ลัวรี่ ราพาล่า
เขาเกิดที่เมืองเล็กๆ ในปี 1907 ไม่เคยเห็นหรือรู้เรื่องราวของพ่อผู้ให้กำเนิด ไม่มีแม้แต่นามสกุล จนกระทั่งอายุ
ได้ 5 ขวบ เจ้าหน้าที่ทางสำมะโนประชากรจึงตั้งนามสกุลให้เขาว่า "ราพาล่า" ตามชื่อของเมืองที่เขาได้เกิดมา
คำนี้ในภาษาที่ใช้กันอยู่พื้นบ้าน หมายความถึงความมัวมน ปลักตม ซึ่งรู้สึกว่าตรงกับบุคลิกภาพหม่นหมองของเด็ก
กำพร้าคนนั้น ชีวิตส่วนใหญ่ของเขาพบรู้จักแต่ความยากจน ต้องทำงานหนัก ออกรบในสงครามทั้งกับพวกรัสเซียน
และเยอรมันเพื่อจะได้มีประสบการณ์ที่ทั้งรุ่งโรจน์และถูกกระแทกซ้ำเติมในบั้นปลายเหมือนความสำเร็จรุ่งโรจน์นั้น
หัวเราะเยาะเขาพร้อมๆ กัน
ในปี 1936 ราพาล่าได้ทำเหยื่อปลอมชนิดลอยน้ำได้ขึ้นมาตัวหนึ่ง เหยื่อตัวนี้มีอาการส่ายตัวบิดไปบิดมาที่ไม่
เหมือนตัวอื่นๆ เป็นเวลาเป็นปีๆ มาแล้วที่เขาตกปลาอยู่ตามทะเลสาบชายป่าซึ่งอยู่ไกลออกไป
ทางด้านเหนือของเฮลซิงกิประมาณ 2 ชั่วโมง จากเรือกรรเชียงที่เขาใช้ เขาเพียรศึกษาการต่อสู้เพื่อยังชีพในกระแส
น้ำ เฝ้ามองปลาเหยื่อตัวเล็กๆ ที่ถูกงาบเข้าไปในอุ้งปากมหึมาของเกมส์ฟิช ซึ่งส่วนใหญ่เป็นปลาเทร้าท์หรือไม่ก็ปลาไพค์
"ผมได้เห็นว่าปลาใหญ่ๆ นั้นมักจะรอคอยจนกระทั่งสามารถเลือกเหยื่อที่มีลักษณะอาการแตกต่างไปจากตัวอื่น"
เขาเคยพูดอธิบายให้ฟัง "การที่ปลาเหยื่อถูกปลาเกมขนาดใหญ่ๆ กินก็เป็นเพราะกริยาอาการว่ายน้ที่ไม่เหมือนตัวอื่นๆ
เป็นจังหวะที่ต่างกัน" ด้วยการฝึกหัดอันนี้ เขาถึงขนาดทายไว้ล่วงหน้าได้ว่าเมื่อลงเหยื่อเสร็จ ปลาจะกินเหยื่อตัวใหนก่อน
นี่ไม่ใช่การฝึกอดทนที่ไร้ค่า เพราะครอบครัวราพาล่ามีชีวิตอยู่ได้ด้วยปลาตลอดระยะเวลาทุกข์ยากอันยาวนาน หลังจาก
ไม่ได้มรรคผลอะไรจากอาชีพเพาะปลูกและตัดซุง เขาตกลงใจเป็นชาวประมงและแต่งงานกับภรรยาของเขา เอลมา
มีลูกด้วยกัน 7 คนตลอดระเวลาระหกระเหินจากพรากกันบ้างยาวนานถึง 21 ปี ในภาวะสงครามนั้น ครอบครัวนี้
อยู่รววมกันในกระท่อมซุงสี่เหลี่ยมขนาดกว้างยาว 13 ฟุต เฟอร์นิเจอร์ในบ้านมีเตียงอยู่ตัวหนึ่งและเมื่อไฟฟ้าไปถึง
ที่นั่นในปี 1939 ทั้งบ้านมีตะเกียงน้ำมันอยู่เพียงดวงเดียว
ลัวรี่ ราพาล่า ตกปลาอย่างหนักแทบทุกลมหายใจที่ตื่น ในทะเลสาบใกล้ๆกับ วาแอคซี่ ฟินด์แลนด์ เขาจะวนเวียนพายเรือ
