใต้แรงดึงต่อเนื่อง เส้นใยจะศูนย์เสียรูปทรง เงื่อนที่ผูกไว้อาจจะมีการไหลเคลื่อนตัวออกได้

หมายเหตุ: การชุบเส้นใยเพื่อให้คืนสู่สภาพเดิมสามารถทำได้โดยการเผาในเตาเผาหรือต้มในน้ำมันซีลิโคนหรือน้ำมันก๊าดที่อุณหภูมิ 135-138 องศาเซ็นติเกรด จากนั้นจึงปล่อยให้เย็นลงด้วยอัตรา 5 องศาต่อชั่วโมงจนเหลืออุณหภูมิ 65 องศา จากนั้นจึงนำมาอบในผ้าฉนวนเป็นเวลา 24 ชั่วโมงจนอุณหภูมิลดเหลือเท่าอุณหภูมิห้อง

- สายถักที่นักตกปลารู้จักและยอมรับกัน ทำมาจากวัตถุดิบ ในกลุ่ม Olefin มีชื่อเรียกกันรวมๆ ว่า UHMWPE Polyethylene
- สายที่ทำจากเส้นใยไดนีม่า ก็คือสายที่ทำจากวัตถุดิบในกลุ่มเดียวกัน เพียงแต่ว่าบริษัท DSM ได้จดทะเบียนกรรมวิธีในการรีดเส้นใยและตั้งชื่อเส้นใยนี้ว่า Dyneema
- สายที่ทำจากเส้นใยสเปคตร้า ก็คือสายที่ทำจากวัตถุดิบในกลุ่มเดียวกัน แต่บริษัทฮันนี่เวลของอเมริกาได้จดทะเบียนกรรมวิธีการรีดเส้นใยและตั้งชื่อเส้นใยนี้ว่า Spectra
- สายพีอี คือชื่อเรียกสายที่ทำจากวัตถุดิบ UHMWPE Polyethylene แต่ใช้กรรมวิธีในการรีดเส้นใยที่เป็นที่รู้กันทั่วไป ไม่ได้มีการจดทะเบียนกรรมวิธีการนั้นโดยผู้ใด

แล้วความแตกต่างของสายแต่ละแบบอยู่ที่ไหน

ขั้นตอนในการผลิตสายถักสำหรับตกปลาก็คงจะเริ่มจากการรีดเส้นใย จากนั้นก็นำเส้นใยเส้นจิ๋วๆ มาทอรวมกันเป็นเส้นด้าย เมื่อได้เส้นด้ายแล้วจึงมามาทอรวมกันอีกเป็นเสมือนเชือก

แต่ละยี่ห้อก็อาจจะมีกรรมวิธีในการทอเส้นด้ายเข้าด้วยกันตามวิธีของตัวเอง บางรายอาจจะใช้เส้นด้ายน้อยเส้น บางรายอาจจะใช้เส้นด้ายมากเส้น บางรายอาจจะมีเส้นด้ายยืนเป็นหลักก่อนจะทอเส้นด้ายอื่นรวมเข้าไป (ลองนึกภาพเชือกต่างๆ ที่เคยเห็นกันตามไปด้วยครับ)

เมื่อทอเป็นเส้นเชือกแล้วแต่ละบริษัทก็อาจจะมีกรรมวิธีเพิ่มเติมเข้าไปอีก เช่นเคลือบสาร ฯลฯ

คุณภาพของสายถักน่าจะต่างกันเนื่องจากกรรมวิธีในการถักทอเป็นเส้นเชือก เพราะพื้นฐานของวัตถุดิบเป็นตัวเดียวกัน
กระทู้: 95
ความเห็น: 5,204
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 21-09-2549
ความเห็นที่ 2: 31 ก.ค. 51, 11:57
เยี่ยมครับ น้า.. 

แนะนำให้เอาไวน้า เทคนิค ด้วยก็ดีนะครับ
เพราะเห็นถามกันบ่อยเหลือเกิน เรื่องสาย PE 
จะได้ให้ผู้ที่ต้องการทราบ  ดูจากหน้า เทคนิค บทความได้ครับ ..

ขอบคุณครับ.. เย้ๆ 
กระทู้: 53
ความเห็น: 2,111
ล่าสุด: 29-12-2566
ตั้งแต่: 09-11-2550
yai bangplee(527 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 3: 31 ก.ค. 51, 11:59
เข้ามาดูได้ความรู้กระจ่างเลยครับ ขอบคุณมากๆ
กระทู้: 57
ความเห็น: 889
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 13-10-2546
ความเห็นที่ 4: 31 ก.ค. 51, 14:53
ไปยกข้อความมา อย่างน้อยก็อ้างถึงที่มาหน่อยสิครับ
http://www.siamfishing.com/board/view.php?tid=28705
กระทู้: 95
ความเห็น: 5,204
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 21-09-2549
ความเห็นที่ 5: 31 ก.ค. 51, 15:31
ขอบคุณน้า แหลมแท่นนะครับ  สำหรับข้อมูลครับ
กระทู้: 8
ความเห็น: 775
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 08-04-2549
wasz(5 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offlineใบเหลือง
ความเห็นที่ 6: 31 ก.ค. 51, 15:48
ต้องขออภัยน้า แหลมแท่นด้วยครับ ที่นำบทความมาเผยแพร่โดยไม่ได้ขออนุญาติ ผมไม่ได้คิดอะไรครับ แค่เอามาโพสเพื่อให้น้าๆที่สนใจรวมทั้งผมได้ความรู้เพิ่มเติมแค่นั้นเอง
หน้าที่: 1
กรุณา ลงทะเบียน และ login ก่อนส่งความเห็นครับ
siamfishing.com © 2024