บุหรี่กับหัวใจ
มีใครจะเชื่อบ้างว่า การสูบบุหรี่ ที่แพร่หลายในปัจจุบันนี้เริ่มต้นมาจาก ตอนแรกคนเราเชื่อกันว่า บุหรี่ช่วยฟอกปอดให้สะอาด เนื่องจากบุหรี่ทำให้ไอและมักมีเสมหะออกจากปอดและหลอดลม
คนที่เริ่มสูบบุหรี่ พวกแรกคือ พวกอินเดียนแดงในทวีปอเมริกา ซึ่งต่อมาได้มาแพร่หลายในประเทศสเปน ด้วยความเชื่อดังกล่าวจึงทำให้บุหรี่เป็นที่นิยมในยุโรปและสหรัฐอเมริกาอย่างรวดเร็ว
ดังนั้น จึงเป็นที่แน่ชัดว่า การสูบบุหรี่ในประเทศไทยนั้นได้รับอิทธิพลโดยตรงจากชาวต่างชาติ นอกเสียจากทางเหนือโดยเฉพาะชนพื้นเมือง ซึ่งการสูบบุหรี่นั้นอาจมีมานานแล้ว
สิ่งที่ผู้สูบบุหรี่บริโภคกัน คือ ยาสูบ....... วิธีบริโภคยาสูบอาจทำได้ด้วยวิธี เคี้ยว หรือ สูบ การสูบ คือ การเผาใบยา สูดเอาควันที่เกิดจากการเผาไหม้เข้าปอด ไม่ว่าจะเป็นบุหรี่, ซิการ์หรือกล้องยาเส้น
ส่วนประกอบของควันบุหรี่ที่ถูกสูดเข้าปอด ประกอบด้วย
* นิโคติน (Nicotin)
- เป็นตัวที่ทำให้คนติดบุหรี่และทำให้หลอดเลือดหดตัว หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง!!
* ทาร์ (Tar)
- เป็น.....สีน้ำตาล (ใครอยากเห็นลองพ่นควันบุหรี่ใส่ผ้าเช็ดหน้า หรือกระดาษทิชชู ดู)
จับที่หลอดลม ทำให้หลอดลมอักเสบ มีอาการไอ ถุงลมปอดโป่งพองและเกิดมะเร็ง
หลอดลมและปอด
* แอมโมเนีย (Ammonia)
- ทำให้ระคายเคืองหลอดลม แสบจมูก ตาและทำให้ไอมีเสมหะมาก
* คาร์บอนมอนออกไซด์ (Carbon monoxide)
- ทำให้เลือดจับกับออกซิเจนได้น้อยลง ร่างกายจึงต้องผลิตเม็ดเลือดแดงเพิ่มขึ้น หัวใจ
ทำงานหนัก มีอาการมึนศีรษะ อ่อนเพลียและเหนื่อยง่าย
* สารกัมมันตภาพรังสี
- ซึ่งเป็นตัวก่อเกิดมะเร็งที่สำคัญ และยังมีผลต่อคนใกล้ชิดที่ไม่ได้สูบบุหรี่ ทำให้มี
โอกาสเป็นมะเร็งหลอดลมและปอดสูงขึ้น
นอกจากนี้ ควันบุหรี่ยังมีสารต่างๆ ที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อทางเดินหายใจ คือ หลอดลมและถุงลมปอด ซึ่งจะทำให้ผู้สูบเป็นหลอดลมอักเสบเรื้อรัง และถุงลมปอดโป่งพองได้ง่ายอีกด้วย
โรคที่พบได้มากในคนที่สูบบุหรี่ คือ
มะเร็ง ทั้งมะเร็งหลอดลมและปอด และมะเร็งในอวัยวะอื่นๆ เช่น มะเร็งกล่องเสียง ริมฝีปาก กระเพาะปัสสาวะและไต เป็นต้น