อยู่ในนั้นเป็นวันๆ วันข้ามวัน มีตาข่ายใส่เหยื่อปลาและเบ็ดนับร้อยๆสาย และเขาไม่เคยมีคันเบ็ดใช้เลย บางทีเขาจะหาย
ไป 2 วันแล้วกลับมาพร้อมด้วยปลาเทร้าท์หนักรวมกันถึง 600 ปอนด์ และบางทีก็หายไปนานกว่านั้นแล้วกลับมาแบบ
ไม่ได้อะไรเลย
ริสโต้ ลูกชายคนหนึ่งของเขาพูดถึงพ่อแบบทบทวนความหลังว่า พ่อออกจากบ้านในฤดูหนาว วิ่งสกีไปหลายๆ ไมล์ข้ามหิมะ
และน้ำแข็งไปยังแหล่งตกปลา เพื่อเจาะหิมะและน้ำแข็งซึ่งหนาถึง 23 นิ้ว ให้เป็นรูแล้ววางเบ็ดพร้อมปลาเหยื่อลงไป
นำอาหารกลับมาให้ครอบคัวยังชีวิต
อย่างไรก็ตาม ในช่วงฤดูร้อนซึ่งเขาต้องทำงานสายตัวแทบขาดนั่นเองที่ราพาล่าได้ความคิดที่เป็นรูปร่างเหยื่อปลอมขึ้น
ในขณะที่เขาคอยให้ปลามากินเบ็ดเพื่อที่มันจะได้เต็มตาข่ายเอากลับไปบ้าน เขาเอาสายเบ็ดพันมือและพายเรือช้าๆ ลาก
ปลาเหยื่อไปอย่างคนที่ไม่ยอมให้ทุกวินาทีของตนผ่านไปเฉยๆ อย่างไร้ค่า เขาก็ได้ความคิดถึงเรื่องเหยื่อปลอมซึ่งถูก
ลากและมีแอคชั่นบอกอาการคล้ายๆปลาเหยื่อที่กำลังบาดเจ็บซึ่งจะเรียกร้องความสนใจจากเกมส์ฟิช
หลังจากทดลองหลายครั้งหลายหนเขาก็ได้ข้อสรุปออกมาว่า เหยื่อนั้นต้องใช้วัสดุเบาๆ ทำ มันจะได้มีแอ็คชั่นเหมือนเหยื่อ
ปลาที่บาดเจ็บมากที่สุด ตอนแรกเขาใช้ไม้สนในการทำเหยื่อปลอมรูปตัวปลา ต่อมาได้ทดลองใช้เปลี่ยนเป็นไม้บัลซ่าจาก
อีควาดอร์ เขาตกแต่งเหยื่อนั้นให้มีลักษณะคลายตัวปลา ใช้กระดาษตะกั่วทากาวทับติดตัวปลา ติดปากเพื่อให้เหยื่อมีแอคชั่น
และเพื่อให้มองดูเหมือนปลาเหยื่อมากขึ้น เขาระบายสีเหยื่อปลอมตัวนี้ด้วยหมึกสีแบบเก่า
เหยื่อปลอมนั่นประสบความสำเร็จอย่างน่าตื่นตกใจ มากยิ่งกว่าความคาดหมายของคนทำเป็นล้นพ้นทวี ทั่วท้องถิ่นเล่าลือ
กันถึงเหยื่อนี้ และอย่างชาวนาผู้ซื่อตรง เขาไม่ได้หวงแหนหรือเก็บงำไว้เป็นความลับส่วนตน เขาทำเหยื่อปลอมแบบตัวเก่ง
ของแจกจ่ายให้กับเพื่อนบ้านและเพื่อนคนหาปลาด้วยกัน สุดแล้วแต่ใครจะขอหรืออยากได้
ข่าวดีนั้นเดินทางเร็วในโลกของคนตกปลา มันแพร่ไปเร็วและกว้างยิ่งกว่าไฟใหม้ป่า ความต้องการหลั่งใหลเข้ามา และ
ราพาล่าเริ่มต้นขายเหยื่อปลอมของเขา
