สยามฟิชชิ่ง
หน้าแรก|กระดาน|รีวิว|ประมูล|ตลาด|เปิดท้าย
login | สมัครสมาชิก | วิธีสมัครสมาชิก | ลืมชื่อ/รหัส | login ไม่ได้? | 22 ธ.ค. 67
ชาวสยามฟิชชิ่งคิดอย่างไร: SiamFishing : Thailand Fishing Community
หน้าที่:< 1 | 2
 กระดาน > น้ำจืด
ความเห็น: 44 - [23 ก.พ. 56, 06:23] ดู: 3,745 - [22 ธ.ค. 67, 11:22]  ติดตาม: 1 โหวต: 5
ชาวสยามฟิชชิ่งคิดอย่างไร
กระทู้: 5
ความเห็น: 972
ล่าสุด: 01-12-2566
ตั้งแต่: 18-08-2554
vnsurin(136 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 26: 22 ก.พ. 56, 22:31
รอฟังข่าวชัวร์ๆ อย่างพี่ไก่ว่าดีกว่าครับ
กระทู้: 4
ความเห็น: 365
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 28-02-2555
ความเห็นที่ 27: 23 ก.พ. 56, 00:10
อ้างถึง: vnsurin posted: 22-02-2556, 22:31:44

รอฟังข่าวชัวร์ๆ อย่างพี่ไก่ว่าดีกว่าครับ

ถูกคร้าบบบ
กระทู้: 0
ความเห็น: 59
ล่าสุด: 22-12-2567
ตั้งแต่: 18-04-2554
ความเห็นที่ 28: 23 ก.พ. 56, 00:24
อยากถามว่า"พวกหยดยากุ้ง,ช็อตปลา"พวกนี้ถือเป็นอาชีพประมงที่ต้องขึ้นทะเบียนด้วยป่าวครับท่านผู้มีอำนาจ
กระทู้: 5
ความเห็น: 62
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 10-02-2556
melon(18 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offlineใบแดง
ความเห็นที่ 29: 23 ก.พ. 56, 00:37
มีหลายประเด็นมาก

1.คนที่เอาข่าวมาล้างสมองสังคม เป็น ngo ที่เคยออกความเห็นว่าการประมงน่าจะมีกฏหมายใหม่
แต่พอมีกฏหมายใหม่ ตัวเองกลับบิดเบือนข่าวสารให้ประชาชนสับสนดื้อๆ

2.พระราชบัญญัติกรมประมงฉบับใหม่
เป้าคลี่คลายปัญหาการประมง

ผลผลิตของภาคการประมงสามารถ ทำรายได้ให้แก่ประเทศปีละกว่า 2 แสนล้านบาท แต่ปัจจุบันการประมงต้องเผชิญกับปัญหาและอุปสรรคมากมาย อาทิ ภัยธรรมชาติ ความเสื่อมโทรม ของทรัพยากรประมง มลพิษในแหล่งน้ำ รวม ถึงการแย่งชิงทรัพยากรประมง โดยสาเหตุส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากมาตรการทาง กฎหมายว่าด้วยการประมงที่ล้าสมัย ซึ่งบังคับใช้มาเป็นระยะเวลานานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2490 ทำให้ไม่สอดคล้องกับสภาวการณ์ในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป หลายฝ่ายจึงเห็นพ้องต้องกันว่าควรแก่ การปรับปรุงแก้ไขใหม่เพื่อให้มีประสิทธิภาพทั้งในปัจจุบันและอนาคต 
   
ดร.สมหญิง เปี่ยมสมบูรณ์ อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า กรมประมงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. ........ โดยยกเลิกกฎหมายเดิมทั้งฉบับ และเพิ่มหลักการใหม่ ๆ ที่สำคัญ ๆ อาทิ มีการกำหนดให้มีแบ่งเขตการประมงในน่านน้ำไทยออกเป็น 3 เขต อย่างชัดเจน ได้แก่ เขตประมงน้ำจืด เขตประมงทะเลชายฝั่ง และเขตประมงทะเลนอกชายฝั่ง ทั้งนี้ เนื่องจากกฎหมายเดิมไม่ได้กำหนดเขตพื้นที่ทำการประมง ทำให้เครื่องมือประมงที่ได้รับอนุญาตสามารถทำการประมงในทะเลได้อย่างเสรีในทุกเกือบพื้นที่ ก่อให้เกิดปัญหาการแย่งชิงพื้นที่ทำการประมง  และมีความรุนแรงมากขึ้น
   
