เริ่มเห็นแววตากล้องจากแจ๊คด้วยภาพชุดนี้แล้วครับ การวางตำแหน่งของนักตกปลาไว้ที่จุดตัดเก้าช่องจะนักตกปลาเด่น ในขณะเดียวกันพื้นที่บรรยากาศแวดล้อมที่เหลือก็แสดงได้อย่างมีความหมาย อย่างรูปคห 18 ชัดมากถึงแม้ว่าขนาดของแบบจะเล็กเมื่อเทียบกับบรรยากาศส่วนที่เหลือ แต่จะรู้สึกว่ารูปนี้เล่าเรื่องราวได้ดี ภาพดูลื่นไหลน่าชมมาก แต่ภาพ คห 2 ตัวแบบเล็กไปมาก แจ็คฝึกหาขนาดที่เหมาะสมให้ดี จะถ่ายภาพตกปลาได้อย่างน่าชมครับ
มีอีกเรื่องที่อยากจะพูดถึงคือ ภาพที่สวย ฉากนั้นสำคัญมาก และการที่จะได้ฉากที่ดี บางทีขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนตำแหน่งของตากล้องไม่กี่ก้าวครับ คราวนี้มาพูดถึงฉากที่ดีความมีลักษณะอย่างไร
ฉากที่ดี (ซึ่งไม่จำเป็นต้องสวย) มีอยู่หลายแบบด้วยกัน แต่สำหรับการถ่ายภาพตกปลากลางแจ้งแล้ว พอจะสรุปได้ดังนี้ครับ
1. มีองค์ประกอบที่ทำให้เกิดมิติใกล้ไกล
1.1 ฉากหน้าหรือโฟรกราวน์เช่นพุ่มไม้ ที่อยู่หน้าภาพก่อนถึงตัวแบบ จะทำให้ตัวแบบอยู่ลึกเข้าไปในภาพ
1.2 มีลายเส้น(โค้งหรือตรง) เป็นแนวทะแยงในภาพ ทำให้เกิดความลึกในภาพ
1.3 มีองค์ประกอบในแนวตั้งที่ไล่ระดับจากสูงไปต่ำ หรือองค์ประกอบที่แนวนอนที่ไล่ระดับจากกว้างไปแคบ
2. มีจุดสิ้นสุดสายตา ซึ่งโดยทั่วไปจะเป็นแนวเส้นขอบฟ้า(ซึ่งต้องได้ระนาบตรง)
คราวนี้มาดูภาพของแจ๊คนะครับ
คห 13 กับ 15 จุดที่ถ่ายอยู่ใกล้กันมาก แต่ภาพ 13 กลับรู้สึกตันๆ เพราะไม่มีจุดสิ้นสุดสายตา ในขณะที่ คห15 เก็บจนถึงท้องฟ้า ทำให้เวลาดูภาพแล้วสบายตาต่างกันเยอะ อีกทั้งผู้ชมจะเห็นตำแหน่งของแบบเมื่อเทียบกันบรรยกาศการรอบข้างได้ดีกว่าเมื่อเก็บขอบฟ้ามาด้วยครับ
คห 24 แนวตลิ่งเป็นแนวเส้นทะแยงส่งผลให้ภาพนี้เกิดความลึก ในขณะที่ คห 27 30 32 ดูแล้วแบนๆ ไม่มีมิติครับ
คห 33 เป็นตัวอย่างภาพที่มีโฟรกรานด์ ทำให้เรารู้สึกได้ว่านักตกปลาอยู่ลึกเข้าไปในภาพ
รายละเอียดส่วนอื่นผมยังไม่กล่าวถึง อยากให้แจ๊คทำความเข้าใจสิ่งที่ผมบอกไปให้ดี แล้วฝึกถ่ายให้มีองค์ประกอบแม่นๆ กลับไปดูภาพที่พี่เล็กถ่าย มีสิ่งที่ผมสรุปไว้ทั้งนั้นครับ ส่วนการถ่ายภาพบุคคล แจ๊คดูกระทู้ http://www.siamfishing.com/board/view.php?tid=17531 คห ที่ 28 นะครับ