ปลาตะเพรียนอีกตัวครับ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Barbodes gonionotus (Bleeker, 1850)
ชื่อสามัญ silver barts
ปลาตะเพียนขาว หรือ ที่เรียกติดปากกันสั้น ๆ ว่า ปลาตะเพียน ภาคอีสาน เรียกว่า ปลาปาก เป็นปลาพื้นเมืองของไทย สาหรับในประเทศไทย นั้นหากจะค้นไปถึงว่า ปลานี้ประชาชนเริ่มรู้จักกันมาตั้งแต่สมัยไหน เชื่อกันว่าปลาชนิดนี้มีอยู่คู่กับ แม่น้ำ บึง ลาคลอง หนอง ในแถบภูมิภาคส่วนนี้มานานหนักหนาแล้ว นับตั้งแต่สมัยสุโขทัยหรืออาจจะก่อนกว่านั้น เพราะมี ลายของถ้วยชามเครื่องเคลือบปรากฏเป็นรูปปลาตะเพียนให้เห็นอยู่กลาดเกลื่อน แต่ชื่อ "ตะเพียน" ที่ใช้ เรียกขานกัน เพิ่งจะมาพบเป็นหลักฐาน ในสมัยอยุธยาตอนปลาย จากพงสาวดาร ฉบับสมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรสและฉบับพระราชหัตถเลขา มีข้อความต้องกันอยู่ว่า สมเด็จพระเจ้าท้ายสระ ชอบเสวยปลาตะเพียน ถึงกับตั้งกาหนดโทษแก่คนที่กินปลาตะเพียนว่า จะต้องถูกปรับถึง 5 ตาลึง และในกาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง ของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ (เจ้าฟ้ากุ้ง) ได้พรรณนาถึงฝูงปลามีความว่า
เทโพและเทพา ตะเพียนกาพาพวกจร อ้ายบ้าปลาสลุมพอน ผักพร้าเพรี้ยแลหนวดพราหมณ์ เทโพพาพวกพ้อง เทพา ปลาตะเพียนปลากาพา คู่เคี้ย สลุมพอนอ้ายบ้าปลา หลายหมู่ ปลาผักพร้าม้า เพรี้ย ว่ายไล่หนวดพราหมณ์
นับว่าปลาตะเพียน หรือตะเพียนขาว เป็นปลาน้ำจืดคู่บ้านคู่เมืองโดยแท้และเป็นปลาที่สามารถนำมาเลี้ยงและเพาะขยายพันธุ์ได้ง่าย จึงเป็นปลาพื้นเมืองที่ได้รับการคัดเลือก ให้ส่งเสริมในการเพาะเลี้ยงอีกชนิดหนึ่ง การเพาะเลี้ยงปลาตะเพียนนั้น ได้ดาเนินการเป็นครั้งแรก ก่อนปี พ.ศ.2503 ที่สถานีประมง (บึงบอระเพ็ด) นครสวรรค์ ต่อมาการเพาะพันธุ์ปลาชนิดนี้ ได้รับการพัฒนา ทั้งวิธีเลียนแบบธรรมชาติและผสมเทียม ซึ่งสามารถเผยแพร่และจำหน่ายอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน
แหล่งกำเนิดและการแพร่กระจาย
ปลาตะเพียน เป็นปลาที่มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่แถบแหลมอินโดจีน ชวา ไทย สุมาตรา อินเดีย ปากีสถาน และยังมีชุกชุมในถิ่นดังกล่าว สาหรับประเทศไทยเรานั้นมีอยู่ทั่วไปในแหล่งน้ำธรรมชาติ อันได้แก่ แม่น้ำ ห้วย หนอง คลอง บึงต่าง ๆ ทั่วทุกภาคของประเทศ
รูปร่างลักษณะ
ปลาตะเพียน มีลักษณะลาตัวแบนข้าง หัวเล็ก ปากเล็ก ริมฝีปาก ขอบส่วนหลังโค้งยกสูงขึ้นความยาวจากสุดหัวจรดปลายหาง 2.5 เท่าของความสูง จะงอยปากแหลม มีหนวดเส้นเล็กๆ 2 คู่ มีเกล็ดตามแนวเส้นข้างตัว 29 -31 เกล็ด ลาตัวมีสีเงินแวววาว ส่วนหลังมีสีคล้าเล็กน้อย ส่วนท้องมีสีขาว ที่โคนของเกล็ดมีสีเทาจนเกือบดา ปลาตะเพียน ซึ่งขนาดโตเต็มที่จะมีลาตัวยาวสูงสุดถึง 50 เซนติเมตร
อุปนิสัยและคุณสมบัติบางประการ
ความเป็นอยู่
ปลาตะเพียนเป็นปลาที่หลบซ่อนอยู่ตามแม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง ที่มีกระแสน้ำไหลอ่อนๆ หรือน้ำนิ่ง เป็นปลำที่ทนต่อสิ่งเปลี่ยนแปลงและสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี ทั้งยังเจริญเติบโตในน้ำกร่อย ที่มีความเค็มไม่เกิน 7 ส่วนพัน อุณหภูมิเหมาะสม สาหรับปลาชนิดนี้อยู่ระหว่าง 25 33 องศาเซลเซียส
นิสัยการกินอาหาร
ระบบการกินอาหารจากการตรวจสอบระบบการกินอาหารของปลาตะเพียน ขนาด 12.5 - 25.5 เชนติเมตร พบว่า มีฟันในลาคอ (Pharyngeal teeth) เป็นชนิดกัดบดแบบสามแถว มีซี่เหงือกสั้นๆ อยู่ห่างกัน พอประมาณ ท่อทางเดินอาหาร กระเพาะอาหารไม่มีลักษณะแตกต่างจากลำไส้ ลำไส้มีผนังบาง ๆ ยาวขดเป็นม้วนยาว 2.02 - 2.73 เท่า ความยาวสุดของลาตัว
นิสัยการกินอาการ กล่าวกันว่าลูกปลาตะเพียนวัยอ่อน กินสาหร่ายเซลล์เดียวและแพลงก์ตอนขนาดเล็ก ส่วนพวกปลาขนาด 3 - 5 นิ้ว กินพวกพืชน้ำ เช่น แหนเป็ด สาหร่ายพุงชะโด ผักบุ้ง สาหรับปลาขนาดใหญ่สามารถกินใบพืชบก เช่น ใบมันเทศ ใบมันสาปะหลัง หญ้าขน ๆลๆ พบว่าปลาตะเพียนหาอาหารกินในเวลากลางวันมากกว่ากลางคืน