อะไรกำลังจะดี แต่มีอุปสรรคเข้ามาขวางให้โชคของคนยากจนสิ้นลงง่ายๆ รัสเซียบุกเข้ายึดครองฟินด์แลนด์ในปี 1939
และเขาต้องไปรับใช้กองทัพเป็นเวลาถึง 5 ปี กว่าเขาจะได้กลับคืนไปที่กระท่อมน้อยริมทะเลสาบของเขาอีก ในช่วงนั้น
เอลมา เลี้ยงลูกชาย 5 คนและลูกสาว 2 คนให้มีชีวิตอยู่ได้โดยอาศัยการทำงานเล็กๆน้อยๆ และกู้ยืม
เมื่อภาวะสงบกลับคืนมาและคนเราเริ่มมีเวลาว่าง กีฬาตกปลากได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในทวีป
อเมริกาเนือ ราพาล่าก็สามารถผลิตและขายเหยื่อปลอมของเขาได้มากขึ้น
กลางๆ ปี 1950 เหยื่อราพาล่าจึงได้ไปถึงอเมริกา เขาส่งมันไปเป็นของขวัญแก่ชาวฟินด์แลนด์โพ้นทะเลซึ่งอยู่ในฟลอริดา
และแถบเหนือติดกับพรมแดนแคนาดาซึ่งกำลังบ้าตกปลาขนานใหญ่ ในมิเนโซต้าซึ่งลูกหลานว่านเครือผู้สืบเชื้อสายจากชาว
ฟินด์แลนด์ตั้งรกรากกันอย่างถาวร นามราพาล่าจึงอุโฆษขึ้น ทั้งในฐานะความภาคภูมิใจอันเก่าแก่ที่คนเหล่านั้นมีต่อบรรพชน
ในฐานะเหยื่อตกปลาที่มหัศจรรย์ที่สุด บางคนไปจากอเมริกายังบ้านเกิดเมืองนอนเพื่อเอารางวัลที่ได้จากปลาเหยื่อไปให้ผู้ผลิต
ได้ร่วมชื่นชม ดูเหมือนว่าเหยื่อราพาล่าจะได้ปลาทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นปลาเทร้าท์ ปลาไพค์ หรือปลาแบสส์ เป็นจำนวนมากมาย
อย่างที่ไม่เคยตกได้มาก่อนและในขนาดที่มโหฬารน่าตื่นระทึก
เพราะว่ามันเป็นงานฝีมือ ทำด้วยมือล้วนๆ และหายาก โรคบ้าเหยื่อราพาล่าเกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง มันเป็นเหยื่อน้ำหนักขนาด
เบาอยู่ระหว่างปานกลาง ดังนั้นจึงใช้ได้กับคันขนาดเบาทุกประเภท แต่แปลกที่มันมีน้ำหนักเพียงพอให้ขว้างหรือยิงสายออกไป
ได้ ลากได้และไม่จม
เป็นเรื่องตลกที่เกิดมีการเล่าถึงเรื่องนักกีฬาตกปลาขโมยเหยื่อปลาปลอมจากเพื่อนนักตกปลาด้วยกัน มีอาชีพใหม่เกิดขึ้น นั่นคือ
การให้เช่าเหยื่อปลอมราพาล่า ซึ่งบัดนี้ขนานนามกันว่าเป็นปรากฎการณ์ธรรมชาติอันหนึ่งอันใดขึ้นแล้ว ผู้เช่าคือคนที่ได้ยินกิตติ
ศัพท์แต่ไม่สามารถหาซื้อมาไว้เป็นเจ้าของได้ ต้องไปเช่าคนอื่นมาทดลองตก ของที่ถูกส่งข้ามประเทศมาในฐานะของขวัญ บัดนี้
แอบขายให้กันตามเคาท์เตอร์สำหรับคนกันเอง เพราะมันมีเพียงจำนวนน้อย ในราคาตัวละ 25 เหรียญ ซึ่งในยุคนั้นเป็นราคาที่
