เจ้านี่ด้วยครับ
---------------------------------------------------------------------
หอยแมลงภู่ เป็นหอยที่เลี้ยงในเชิงพาณิชย์ที่สำคัญชนิดหนึ่ง
ปกติ หอยแมลงภู่มีความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงความเค็มที่ตำลง ด้วยการที่มันมีเปลือกป้องกันการแลกเปลี่ยนน้ำ การปิดฝาหอยสนิทในช่วงน้ำมีความเค็มต่ำเกินไป
การปรับสมดุลย์เกลือแร่ในร่างกายก็มีความสามารถในระดับหนึ่ง
โดยทั่วไป น้ำทะเลที่มีความเค็มต่ำกว่า 25 ppt ก็เริ่มสร้างปัญหาให้กับหอยแมลงภู่ในการปรับสมดุลย์เกลือแร่ในร่างกาย แต่ถ้าเป็นระยะเวลาไม่นานมากเกินไป มันก็ทนอยู่ได้
ในช่วงที่ผ่านมา หลายบริเวณเคยเกิดปัญหาน้ำจืดไหลลงทะเล็อย่างฉับพลัน หรือต้องอยู่ในน้ำความเค็มต่ำเป็นเวลานาน หอยแมลงภู่ก็จะอ่อนแอ ถูก parasite กัดกิน และตายไป
การตายพร้อมๆ กันจำนวนมาก ยังส่งผลให้เกิดสภาพขาดออกซิเจนตามมา และหอยก็จะตายมากขั้น
กรณี แบบนี้ เคยเกิดมาหลายบริเวณ เช่น ตรัง เพชรบุรี ศรีราชา ในช่วงที่มีฝนตกหนัก น้ำจืดไหลลงทะเลเป็นจำนวนมาก
...
ถ้าเหตุการณ์เป็นไปตามที่ผมคาดการณ์ หอยแมลงภู่จำนวนมากในอ่าวไทยตอนในจะตาย ไล่ตั้งแต่ ปากแม่น้ำบางปะกง เจ้าพระยา ท่าจีน น่าจะตาย และบริเวณแม่กลอง เพชรบุรี ก็จะเป็นลำดับถัดไป ตามอิทธิพลกระแสน้ำในอ่าวไทยตอนใน ซึ่งน่าจะไหลทวนเข็มนาฬิกา ในช่วงลมตะวันออกเฉียงเหนือ (พ.ย. ถึง ก.พ)
...
ทีนี้ ... คำถามที่น่าสนใจ คือ แล้วมันจะฟื้นตัวได้หรือเปล่า ถ้าพ่อแม่พันธุ์ของหอยตายไป
...
โชคดีของอ่าวไทยตอนใน คือ หากหอยที่ประจวบตอนล่าง และชุมพร อยู่รอดปลอดภัย พอถึงช่วงลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ในเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนกันยายน ตัวอ่อนหอยแมลงภู่ จะมาตามกระแสน้ำเลียบชายฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันตก ขึ้นมายังบริเวณอ่าวไทยตอนใน และมาเจริญเติบโตในอ่าวไทยตอนในดังเดิม