กำหนดให้มีมาตรการส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค และมีคุณภาพที่ได้มาตรฐาน โดยรัฐมีหน้าที่กำหนดมาตรฐานการปฏิบัติขั้นพื้นฐานสำหรับประชาชนผู้ประสงค์จะเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของตนให้ได้มาตรฐาน และออกหนังสือรับรองให้ ซึ่งจะทำให้สัตว์น้ำที่ได้จากการเพาะเลี้ยงของประเทศไทยมีศักยภาพในการแข่งขันทางการค้า
   
กำหนดให้มีมาตรการส่งเสริมด้านสุขอนามัย นับตั้งแต่ขั้นตอนการจับ การดูแลสัตว์น้ำหลังการจับ และการขนส่ง โดยรัฐออกหนังสือรับรองให้ กำหนดให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรประมง โดยกำหนดให้มีส่วนร่วมใน 2 ลักษณะ คือ การให้ตัวแทนภาคประชาชนร่วมเป็นคณะกรรมการนโยบายประ มงแห่งชาติ และกำหนด ให้กรมประมงมีหน้าที่ในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมและสนับสนุนชุมชนประมงท้องถิ่นในการจัดการ การบำรุงรักษา การอนุรักษ์ การฟื้นฟู และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนจากทรัพยากรสัตว์น้ำภายในเขตประมงน้ำจืดหรือเขตประมงทะเลชายฝั่ง  และกำหนดให้มี คณะกรรมการประมงนอกน่านน้ำไทย เพื่อเสนอแนะนโยบายและแนวทางการพัฒนาการประมงนอกน่านน้ำไทยต่อคณะกรรมการนโยบายประมงแห่งชาติ  และเสนอแนะต่อหน่วยงานในการออกกฎ ระเบียบต่าง ๆ ในการจัดระเบียบการใช้เรือไทยออกไปทำการประมงนอกน่านน้ำไทยเป็นการเฉพาะ
   
สำหรับหลักการอื่น ๆ ยังคงยึดถือแนวทางตามกฎหมายฉบับเดิม เพียงแต่มีการปรับปรุงให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ในปัจจุบันให้มากขึ้น เช่น การกำหนดอัตราโทษ อัตราค่าอากร ค่าธรรมเนียมให้มีความเหมาะสม กับสภาพเศรษฐกิจ เป็นต้น ทั้งนี้ กรมประมงได้เริ่มยกร่างกฎหมายนี้มาตั้งแต่ปี พ.ศ.  2543 โดยเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนได้ร่วมแสดงความคิดเห็นจำนวนหลายครั้งมาอย่างต่อเนื่อง และได้ทำการแก้ไขปรับปรุงมาเป็นลำดับ ซึ่งคณะกรรมการ กฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาและนำเสนอคณะรัฐมนตรีในรัฐบาลปัจจุบันให้ความเห็นชอบแล้วเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2553  และกำลังจะเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร ในเวลาไม่ช้านี้
   
“หวังเป็นอย่างยิ่งว่ากฎหมายประมงฉบับใหม่นี้ จะเป็นคำตอบหรือเป็นกลไกที่สำคัญประการหนึ่งที่จะช่วยแก้ไขปัญหาทางการประมงในปัจจุบัน และพัฒนาการประมงของประเทศให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น ภายใต้วิสัยทัศน์ของกรมประมงที่ว่า มุ่งสู่การเป็นผู้นำทางการประมงอย่างยั่งยืนในภูมิภาค เพื่อความอยู่ดีมีสุขของประชาชน” ดร.สมหญิง  เปี่ยมสมบูรณ์ อธิบดีกรมประมง กล่าว.

3.เป็นการนำเสนอของข้าราชการกรมประมงต่อรัฐสภา ที่มีสส.ทั้งสภา พิจารณา


ท่านที่ออกตัวแรงน่าจะลองหาอ่านข่าวจากเนื้อข่าวต้นฉบับก่อนน่าจะดีครับ
กระทู้: 5
ความเห็น: 205
ล่าสุด: 06-11-2567
ตั้งแต่: 22-12-2553
somaburi(48 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 30: 23 ก.พ. 56, 00:43
อ้างถึง: melon posted: 23-02-2556, 00:37:35