แพงเหมือนกับทอง
และแล้วก็มีคนหัวใสเกิดขึ้นมาจนได้ หมอนั่นเป็นพนักงานขายจอมจ้อในมินเนโซต้า ซึ่งได้ยินปรากฎการณ์อันพิลึกกึกกือนี้
รอน เวบเบอร์ จึงร่วมทุนร่วมความคิดกับเพื่อนที่ชื่อ เรย์ ออสตรอม เขียนจดหมายไปถึง ลัวรี่ ลาพาร่า ขออนุญาตเป็นตัวแทน
ขายเหยื่อปลอมราพาล่าแต่เพียงผู้เดียวในทวีปอเมริกาเหนือ
พอถึงตอนนั้น เนื้อที่ขนาดแมวดิ้นตายในกระท่อมของลัวรี่ กลายเป็นโรงงานผลิตเหยื่อปลอม โดยเขา เมีย ลูกๆ และเพื่อนบ้าน
สาละวนกับการทำเหยื่อตามใบสั่งที่ทยอยตามกันเข้ามาเหมือนสายน้ำ เหยื่อถูกส่งไปอเมริกาขายหมดในพริบตา ใบสั่งระลอกใหม่
ตามเข้ามาอย่างไม่หยุดยั้ง จนถึงปี 1962 นักตกปลาซึ่งโดนความยากจนกระหน่ำมาทั้งชีวิตและเริ่มดูว่าแก่หง่อม ทั้งที่เขามีอายุ
เพียง 55 ปี ก็ตกลงเซ็นสัญญากับพนักงานขายชาวอเมริกัน 2 นายนั้น ทั้งสองหมอนั่นเป็นผู้ขายราพาล่าแต่เพียงผู้เดียว ไม่จำกัด
จำนวน เอาหมดของให้ผลิตออกมาได้เท่าไหร่เป็นเอาทุกตัว ตอนนั้นลัวรี่ ยังคงผลิตเหยื่อทุกตัวด้วยมือ
อะไรที่มันจะเกิด มันต้องเกิดนิตยสารไลฟ์ได้เรียนรู้เหยื่อตัวนี้ และพาดหัวบนปก ซึ่งหน้าปกนั้นมีมาริลีน มอนโร ผงาดเนื้อหนัง
โนมเนื้อทุกส่วนของเธอ มันเป็นฉบับประจำวันที่ 17 สิงหาคม 1962 ด้วยถ้อยคำสั้นๆ ว่า "เหยื่อปลอมที่ปลาไม่มีสิทธิปฏิเสธ"
เป็นฉบับที่ไลฟ์เองก็ทำลายสถิติการจำหน่ายของตัวเองเหมือนกัน
"เราแทบไม่เชื่อ ไม่เชื่อเอาจริงๆ เสียงโทรศัพท์ดังเข้ามาสั่งเหยื่อปลอมทุกนาที..." ออสตรอมเล่าให้ฟัง เพียงปีเดียวขายไปได้
100,000 ตัว พอถึงปี 1964 ยอดขายเพิ่มขึ้นเป็น 800,000 และไม่นานก็เพิ่มเป็นล้านและเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ลัวรี่ ย้ายไปอยู่บ้านหลังใหม่ซึ่งใหญ่โตขึ้นแต่ยังคงอยู่ในชนบท เขาเป็นวีรบุรุษเอกชนของท้องถิ่น ซึ่งดูเหมือนว่าเมื่อความสำเร็จจะ
มาถึง มันมาในชั่วเวลาไม่ทันข้ามคืนหลังจากที่ความยากจนกระหน่ำย่ำยีเขามาตลอดแต่เขาก็ยังเป็นคนหาปลาชนบทเหมือนดังเดิม
ความสำเร็จนั้นไม่ได้มีผลแตกต่างอะไรต่อตัวเขา ยังเป็นคนง่ายๆ จะพูดถึงความสำเร็จนั้นอย่างร่าเริงบ้างกับกลุ่มเพื่อนฝูงชาวบ้าน
