ผมสงสัยอยู่อย่างหนึ่งครับน้าโม่ง
ตาม พรบ.ประมง 2490 นั้น จะกำหนดช่วงเวลาห้ามทำการประมง ในช่วงฤดูปลาวางไข่ ไว้ 3 เดือน
อ้างอิง>>>
http://www.kodmhai.com/m4/m4-1/H71/H-71.htm
นั่นหมายความว่า ในช่วงเวลา 3 เดือนนี้ ห้ามทำประมง ด้วยเครื่องมือที่กฏหมายกำหนดไว้ เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้ปลาได้ขยายพันธุ์
ดังนั้น การที่เจ้าหน้าที่จะรับผิดชอบ เฉพาะในเขตอนุรักษ์ ถูกต้องหรือไม่?
ผมคิดว่ากฏหมายนี้ ระบุ ถึงการห้ามทำประมงด้วยเครื่องมือ ที่ได้เขียนไว้ในกฏหมาย ครอบคลุมทั้งพื้นที่ซะมากกว่า
การที่จะไป กวดขันกันเฉพาะในแนวเขตอนุรักษ์นั้น ก็ดูจะเหมือนเปล่าประโยชน์จริงๆ
เพราะพื้นที่เขตอนุรักษ์ ที่ได้เห็นจากภาพในกระทู้ เป็นพื้นที่ จากบริเวณแนวสันเขื่อน
ในความเป็นจริงของการสืบพันธุ์ หรือ ขยายพันธุ์ของปลา มักจะขึ้นไปวางไข่ที่ต้นน้ำ ซึ่งอยู่นอกพื้นที่อนุรักษ์
ดังนั้น หากไม่มีการกวดขัน การทำประมง ในพื้นที่ต้นน้ำ(ต้นเขื่อน) โอกาสที่ปลาจะได้ ขยายพันธุ์ ต่อไปก็มีน้อย
เรื่องนี้มันยากครับ เราเข้าไปวุ่นวายมาก ชาวบ้านหาปลา ก็จะพลอย โกรธและเกลียดเรา
แต่แท้ที่จริง คนตกปลาเองแทบไม่ได้อะไรจากแหล่งน้ำเลย เมื่อเทียบมูลค่าการลงทุนระหว่าง ทริพตกปลาทั้งหมด กับ ปริมาณปลาที่ได้
สิ่งที่เราได้กลับมาจริงๆ คงคงเป็นเพียงความสุขทางจิตใจ ก็เท่านั้น
การกระทำใดๆ ที่หวังให้เกิดการักษาเผ่าพันธูของปลา ในแหล่งน้ำ ประโยชน์ ที่แท้จริงก็จะตกอยู่กับคนหาปลาในพื้นที่นั่นเอง
ละเว้น การจับปลาด้วยเครื่องมือ ตามที่ระบุไว้ในกฏหมาย ปีละ 3 เดือน ก็จะมีปลาให้พวกเค้าได้จับต่อไปอย่างยั่งยืน
ดีกว่าละโมบในวันนี้ แล้วไม่เหลืออะไรเลยในวันข้างหน้า
iiws