สวัสดีฆ่ะน้าเรืองศักดิ์
วัดวิชุนราช
วัดแห่งนี้เจ้าชีวิตวิชุลราชโปรดให้สร้างขึ้น และได้ตั้งชื่อวัดตามพระนามของพระองค์ เมื่อสร้างเสร็จก็ได้อัญเชิญพระบางจากวัดมโนรมย์มาประดิษฐานไว้ที่วัดวิชุน วัดนี้มีความสำคัญด้วยเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญหลายองค์
ในปีพ.ศ. ๒๐๙๑ พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชได้อัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) กับพระพุทธบุษยรัตนจักรพรรดิพิมลมณีมัย (พระแก้วขาว) หรือพระจันทรรัตนะ จากเมืองเชียงใหม่มาพร้อมพระองค์แล้วประดิษฐานไว้ที่วัดนี้
วัดนี้ยังเป็นวัดที่กระทำสัตย์ระหว่างเจ้าองค์นกและเจ้าอินทโสมที่รบเพื่อแย่งชิงเมืองหลวงพระบางกัน โดยให้สัตย์ว่าจะไม่ทำร้ายกันที่ภายในสิมวัดวิชุน
ปีพ.ศ. ๒๓๗๐ เจ้าพระยาราชสุภาวดี (สิงห์ สิงหเสนีย์) แม่ทัพของสมเด็จพระนั่งเกล้าฯปราบกบฎเจ้าอนุรุทธได้แล้วอัญเชิญพระบางไปไว้ที่กรุงเทพฯ
ปีพ.ศ. ๒๓๘๒ สมเด็จพระนั่งเกล้าฯทรงตั้งพระราชวงศ์สุกเสริมเป็นพระเจ้าล้านช้างร่มขาวหลวงพระบาง ซึ่งได้ทรงอัญเชิญพระบางกลับเมืองหลวงพระบางทางบก เมื่อมาถึงเมืองเชียงแมนก็กระทำพิธีเฉลิมฉลอง ๙ วัน ๙ คืน แล้วนำกลับมาประดิษฐานไว้ที่สิมวัดวิชุน และทรงตั้งพิธีรับน้ำพระพิพัฒน์สัตยา ถวายสัตย์ต่อหน้าพระบางตลอดสมัยที่เป็นเมืองขึ้นของสยาม
ปีพ.ศ. ๒๔๓๗ สมเด็จพระเจ้าสักรินทร์ทรงอัญเชิญพระบางไปประดิษฐานไว้ที่วัดใหม่สุวรรณภูมาราม ซึ่งต่อมาก็กลายเป็นสถานที่ถือน้ำพิพัฒน์สัตยา แต่หลังจากที่มีการรวมแขวงเวียงจันทน์, พวน, หัวพัน, หัวของ ก็เห็นว่าสถานที่นี้คับแคบเกินไป จึงย้ายสถานที่ประกอบพิธีกรรมไปที่วัดวิชุนดังเดิม
ปีพ.ศ. ๒๔๓๙ สมเด็จพระเจ้าสักรินทร์ทรงรื้อวัดวิชุนหลังเก่าที่ชำรุดลงเสีย แล้วทรงปฎิสังขรณ์ใหม่ทั้งหลังตามแบบเก่า
สิมวัดวิชุนเชื่อว่าได้รับอิทธิพลของวิหารแบบไทลื้อสิบสองปันนา บานประตูไม้แกะสลักเป็นศิลปะแบบเชียงขวาง สิมแห่งนี้มีจารึกโบราณกล่าวถึงการสร้าง ที่มาของเสาไม้ภายในสิม รวมถึงชื่อเสาต้นต่างๆ
ก่อนเข้าสิมต้องจ่ายค่าปี้ (ตั๋ว) แต่...ไม่ต้องเข้าก็ได้เนอะ