นอกที่สนิทกันมาเก่าก่อน แต่จะเก็บตัวและขลาดอายอยู่เสมอเมื่อมีคนไม่รู้จักแวะเวียนไปหาซึ่งในจำนวนนั้นก็มีประธานาธิบดี
ฟินด์แลนด์ และเจ้าชายฟิลลิปแห่งอังกฤษรวมอยู่ด้วย
"พ่อไม่เคยอยากท่องเที่ยว"ริสโต้ ลูกชายคนโตเล่า "พ่อเคยไปอเมริกาเพียงครั้งเดียว ไปอยู่แค่สองอาทิตย์และตลอดเวลาก็ตกปลา
ในทะเลสาบชายป่ามินเนโซต้า"
เอ็นซิโอ ลูกอีกคนบอกว่า "พ่อมีเงินติดตัวไม่มาก บางทีก็ไม่มีเลย ถ้าพ่อนั่งแท็กซี่กลับบ้าน พ่อก็จะบอกให้คนขับรถขับไปที่แบงค์
ไปเอาเงินที่พ่อฝากอยู่"
ในปี 1965 ลูกคนเล็กชื่อ คัวโก้ ได้จมน้ำตายในทะเลสาบซึ่งเขาเคยทดสอบเหยื่อปลอมอยู่เสมอ เรือที่นั่งไปชนสิ่งกีดขวางและเขา
ตกลงไปในน้ำ กว่าจะพบศพก็อีกอาทิตย์ถัดมา ที่ติดขึ้นมากับขากางเกงของหนุ่ม 26 ปีผู้เคราะห์ร้ายเป็นเหยื่อราพาล่าตัวหนึ่ง
โศกนาฏกรรมนั้นทำร้าชายชราที่ชราแล้วอย่างสาหัส ริสโต้ บอกว่า "พ่อไม่เป็นอย่างเดิมอีกเลยตั้งแต่วันนั้น พ่อรู้สึกว่าสายน้ำซึ่ง
การุณพ่อมาตลอดชีวิต บัดนี้ได้ทวงหนี้ที่พ่อต้องชำระ นั่นคือชีวิตของ คัวโก้"
ชายชราดื่มอย่างหนักหลังการตายของลูกชาย โอนกิจการให้ลูก ไม่เคยมาสนใจใยดีว่ากิจการนั้นก้าวหน้ายิ่งใหญ่เพียงใด ร่างกายซึ่ง
ครั้งหนึ่งเคยแข็งแกร่ง บัดนี้เปราะบางแล้ว สำหรับทุกข์ยากนานาของชีวิต ลัวรี่ ราพาล่า ตายลงในวันที่ 20 ตุลาคม 1974 มี
ทรัพย์สินส่วนตัวที่เหลือเพียง 27,000 เหรียญ เพราะนอกนั้นเขาอุทิศให้กับลูกๆ และคนอื่น
เขาฝังศพลัวรี่ ไว้ใกล้ๆกับศพของคัวโก้ แต่ชื่อของเขาจะมีชีวิตอยู่ต่อไป เป็นอมตะนามเสมอในหมู่นักกีฬาตกปลา ตราบเท่าที่เหยื่อ
ปลอมราพาล่ายังติดปลาทุกตัวขึ้นมาจากน่านน้ำและกระแสธารทั่วโลก...
ผมคัดลอกบทความนี้ มาจาก น้าสิงห์ สายฟู น้าแกได้ข้อมูลมาจาก
..จากบทความและภาพในคอลัมน์คนกลางแจ้ง โดย ชุ่น ช่อลำดวน หนังสือชีวิตกลางแจ้ง ปีที่ 2 ฉบับที่ 20 กุมภาพันธ์ 2526
ขอบคุณรุ่นพี่ที่เคารพท่านหนึ่งที่เก็บสะสมหนังสือน่าอ่านไว้ และมอบให้ผมได้นำมาถ่ายทอดให้ทุกท่านได้อ่าน ณ ที่นี้ รวมถึงผู้เขียน
และหนังสือชีวิตกลางแจ้งด้วยครับ ขอขอบคุณน้าด้วยครับผมที่ผมมิได้แจ้งล่วงหน้าแต่ผมเห็นว่าเป็นความรู้ จึงขออนุญาตินะครับ