ถึงมันจะไม่อันตราย ก็ไม่ควรซื้อครับ เพราะ สัตว์ทะเลนำมาเลี้ยงในตู้ ส่วนมากจะตาย ครับ ยกเว้นศูนย์วิจัยสัตว์ทะเล หรือ พิพิธภัณฑ์เท่านั้นที่พอจะมีโอกาสรอด คนเคยเลี้ยงก็น่าจะรู้ดีนะครับ หรือไม่สนใจกัน เมื่อมีคนซื้อ คนขายมันก็จะทำทุกวิถีทางที่จะนำมาขาย บางคนอาจจะอ้างว่าเพาะพันธุ์ เองได้แล้ว(เช่นปลาการ์ตูน) แต่ก็นั่นแหละครับ แล้วจะรับประกันได้อย่างไร ว่าจะไม่มีคนจับสัตว์ทะเลมาขาย โดยเฉพาะ สวนจตุจักร คุณรู้มั๊ยครับว่า การจับสัตว์ทะเลมาแต่ละครั้ง 100 ตัวมันจะรอดมาถึงสวนจตุจักรซัก 5 ตัว โดยเฉลี่ยนะครับ ผมเคยได้ฟังประสบการณ์ จากนักดำน้ำรุ่นพี่ ว่าเดี๋ยวนี้จะหาปลา การ์ตูนในทะเลจริงๆ มันยาก พอๆ กับหาปลาฉลามครับ ก็จริงอย่างว่าครับ ดำน้ำมาก็หลายไดร์ฟ ยังไม่เคยเจอฉลามเลยครับ สงสัยโดนตัดครีบ ขึ้นเหลาหมดแล้ว และรู้มั๊ยครับ เวลาเค้าจับปลาตามประการังเค้าจับยังไง จะเอาสวิงไปช้อน ก็ฝันไปครับ ปลามันไม่อยู่ให้จับหรอกครับ เค้าใช้ ไซยาไนส์ หยอดครับ อย่าลืมนะครับคนจับไมใช่นัก เคมี ไม่รู้หรอกครับว่า ใช้ปริมาณเท่าไหร่ ให้ปลามันสลบ ถ้าปลายังไวอยู่ก็เพิ่ม ไซยาไนส์ แล้วคิดดูครับ ตัวไหนโดนหนัก ก็ไม่ฟื้นเลย ตัวไหนฟื้นก็ พิการ หรือ เอ๋อ ไปเลยครับ เนี่ยแค่คร่าวๆนะครับ อย่าคิดนะครับว่าจับมันมาแล้ว เราก็เลี้ยงแล้วปล่อยมันคืนทะเลได้ ลองดูใน อ.ส.ท. ฉบับเดือน มีนาคม ที่ผ่านมา รีสอร์ทแห่งหนึ่ง ร่วมกับ องค์กรของรัฐแห่งหนึ่ง(ซึ่งจำไม่ได้ครับ) มีโครงการปล่อย ปลาการ์ตูน คืนสู่ท้องทะเล รู้มั๊ยครับ ปล่อยไป ห้าพันตัว มีรอดแค่ 8 ตัว เพราะอะไรหรือครับ เพราะนิสัยของปลาการ์ตูน โดนธรรมชาติจะอยู่ตามแนวประการัง ใช้แนวประการังเป็นแนวหลบภัย พอปลาใหญ่มามันก็หลบ แต่ปลาที่เพาะเลี้ยงหรือครับ พอปล่อยมันในแนวประการังมันก็จะตื่นแล้ว ว่ายหนีออกจากแนวประการัง เพราะมันไม่คุ้นเคยกันสภาพธรรมชาติ และไม่มีสัญชาตญาน ครับ สุดท้ายก็โดนปลาใหญ่ กินกันจนเรียบ สุดท้ายลงสำรวจ เจอแค่ 8 ตัว หารออกมาแล้ว กับงบประมาณทั้งหมดที่ใช้ไป ตกตัวละ 300,000 บาทครับ ถึงจะไม่ใช่งบประมาณของชาติครับ ร่วมกันหยุด วงจรอุบาทนี้กันเถอะครับ เพื่อการกลับมาของ ระบบนิเวศ ให้ลูกหลานเราไว้คอยชื่นชมต่อไป อยากจะดูเค้า ก็ไปเยี่ยมเค้า ไม่ใช่จับเค้ามาดู