อ้างถึง: to focus posted: 07-03-2557, 01:02:30
อ้างถึง: vnsurin posted: 06-03-2557, 23:38:44
.....อยู่ในเซฟมานานไม่ทราบพระอะไร ผมไม่เก่งเรื่องพระ.
ในปี พ.ศ.2514 มีการเล่าลือกันว่า ได้พบพระสมเด็จ วัดระฆังจำนวนหนึ่ง บนเพดานโบสถ์วัดระฆังในขณะที่ ทำการปฏิสังขรณ์สิ่งปลูกสร้างต่างๆของวัด ซึ่งปกติแล้วจะดำเนินการปฏิสังขรณ์ทุกๆ 50 ปี พระสมเด็จที่พบว่ากันว่า มีทั้งพระสมเด็จที่ลงรักปิดทอง และลงรักอย่างเดียว มีลักษณะสวย สมบูรณ์ทุกองค์ แต่ก็ไม่มีข่าวคราวอะไรออกมาจากวัดระฆังเกี่ยวกับพระชุดนี้ คงเป็นแค่เรื่องของ ข่าวลือที่พูดกันไปแม้ทุกวันนี้
แต่ต่อมาในปลายปี พ.ศ.2514 ก็มีปฏิทินของบริษัทน้ำมัน สามทหาร พ.ศ.2515 ออกมา หลายท่านคงจำกันได้ ปฏิทินดังกล่าวประกอบด้วย ปฏิทินรูปพระเครื่องจำนวน 3 แผ่น แต่ละแผ่นจะแสดงปฏิทิน 4 เดือน ภาพพระเครื่องทั้งหลายเป็นพระเครื่องของจอมพลถนอม กิตติขจร ซึ่งในขณะนั้นท่านดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่ ปฏิทินแผ่นที่ 2 เป็นภาพของพระสมเด็จบางขุนพรหม ปฏิทินแผ่นที่ 3 เป็นภาพของพระสมเด็จเกศไชโย ซึ่งปฏิทินแผ่นที่ 2 และ 3 ก็ไม่เป็นที่ข้องใจ หรือติดใจอย่าง ใดเพราะทุกคนก็ทราบกันดีว่า พระสมเด็จบางขุนพรหมและพระสมเด็จเกศไชโย เป็นพระที่เคยบรรจุกรุอยู่ แต่เป็นที่ฮือฮากันมากสำหรับผู้ที่นิยมพระเครื่องในสมัยนั้น คือ ในปฏิทินแผ่นที่ 1 มีการลงภาพของพระสมเด็จวัดระฆังไว้นับได้ถึง 66 องค์ มีทั้งแบบสี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมตัดโค้ง และที่พิเศษคือ พิมพ์ที่เรียกกันว่า พิมพ์ยอดขุนพล หรือพิมพ์ฐานสิงห์สามชั้น ซึ่งว่ากันว่าเป็นพระพิมพ์ที่ จอมพลถนอม บูชาขึ้นคอ แสดงเป็นภาพใหญ่อยู่ตรงกลางในปฏิทินในสมัยนั้น
ผู้เขียนจำได้ว่า พระสมเด็จวัดระฆังทุกพิมพ์ในปฏิทินก็เป็นที่ยอมรับกันในวงการ ยกเว้นพิมพ์ยอดขุนพล หรือเรียกกันใหม่ว่า พิมพ์จอมพลถนอมเท่านั้น ที่ไม่ยอม รับกัน เพราะไม่เคยเห็นมาก่อน ถ้าหากดูภาพพระสมเด็จ ในปฏิทินแล้ว ก็จะเห็นว่า เป็นพระเก่า มีคราบรัก สีออก แดงๆ องค์ที่คราบรักยังสมบูรณ์อยู่จะเห็นเป็นสีแดงอ่อนๆ แดงคล้ำๆ ก็มี ที่รักหลุดล่อนออกแล้วเป็นสีขาวก็มี ที่สำคัญก็คือ พระมีคราบสีน้ำตาลอ่อน แสดงว่าพระทั้งหมด นี้ เป็นพระที่แต่เดิมถูกบรรจุกรุอยู่ พระที่บรรจุกรุอยู่ถึงแม้ จะอยู่กรุเดียวกัน ก็ไม่จำเป็นจะต้องมีสภาพเหมือนกัน ยิ่งเป็นกรุที่พื้นดินด้วยแล้ว สภาพแวดล้อมจะแตกต่างกันมาก เช่นพระที่อยู่ข้างล่างน้ำท่วมถึง พระที่อยู่ข้างบนถูกแดดจัด พระที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันนับร้อยปี ก็จะมีสภาพไม่เหมือนกันดังเช่นพระสมเด็จวัดระฆังกรุนี้
ดังนั้น ตามข่าวลือที่ว่า มีพระสมเด็จวัดระฆังแตกกรุในปี พ.ศ.2514 ก็มีมูลความจริง หลักฐานคือ พระสมเด็จวัดระฆังที่ลงภาพในปฏิทิน สามทหาร พ.ศ.2515 (ตามรูปที่นำมาแสดง) แต่พระชุดนี้บรรจุกรุที่ไหน ก็ต้องตัดแหล่งที่มา ว่าได้จากเพดานโบสถ์วัดระฆังออก เพราะพระชุดนี้มีคราบกรุ และมีสภาพที่ถูกน้ำถูกแดดแตกต่างกัน พระชุดนี้จึงน่าจะอยู่ที่พื้นดินมากกว่าอยู่ที่เพดานโบสถ์ และก็เป็นเรื่องอัศจรรย์ที่ความจริงเกี่ยวกับพระสมเด็จวัดระฆัง จะปรากฏสิ่งศักดิ์สิทธิ์จึงได้ดลบันดาลให้มีภาพเขียน ของพระสมเด็จวัดระฆังชุดนี้รวมอยู่ในภาพจิตรกรรมฝาผนัง แสดงชีวประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ที่ด้าน ขวาของพระประธานในอุโบสถของวัดอินทรวิหาร เป็นภาพ ของพระสมเด็จเหมือนกับพระสมเด็จในปฏิทิน วางเรียงราย อยู่ในพระปรางค์เล็กของวัดระฆังเป็นที่อัศจรรย์