มีหลายประเด็นมาก

1.คนที่เอาข่าวมาล้างสมองสังคม เป็น ngo ที่เคยออกความเห็นว่าการประมงน่าจะมีกฏหมายใหม่
แต่พอมีกฏหมายใหม่ ตัวเองกลับบิดเบือนข่าวสารให้ประชาชนสับสนดื้อๆ

2.พระราชบัญญัติกรมประมงฉบับใหม่
เป้าคลี่คลายปัญหาการประมง

ผลผลิตของภาคการประมงสามารถ ทำรายได้ให้แก่ประเทศปีละกว่า 2 แสนล้านบาท แต่ปัจจุบันการประมงต้องเผชิญกับปัญหาและอุปสรรคมากมาย อาทิ ภัยธรรมชาติ ความเสื่อมโทรม ของทรัพยากรประมง มลพิษในแหล่งน้ำ รวม ถึงการแย่งชิงทรัพยากรประมง โดยสาเหตุส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากมาตรการทาง กฎหมายว่าด้วยการประมงที่ล้าสมัย ซึ่งบังคับใช้มาเป็นระยะเวลานานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2490 ทำให้ไม่สอดคล้องกับสภาวการณ์ในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป หลายฝ่ายจึงเห็นพ้องต้องกันว่าควรแก่ การปรับปรุงแก้ไขใหม่เพื่อให้มีประสิทธิภาพทั้งในปัจจุบันและอนาคต 
   
ดร.สมหญิง เปี่ยมสมบูรณ์ อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า กรมประมงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. ........ โดยยกเลิกกฎหมายเดิมทั้งฉบับ และเพิ่มหลักการใหม่ ๆ ที่สำคัญ ๆ อาทิ มีการกำหนดให้มีแบ่งเขตการประมงในน่านน้ำไทยออกเป็น 3 เขต อย่างชัดเจน ได้แก่ เขตประมงน้ำจืด เขตประมงทะเลชายฝั่ง และเขตประมงทะเลนอกชายฝั่ง ทั้งนี้ เนื่องจากกฎหมายเดิมไม่ได้กำหนดเขตพื้นที่ทำการประมง ทำให้เครื่องมือประมงที่ได้รับอนุญาตสามารถทำการประมงในทะเลได้อย่างเสรีในทุกเกือบพื้นที่ ก่อให้เกิดปัญหาการแย่งชิงพื้นที่ทำการประมง  และมีความรุนแรงมากขึ้น
   
กำหนดให้มีมาตรการส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค และมีคุณภาพที่ได้มาตรฐาน โดยรัฐมีหน้าที่กำหนดมาตรฐานการปฏิบัติขั้นพื้นฐานสำหรับประชาชนผู้ประสงค์จะเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของตนให้ได้มาตรฐาน และออกหนังสือรับรองให้ ซึ่งจะทำให้สัตว์น้ำที่ได้จากการเพาะเลี้ยงของประเทศไทยมีศักยภาพในการแข่งขันทางการค้า
   
กำหนดให้มีมาตรการส่งเสริมด้านสุขอนามัย นับตั้งแต่ขั้นตอนการจับ การดูแลสัตว์น้ำหลังการจับ และการขนส่ง โดยรัฐออกหนังสือรับรองให้ กำหนดให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรประมง โดยกำหนดให้มีส่วนร่วมใน 2 ลักษณะ คือ การให้ตัวแทนภาคประชาชนร่วมเป็นคณะกรรมการนโยบายประ มงแห่งชาติ และกำหนด ให้กรมประมงมีหน้าที่ในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมและสนับสนุนชุมชนประมงท้องถิ่นในการจัดการ การบำรุงรักษา การอนุรักษ์ การฟื้นฟู และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนจากทรัพยากรสัตว์น้ำภายในเขตประมงน้ำจืดหรือเขตประมงทะเลชายฝั่ง  และกำหนดให้มี คณะกรรมการประมงนอกน่านน้ำไทย เพื่อเสนอแนะนโยบายและแนวทางการพัฒนาการประมงนอกน่านน้ำไทยต่อคณะกรรมการนโยบายประมงแห่งชาติ  และเสนอแนะต่อหน่วยงานในการออกกฎ ระเบียบต่าง ๆ ในการจัดระเบียบการใช้เรือไทยออกไปทำการประมงนอกน่านน้ำไทยเป็นการเฉพาะ
   