ถุงลมปอดโป่งพอง กว่าร้อยละ 80 ของผู้ป่วยที่เป็นโรคถุงลมปอดโป่งพอง มีสาเหตุมาจากการสูบบุหรี่และผู้ที่เป็นโรคนี้ ยังอาจจะเกิดการติดเชื้อ เช่น ปอดบวม หรือไข้หวัดใหญ่ และวัณโรคได้ง่ายอีกด้วย
โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน นอกจากบุหรี่จะทำให้หลอดเลือดตีบแคบลง จากการที่มีคราบไขมันและหินปูนสะสมแล้ว บุหรี่ยังทำให้หลอดเลือดหดรัด ตัวเล็กลงและเกร็ดเลือดเกาะตัวรวมกันเป็นลิ่มเลือดได้ง่ายกว่าปกติอีกด้วย
โรคหลอดเลือดอื่นๆ ตีบตัน บุหรี่ไม่ได้ทำให้หลอดเลือดที่หัวใจตีบที่เดียวเท่านั้น แต่ยังอาจทำให้หลอดเลือดที่สมองตีบตัน เกิดอัมพาต อัมพฤกษ์หรือหลอดเลือดที่ขาตีบตัน ทำให้เท้าขาดเลือดเป็นแผลถึงกับต้องตัดขาตัดเท้าได้
การติดบุหรี่ อาจเกิดจาก
การติดสารนิโคติน
ความเคยชิน
ภาวะจิตใจที่ต้องพึ่งการสูบบุหรี่
ไม่ว่าท่านจะติดการสูบบุหรี่จากสาเหตุใด (หรือหลายสาเหตุ) การเลิกสูบบุหรี่เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ จะยากหรือง่ายขึ้นอยู่กับความเข้มแข็งของแต่ละคน
ผมเคยมีคนไข้คนหนึ่งเป็นผู้ชาย อายุ 40 ปีเศษๆ พบกันครั้งแรกหลังจากมีอาการแน่นหน้าอกอย่างรุนแรง ขณะกำลังสูบบุหรี่หลังจากออกกำลังกาย คนไข้คนนี้เป็นคนที่ออกกำลังกายประจำสม่ำเสมอ ด้วยการวิ่งครั้งละ 30 40 นาที สลับกับการเล่นเทนนิสทุกวัน เขาคิดว่า การออกกำลังกายนั้นจะลบล้างความเลวร้ายของบุหรี่ให้หมดไป!!
คนไข้พวกนี้คิดผิดเหมือนกับคนที่มีไขมันในเลือดสูง แล้วคิดว่า ออกกำลังสม่ำเสมอแล้วจะรับประทานอาหารโดยไม่ต้องระวังได้ ......ความเสี่ยงพวกนี้มันไม่ได้ถูกลบล้างกันง่ายๆ ถ้าเราแก้ไขไม่ตรงจุดก็จะไม่เกิดประโยชน์เหมือนกับเอาสีขาวผสมลงไปในสีดำ .....ยังไงก็ยังได้สีเทา (ดำอ่อน!!!) อยู่ดี ไม่มีทางเป็นสีขาวไปได้
คนไข้คนดังกล่าวเจ็บแน่นอยู่ตรงบริเวณกลางหน้าอก แล้วมีอาการร้าวไปที่กรามด้านซ้าย สูดหายใจเข้าลึกๆ (ไม่มีบุหรี่ด้วย!) ก็เหนื่อยเหมือนหายใจเข้าไม่ได้เต็มที่ แล้วยังมีอาการเหงื่อแตก ใจสั่น คลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย มาถึงโรงพยาบาลทีแรกหมอที่ห้องฉุกเฉินคิดว่า เป็นโรคกระเพาะเพราะเห็นว่าอายุยังน้อย แต่พอเมื่อทำคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) กลับพบลักษณะของกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Heart Attack)
การเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ในคนไข้คนนี้คงเกิดจากสภาพร่างกายที่ขาดน้ำ (หลังออกกำลังกายหนัก เสียเหงื่อมากและไม่ได้ดื่มน้ำทดแทน) ร่วมกับการสูบบุหรี่ในขณะนั้นทำให้หลอดเลือดหัวใจหดตัวเล็กลง แล้วจึงมีเกร็ดเลือดมาเกาะตัวรวมกันเป็นลิ่มอุดหลอดเลือดบริเวณนั้นอย่างสมบูรณ์ คือ ไม่มีเลือดผ่านไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้เลย
ต่อมา คนไข้ได้รับการรักษาด้วยการทำบัลลูนขยายหลอดเลือดและใส่ขดลวด อาการดีขึ้นอย่างรวดเร็ว กลับบ้านไปได้ภายใน 3 4 วัน .....ก่อนกลับบ้านคนไข้ก็ได้รับคำแนะนำให้เลิกสูบบุหรี่และเรื่องการออกกำลังกายที่ถูกวิธี รวมถึงการดื่มน้ำทดแทนเหงื่อที่เสียไประหว่างออกกำลังกายด้วย
คนไข้กลับมาเจอกัน 1 เดือนหลังจากออกจากโรงพยาบาลไปทุกอย่างดูเรียบร้อยดี ออกกำลังกายได้ดีมากๆ แล้วก็ไม่สูบบุหรี่ตามที่แนะนำ เพราะคนที่เคยสูบบุหรี่หลังเลิกสูบบุหรี่แล้ว ภายใน 1 ปีความเสี่ยงจากโรคหัวใจลดลงถึงประมาณร้อยละ 50 ทีเดียว
แต่เมื่อเร็วๆ นี้ (ประมาณ 1 ปีเศษหลังจาก Heart Attack) คนไข้คนเดียวกันนี้กลับมาหาเพื่อตรวจกันตามปกติ เขาก็แข็งแรงดี แต่ผมสังเกตพบสิ่งปกติ......
หมอ... ทำไมสูบบุหรี่อีกล่ะครับ?
คนไข้ งง!! หมอรู้ได้อย่างไรว่า ผมสูบบุหรี่? เสียงกึ่งปฏิเสธ กึ่งอาย
หมอ โธ่... ปากคุณก็คล้ำขึ้น แถมกลิ่มบุหรี่ติดตัวฟุ้งไปหมด จะไม่ให้ผมทราบได้ยังไง
คนไข้คนนี้ บอกผมทีหลังว่า เช้าวันนั้นอุตส่าห์ อาบน้ำ สระผม ใส่น้ำหอม ใช้เสื้อผ้าใหม่ และอัดอั้นใจ งด
สูบบุหรี่เช้านั้นเพราะกลัวผมรู้ว่า กลับไปสูบบุหรี่ใหม่
หมอ ผมว่า ถ้าคุณยังอยากมีชีวิตยืนยาวและแข็งแรง คุณควรหยุดบุหรี่ให้ได้ดีกว่า........ ครั้งต่อไปคุณ
อาจจะไม่โชคดีเหมือนครั้งแรก .....เพราะจริงๆ คือ ผู้เกิด Heart Attack ครึ่งหนึ่งเสียชีวิตก่อนถึง
แพทย์
คนไข้ .......ท่าทางเชื่อและกลัว OK ครับ ผมหยุดสูบก็ได้ เรื่องง่ายๆ เพราะชำนาญแล้ว!!
หมอ ชำนาญเรื่องอะไรหรือครับ???
คนไข้ ก็เรื่องหยุดบุหรี่นี้ไงครับ...... หลังจากพบหมอเมื่อสามเดือนก่อน ผมเริ่มสูบบุหรี่ใหม่แต่ก็ได้
พยายามหยุดทำสำเร็จมา 2 3 ครั้งแล้ว ไม่เห็นยากตรงไหน
หมอ ?