เป็นวงศ์ตะเพียนอีกชนิดที่มีแถบดำที่ขอบครีบหางบน(upper lobe.) กับขอบครีบหางล่าง(lower lobe.).
สวัสดีครับน้าเด็กจัน อิจฉาอย่างแรงครับ เท่าที่หาได้คราวนี้ผมน่าจะเดาถูกก่อนอ่านน่ะครับ คือ ทีแรกเดาว่าน้าจะใช้การกระจายเป็นเกณฑ์ พอหาหนังสืออ้างอิง ทั้ง Fishes of Laos. ของอาจารย์ M.Kottelat กับ The Freshwater Fishes of Western Borneo. ของอาจารย์ ไทสัน โรเบิรต์ กับ Freshwater Fishes of Western Borneo and Sulawesi.
1)เริ่มจาก Fishes of Laos. ในหนังสือเล่มนี้ใช้ Barbichthys laevis. แต่ตรงหมายเหตุ เขาใช้ว่า invalid. ซึ่งคำนี้ผมว่าน่าจะหมายถึง "ยังไม่มีผลบังคับใช้" ตรงนี้ต่อจาก invalid เขาพิมพ์ Barbichthys nitidus. ผมจึงคิดเอาเอง เป็นไปได้ว่าหลังจากนั้น ชนิดนี้อาจจะถูกระบุว่าพบในแถบประเทศลาว.
2)ในหนังสือ Western Borneo. ทั้งสองเล่ม อาจารย์ท่านระบุว่าใช้ Barbichthys laevis.
3) ผมมาลองเช็คของ อาจารย์ Doi พบว่า B.nitidus. ถูกระบุว่า พบใน แม่น้ำโขง แม่น้ำเจ้าพระยา และ แม่น้ำแม่กลอง. ในขณะที่ B.laevis ถูกระบุว่าพบในคาบสมุทรมาเลย์ สุมาตรา บอร์เนียวตะวันออก บอร์เนียวใต้ และ ชวา ครับ. ในขณะเดียวกัน ของพี่แฟรงค์ หรือ ท่านด็อคเตอร์ชวลิต วิทยานนท์ ก็ระบุแหล่งที่พบใกล้เคียงกับของอาจารย์ โดอิ (Doi.).
สรุปว่า revision ของปลาชนิดนี้ในมือผมไม่มีครับน้า แต่ข้อแตกต่างของปลาทั้งสองชนิดนี้ผมคิดว่ามีแน่นอนครับ. แต่ผมหาไม่ได้.
คือขออนุญาตเรียนเพิ่มเติมนิดนึงครับ ว่า ผมไม่ได้เป็นผู้รอบรู้อะไรเลย เพียงแต่ใจชอบปลา ก็ต้องการหาที่มาที่ไปของเขาว่า ใครเป็นคนพบปลาไทยชนิดนี้ชนิดนั้น เพราะเท่าที่ทราบคร่าวๆปลาไทยส่วนใหญ่ถูกบรรยายโดยอาจารย์ชาวต่างประเทศ เพื่อคลายความสงสัยก็เลยหาข้อมูลมาเก็บไปเรื่อยๆครับ ผมไม่อยากรู้สึกเสียใจทีหลัง ไหนๆก็ไม่มีปัญญาเรียนประมง แต่เราก็น่าจะพอหาความรู้ได้บ้าง ผิดบ้าง ถูกบ้าง สมหวังบ้าง ผิดหวังบ้าง เป็นธรรมดาครับ เลยอยากบอกว่า จิรชัย ไม่ได้เก่งกว่าคนอื่นเลยครับ รู้ก็รู้ ไม่รู้ยังเดาไปเรื่อยเลยครับ อิ อิ อิ อิ.