สำหรับหลักการอื่น ๆ ยังคงยึดถือแนวทางตามกฎหมายฉบับเดิม เพียงแต่มีการปรับปรุงให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ในปัจจุบันให้มากขึ้น เช่น การกำหนดอัตราโทษ อัตราค่าอากร ค่าธรรมเนียมให้มีความเหมาะสม กับสภาพเศรษฐกิจ เป็นต้น ทั้งนี้ กรมประมงได้เริ่มยกร่างกฎหมายนี้มาตั้งแต่ปี พ.ศ.  2543 โดยเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนได้ร่วมแสดงความคิดเห็นจำนวนหลายครั้งมาอย่างต่อเนื่อง และได้ทำการแก้ไขปรับปรุงมาเป็นลำดับ ซึ่งคณะกรรมการ กฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาและนำเสนอคณะรัฐมนตรีในรัฐบาลปัจจุบันให้ความเห็นชอบแล้วเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2553  และกำลังจะเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร ในเวลาไม่ช้านี้
   
“หวังเป็นอย่างยิ่งว่ากฎหมายประมงฉบับใหม่นี้ จะเป็นคำตอบหรือเป็นกลไกที่สำคัญประการหนึ่งที่จะช่วยแก้ไขปัญหาทางการประมงในปัจจุบัน และพัฒนาการประมงของประเทศให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น ภายใต้วิสัยทัศน์ของกรมประมงที่ว่า มุ่งสู่การเป็นผู้นำทางการประมงอย่างยั่งยืนในภูมิภาค เพื่อความอยู่ดีมีสุขของประชาชน” ดร.สมหญิง  เปี่ยมสมบูรณ์ อธิบดีกรมประมง กล่าว.

3.เป็นการนำเสนอของข้าราชการกรมประมงต่อรัฐสภา ที่มีสส.ทั้งสภา พิจารณา


ท่านที่ออกตัวแรงน่าจะลองหาอ่านข่าวจากเนื้อข่าวต้นฉบับก่อนน่าจะดีครับ



ตามน้าท่านนี้ครับ
กระทู้: 1
ความเห็น: 58
ล่าสุด: 14-06-2567
ตั้งแต่: 13-02-2556
ONuTO(7 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 31: 23 ก.พ. 56, 01:15
สงสัยคงจะว่าจัดเลยมั้งเนี่ย
กระทู้: 2
ความเห็น: 52
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 10-09-2555
nanacake66(41 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 32: 23 ก.พ. 56, 01:36
ก่อนหน้านี้ ก็มีเรื่องการศึกษา ให้เด็กเรียนน้อยลง ไม่ต้องตัดผม อื่นๆ
วันนี้มีข่าว กรมประมง ห้ามตกปลาอีก 
อ่านยังไง ก็ไม่เห็นว่าจะมีความเป็นไปได้เลย
รอ เป็นจริงแล้วค่อยตกใจดีกว่า แก่แล้วหัวใจไม่ค่อยดี  เก็บไว้ตกใจที่เดียว
เห
กระทู้: 0
ความเห็น: 14
ล่าสุด: 22-12-2567
ตั้งแต่: 08-07-2555
ความเห็นที่ 33: 23 ก.พ. 56, 01:51
ผมเป็น " นักตกปลาครับ " จะกลัวอะไร 
กระทู้: 0
ความเห็น: 87
ล่าสุด: 08-10-2567
ตั้งแต่: 26-05-2551
ความเห็นที่ 34: 23 ก.พ. 56, 01:55
อ่านเยอะๆ ให้กระจ่าง
กระทู้: 3
ความเห็น: 433
ล่าสุด: 18-11-2567
ตั้งแต่: 06-01-2553
sarasin(56 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 35: 23 ก.พ. 56, 02:02
ผมว่าถ้าให้คนที่จดทะเบียนมีสิทธิในด้านโน่นนี่นั่นอะไรก็ดีไปเป็นการสร้างแรงจูงใจ ถือว่าเป็นผลประโยชน์กับตัวผู้จดเอง สะดวกกับภาครัฐ แต่ถ้ามาริดรอนสิทธิคนไม่จดก็ไม่เหมาะสม จะไปหักดิบกับชาวบ้านปรับโน่นนี่นั่นก็กระไรอยู่ รัฐเสียหายเปล่าๆ
กระทู้: 4
ความเห็น: 322
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 23-12-2552
raiwa(54 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 36: 23 ก.พ. 56, 02:21
ถ้าผ่านก็น่าจะดี ต่อไปพัฒนาเป็นบัตรตกปลาแบบต่างประเทศเลย
กระทู้: 13
ความเห็น: 561
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 07-11-2550
ความเห็นที่ 37: 23 ก.พ. 56, 02:27
ถ้าจะเสียค่าตกปลาคันล่ะ 5-10 บาทต่อวัน ผมยินดีที่จะเสียคับถ้ารัฐบาลจะนำเงินนั้นไปจ้างบุคคลมาดูแลและจับผู้ทำประมงแบบผิดกฏหมาย
และ นำเงินรายได้ส่วนนี้มาขยายพันธุ์ปลาและปล่อยลงสู่แม่น้ำลำคลอง ส่วนการทำประมงพื้นบ้านนั้นก็ต้องอยู่ในขอบเขตไม่ใช่ว่าจะจับปลาอะไร
เท่าไรก็ได้จะทำประมงแบบไหนยังไงก็ได้  ผมว่าถ้าทำได้แบบนี้ทรัพยากรณ์ธรรมชาติของเราน่าจะมีให้ใช้ประโยชน์กันถึงลูกถึงหลานนะคับ

