หวัดดีครับ
งานอดเรกอื่น นอกจากตกปลา
แบ่งเป็น
Out door
1.ขับรถท่องท่องเที่ยว Off roading and on road. ( วันหยุดยาว )
2.ตกปลา หมายธรรมชาติ only ( วันหยุด และ หลังเลิกงาน ระแวกแม่น้ำบางปะกง )
3.บ้ามีด ทำมีด สะสมมีด. ( ไม่ใด้ไปตีเหล็ก ก็หาความรู้อยู่กับบ้าน )
In door
1.อ่านวรรณกรรม สะสมหนังสือ ( ก่อนนอน )
2.เล่นดนตรี (violin) ( หลังทานมื้อค่ำ )
3.ตีปืงปอง ( 3ครั้ง/สัปห์ดา หลังเลิกงาน )
4. ดูมวยไทย only ( ทุกๆ วันอาทิตย์ จอ7สี และข้างเวที )
ขออนุญาติฝอยเรื่องมวยไทยนิดนึงครับ
จากที่เจอมานะครับ ประมวลว่า กลุ่มคนที่ไปดูมวยไทย เป็นกลุ่มกรรมาชีพ80 - 90% ( ต้องออกตัวก่อนนะครับ ว่ากระผมมิไช่คนที่ชมชอบการแบ่งแยกคนตามความยากดีมีจน แต่เพื่อง่ายในการนึกภาพออก จึงใช้คำ กลุ่มกรรมาชีพ แทนนะครับ )
และจุดประสงค์ที่เข้ามาชม 80%มาเพื่อเกมการโอนถ่ายเงินด้วยอัตราการต่อรอง ทำให้เกิดคำถามขึ้นในใจ ความเป็นเป็นนักมวยคืออะไร อุปมาเหมือน ไก่ชน วัวชน หรือไม่
ในเชิงลึกผมไม่รู้ว่า ความเป็นนักมวยในสายตาของสังคมเป็นอย่างไร
พอดีมีโอกาศใด้ไปโตเกียว ไปเกาะเก้าอี้แถวหลังๆ เพื่อดูคนอ้วนผลักกัน หลังจบการแข่งขันวันนั้น นึกย้อนถึงนักมวยไทยของเรา
นักซูโม่ เป็นผู้ที่มีชื่อเสียง ร่ำรวย มีเมียสวย เป็นที่ยกย่องของมวลชน
ความเป็นอยู่ระดับเศรษฐี โดยรวมแล้วภาพจะคล้ายๆกับSuper star ( ข้อมูลใด้จากล่ามที่ทำหน้าที่ให้เราใด้เข้าชม )
ทีนี้พอมาแบ่งเป็นคำ 2 คำ
1. มวยไทย คือ ศิลปะการต่อสู้ประจำชาติไทย
2.นักมวยไทย คือ ผู้สืบสานศิลปะการต่อสู้
อดนึกเอาเองไม่ใด้ ทิศทางของศิลปะประจำชาติจะเป็นไปทางไหน ในเมื่อคนดูส่วนใหญ่ดูเพื่อการต่อรอง นักมวยผู้ผ่านการเคี่ยวกรำ ฝึกฝนร่างกาย จิตใจให้แกร่งเป็นนักสู้ จากภูธรสู่เมืองฟ้า โด่งดังขึ้นมาแล้วดับหายไปในช่วงเวลาสั้นๆ พวกเขาไปไหน ?
อันตัวกระผมนั้นมองจากมุมที่ตัวเองรู้สึกเท่านั้น ในเชิงลึกยังต้องเรียกว่าผิวเผินนัก
ยังไงเชิญทุกท่านที่ชมชอบกีฬามวยไทย มาแบ่งปันความเห็นกันนะครับ เพื่อการมีมุมมองที่กว้างขึ้นครับ.