กระทู้: 0
ความเห็น: 276
ล่าสุด: 01-07-2566
ตั้งแต่: 03-06-2553
ความเห็นที่ 38: 23 ก.พ. 56, 02:40
อ้างถึง: ..... posted: 23-02-2556, 02:27:05

ถ้าจะเสียค่าตกปลาคันล่ะ 5-10 บาทต่อวัน ผมยินดีที่จะเสียคับถ้ารัฐบาลจะนำเงินนั้นไปจ้างบุคคลมาดูแลและจับผู้ทำประมงแบบผิดกฏหมาย
และ นำเงินรายได้ส่วนนี้มาขยายพันธุ์ปลาและปล่อยลงสู่แม่น้ำลำคลอง ส่วนการทำประมงพื้นบ้านนั้นก็ต้องอยู่ในขอบเขตไม่ใช่ว่าจะจับปลาอะไร
เท่าไรก็ได้จะทำประมงแบบไหนยังไงก็ได้  ผมว่าถ้าทำได้แบบนี้ทรัพยากรณ์ธรรมชาติของเราน่าจะมีให้ใช้ประโยชน์กันถึงลูกถึงหลานนะคับ






ความคิดของท่านช่างเป็นเอกบุรุษ เป็นนักปราชญ์ เป็นผู้มองการไกล

เป็นความเห็นที่ไม่มีความเห็นแก่ตัวเจือปนอยู่

ผมนั่งอ่านความเห็นมาทุกความเห็น นึกว่าจะไม่พบซะแล้ว 
กระทู้: 13
ความเห็น: 561
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 07-11-2550
ความเห็นที่ 39: 23 ก.พ. 56, 02:55
อ้างถึง: ..... posted: 23-02-2556, 02:27:05  ถ้าจะเสียค่าตกปลาคันล่ะ 5-10 บาทต่อวัน ผมยินดีที่จะเสียคับถ้ารัฐบาลจะนำเงินนั้นไปจ้างบุคคลมาดูแลและจับผู้ทำประมงแบบผิดกฏหมาย และ นำเงินรายได้ส่วนนี้มาขยายพันธุ์ปลาและปล่อยลงสู่แม่น้ำลำคลอง ส่วนการทำประมงพื้นบ้านนั้นก็ต้องอยู่ในขอบเขตไม่ใช่ว่าจะจับปลาอะไร เท่าไรก็ได้จะทำประมงแบบไหนยังไงก็ได้  ผมว่าถ้าทำได้แบบนี้ทรัพยากรณ์ธรรมชาติของเราน่าจะมีให้ใช้ประโยชน์กันถึงลูกถึงหลานนะคับ      ความคิดของท่านช่างเป็นเอกบุรุษ เป็นนักปราชญ์ เป็นผู้มองการไกล  เป็นความเห็นที่ไม่มีความเห็นแก่ตัวเจือปนอยู่  ผมนั่งอ่านความเห็นมาทุกความเห็น นึกว่าจะไม่พบซะแล้ว 


ผมไม่ได้เป็นเอกบุรุษ นักปราชญ์ หรืออะไรทั้งนั้นคับ ผมก็แค่แสดงความคิดเห็นตามความคิดของผมก็เท่านั้นเอง

ปล. ถ้าความคิดผมไปทำให้ท่านใดขุนเคืองใจก็กราบขออภัยด้วยนะคับ 
กระทู้: 0
ความเห็น: 276
ล่าสุด: 01-07-2566
ตั้งแต่: 03-06-2553
ความเห็นที่ 40: 23 ก.พ. 56, 03:09


ผมเห็นด้วยกับแนวความคิดของท่านครับ

นั่งอ่านความคิดของหลายๆ ท่านลงมา เพิ่งจะได้เห็นแนวความคิดที่เป็นหนทางออก ที่ทุกคนต้องยอมเสียประโยชน์เพียงส่วนน้อย เพื่อรักษาประโยชน์ส่วนใหญ่ของชาติ

ถ้า "นักตกปลา" ยอมที่จะควักสตางค์ซื้อคันเบ็ดชุดละหลายหมื่น

กับเสียค่าภาษีตกปลาปีละ 10 ปีละ 100 หรือปีละ 1,000 เพื่อที่จะมีปลาให้ตกไปตลอดชั่วลูก-หลาน-เหลน

ผมจึงมองความคิดแนวนี้ว่าเป็นนักปราชญ์ ดังนี้ครับ...
กระทู้: 4
ความเห็น: 8,760
ล่าสุด: 30-10-2567
ตั้งแต่: 19-08-2551
psu_2519(54 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 41: 23 ก.พ. 56, 04:07
อ้างถึง: บวรพัฒน์ posted: 23-02-2556, 02:40:09

อ้างถึง: ..... posted: 23-02-2556, 02:27:05

ถ้าจะเสียค่าตกปลาคันล่ะ 5-10 บาทต่อวัน ผมยินดีที่จะเสียคับถ้ารัฐบาลจะนำเงินนั้นไปจ้างบุคคลมาดูแลและจับผู้ทำประมงแบบผิดกฏหมาย
และ นำเงินรายได้ส่วนนี้มาขยายพันธุ์ปลาและปล่อยลงสู่แม่น้ำลำคลอง ส่วนการทำประมงพื้นบ้านนั้นก็ต้องอยู่ในขอบเขตไม่ใช่ว่าจะจับปลาอะไร
เท่าไรก็ได้จะทำประมงแบบไหนยังไงก็ได้  ผมว่าถ้าทำได้แบบนี้ทรัพยากรณ์ธรรมชาติของเราน่าจะมีให้ใช้ประโยชน์กันถึงลูกถึงหลานนะคับ






ความคิดของท่านช่างเป็นเอกบุรุษ เป็นนักปราชญ์ เป็นผู้มองการไกล

เป็นความเห็นที่ไม่มีความเห็นแก่ตัวเจือปนอยู่

ผมนั่งอ่านความเห็นมาทุกความเห็น นึกว่าจะไม่พบซะแล้ว 




แต่ผมว่ามีมุมมองหนึงเพิ่มเติมน่ะครับ ข้าราชการไทยทำอะไรซักก็อย่างที่เรารู้ๆกัน 10 เปอร์เซ็นต์เข้ากระเป๋า(กินตามน้ำ)แล้วก็กินแบบอื่นๆอีก ไม่รู้ว่าเขาไม่รู้จักพอหรือไง สงสัยคงต้องช่วยกันล้างระบบ
กระทู้: 0
ความเห็น: 276
ล่าสุด: 01-07-2566
ตั้งแต่: 03-06-2553
ความเห็นที่ 42: 23 ก.พ. 56, 05:03


เรื่องกินสิบบาท งาบสิบบนนั้นเป็นมานาน และคงจะเป็นต่อไปอีกจนกว่าประเทศนี้จะสลายไป ผมทำงานร่วมกับหน่วยงานของ..ฯลฯ.. มาหลายสิบปี จึงพอทราบว่าใคร...ตำแหน่ง... ต้องจ่าย... (คงไม่ขอกล่าวถึง)

แต่ถ้ามีเจ้ากฎฯ อะไรที่ว่าจริงๆ อย่างน้อยก็พอยังชีพให้เจ้าปลามีสายพันธุ์ยืนยาวพอที่จะสืบต่อไปถึงรุ่นลูกหลาน-เหลนได้บ้าง หวังไว้อย่างนั้น

ถ้าเสียงส่วนใหญ่คิดว่าเป็นอย่างทุกวันนี้ก็ดีอยู่แล้ว ก็คัดค้านกันไปครับ ด่ากันไปครับ

ผมชอบตกปลามาตั้งแต่ พ.ศ. 2520 พอที่จะเห็นขนาดและปริมาณของปลาในระแวกถิ่นกำเนิดในแต่ละช่วงปีมาพอสมควร จึงมีความคิดเห็นในทำนองนี้...





(อีกอย่างที่อยากจะเห็นในสถานที่แห่งนี้ก็คือ / ความคิดเห็นที่ค่อนข้างมีสาระ  เห็นด้วยกับ..... เพราะ......  ไม่เห็นด้วยกับข้อ..... เพราะว่า........

ไม่ใช่แค่ออกความเห็นทำนองต่อว่า ประณาม ส่อเสียด รุมจิกทึ้ง เหมือนในที่อื่นๆ หลายๆ ที่ที่เขาชอบทำกัน จึงขอฝากเอาไว้...ด้วยความรักและเคารพต่อเพื่อนสมาชิกผู้มีเกียรติทุกท่าน) 
กระทู้: 17
ความเห็น: 1,668
ล่าสุด: 17-11-2567
ตั้งแต่: 08-03-2553
SEMIauto(560 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 43: 23 ก.พ. 56, 06:17
ผมไม่ใช่ประมง ครับ แต่พอรู้กฏหมายบ้าง
เท่าที่ทราบ เค้าจะให้มีการลงทะเบียนสำหรับ
1 เรือประมง กำลังขับน้ำตั้งแต่ 50-100 ตัน
2 เรือประมง กำลังขับน้ำตั้งแต่ 101-500 ตัน
3 เรือประมง กำลังขับน้ำตั้งแต่ 500-300 ตัน
ต้องขึ้นทะเบียนผู้จับสัตว์น้ำเชิงพานิช นโยบายนี้มีมานานแล้ว
แต่การเรียกเราเรียกต่างกันไป
บ้านเราเรียก ภาษีประมง  ครับ
เรือทุกลำเสียภาษีประมง กันอยู่แล้ว แค่เราเรียกต่างชื่อไปเท่านั้นเอง
 
กระทู้: 41
ความเห็น: 6,623
ล่าสุด: 20-12-2567
ตั้งแต่: 01-06-2552
atis14(2218 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 44: 23 ก.พ. 56, 06:23
อ้างถึง: จูโล่ posted: 23-02-2556, 02:55:51

อ้างถึง: ..... posted: 23-02-2556, 02:27:05  ถ้าจะเสียค่าตกปลาคันล่ะ 5-10 บาทต่อวัน ผมยินดีที่จะเสียคับถ้ารัฐบาลจะนำเงินนั้นไปจ้างบุคคลมาดูแลและจับผู้ทำประมงแบบผิดกฏหมาย และ นำเงินรายได้ส่วนนี้มาขยายพันธุ์ปลาและปล่อยลงสู่แม่น้ำลำคลอง ส่วนการทำประมงพื้นบ้านนั้นก็ต้องอยู่ในขอบเขตไม่ใช่ว่าจะจับปลาอะไร เท่าไรก็ได้จะทำประมงแบบไหนยังไงก็ได้  ผมว่าถ้าทำได้แบบนี้ทรัพยากรณ์ธรรมชาติของเราน่าจะมีให้ใช้ประโยชน์กันถึงลูกถึงหลานนะคับ      ความคิดของท่านช่างเป็นเอกบุรุษ เป็นนักปราชญ์ เป็นผู้มองการไกล  เป็นความเห็นที่ไม่มีความเห็นแก่ตัวเจือปนอยู่  ผมนั่งอ่านความเห็นมาทุกความเห็น นึกว่าจะไม่พบซะแล้ว 


ผมไม่ได้เป็นเอกบุรุษ นักปราชญ์ หรืออะไรทั้งนั้นคับ ผมก็แค่แสดงความคิดเห็นตามความคิดของผมก็เท่านั้นเอง

ปล. ถ้าความคิดผมไปทำให้ท่านใดขุนเคืองใจก็กราบขออภัยด้วยนะคับ 


ผมก็คิดแบบนี้เหมือนกันครับ  ปลาก็จะมีตกได้มากขึ้น  ถ้ามันเป็นแบบนี้ได้จริง ผมว่ามันก็ OK ครับ
หน้าที่:< 1 | 2
กรุณา ลงทะเบียน และ login ก่อนส่งความเห็นครับ
siamfishing.com © 2024
siamfishing.com/board/view.php?begin=25&onlyuserid=0&tid=656246